แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเฮลท์ลิงค์

Main Article Content

ธนกฤต จินตวร
ชัยวุฒิ จันมา
อนันต์ ธรรมชาลัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน 2) เพื่อศึกษาการจัดการระบบและประสิทธิผลการให้บริการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเฮลท์ลิงค์ โดยเป็นการวิจัย แบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ การสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน และสัมภาษณ์แพทย์ผู้มีประสบการณ์ใช้งานระบบ จำนวน 20 คน ใช้เทคนิคเดลฟายในการประเมิน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การเปลี่ยนแปลงทางสังคม โครงสร้างประชากร ที่มีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นและการเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อมีจำนวนมากทำให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ระหว่างสถานพยาบาลจึงมีความสำคัญเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถรับการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินหรือย้ายสถานพยาบาล 2) แพทย์ผู้ใช้ระบบเห็นความสำคัญต่อระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเฮลท์ลิงค์ทั้งในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่ามัธยฐาน 5.00 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.17 เรื่องระบบการยืนยันตัวตนและเข้าใช้บริการของประชาชน อยู่ในระดับมาก ค่ามัธยฐาน 4.60 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 0.50 ระบบการยืนยันตัวตนและการเข้าใช้งานของแพทย์ อยู่ในระดับมากที่สุด ค่ามัธยฐาน 4.40 ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่า 1.00 การจัดการข้อมูลสุขภาพและหน้าจอแสดงผล อยู่ในระดับมากที่สุด 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเฮลท์ลิงค์ ได้แก่ การจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติข้ามกระทรวงในการกำกับนโยบายระดับประเทศ การจัดการระบบธรรมาภิบาลและบูรณาการข้อมูลให้เป็นมาตรฐานในการบูรณาการข้อมูลข้ามหน่วยงานและการส่งเสริมให้บุคคลากรทางการแพทย์มีความรู้ด้านข้อมูลทางการแพทย์

Article Details

How to Cite
จินตวร ธ., จันมา ช., & ธรรมชาลัย อ. (2023). แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลของระบบการแลกเปลี่ยนข้อมูลสุขภาพเฮลท์ลิงค์. วารสารศิลปการจัดการ, 7(4), 1725–1740. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/266852
บท
บทความวิจัย

References

Aguilar, F. J. (1967). Scanning the Business Environment. Macmillan.

Allen, L. A. (1958). Organization and Management. McGraw-Hill.

Denzin, N. K. (1970). The Research Act. Aldine Publishing Company.

Guerrazzi, C., & Feldman, S. S. (2020). Health Information Exchange: What Matters at the Organizational Level?. Journal of Biomedical Informatics, 102, 103375. https://doi.org/10.1016/j.jbi.2020.103375

Khuannet, S. (2021). Health Information Management of Phra Nakhon Si Ayutthaya Provincial Public Health Office. Journal of Humanities and Social Sciences Phra Nakhon Si Ayutthaya Rajabhat University, 9(1), 61-73. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/husoarujournal/article/view/256457

Kitsanayothin, B., & Pannarunothai, S. (2021). Seamless Primary Care and the Inconvenient Truth about Health Data Standards. Journal of Health Systems Research, 15(2), 131-135.

https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5379/hsri-journal-v15n2-editor.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Kritchanchai, D. (2017, March 27). Healthcare Supply chain and Logistics. https://dmsic.moph.go.th/dmsic/admin/files/userfiles/files/D1S1_LogHealth.pdf

Mayer, P. J., Bartschke, A., Haese, T., & Thun, S. (2022). Fast Healthcare Interoperability Resources (FHIR) for Interoperability in Health Research: Systematic Review. JMIR Medical Informatics, 10(7), 1-17. https://doi.org/10.2196/35724

Ministry of Public Health. (2016). Strategy for Developing Thailand into an International Health Center (Medical Hub) (2017-2026). Department of Health Service Support. Ministry of Public Health.

Ministry of Public Health. (2018). Announcement of Information on the Number of Health Departments Office of Policy and Strategy. Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health.

Rosenfeld, P. J., Brown, D. M., Heier, J. S., M.D., Boyer, D. S., Kaiser, P. K., Chung, C. Y., & Kim, R. Y. (2006). Ranibizumab for Neovascular Age-Related Macular Degeneration. The New English Journal of Medicine, 355(14), 1419-1431. https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/nejmoa054481

Salomi, M. J. A., & Claro, P. B. (2020). Adopting Healthcare Information Exchange among Organizations, Regions, and Hospital Systems toward Quality, Sustainability, and Effectiveness. Technology and Investment, 11(3), 58-97. https://doi.org/10.4236/ti.2020.113005

Worasut, N. (2021). Development of Electronic Medical Records with Fire System for Patients with Acute Ischemic Stroke. Public Health Systems Research Institute.