การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน

Main Article Content

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล
สุญาณี พงษ์ธนานิกร
ธัญญ์พิชชา พิมพ์พงษ์
วิลาสินี นุชประคอง
ธีระพัฒน์ ปัททุม
ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลเกี่ยวกับปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันของหน่วยงาน เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่ใช้รูปแบบวิจัยเชิงสำรวจ ผู้เข้าร่วมการศึกษาคือเภสัชกรที่ทำงานในโรงพยาบาลทั้งในและนอกกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 352 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสำรวจความคิดเห็นซึ่งถูกส่งไปทางไปรษณีย์พร้อมแนบรหัสคิวอาร์สำหรับกรอกข้อมูลออนไลน์ เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและความเที่ยง (ค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ 0.8) ประเด็นที่ศึกษาได้แก่ ความคิดเห็นของเภสัชกรต่อความหมายของยาเหลือใช้ การรับรู้ประโยชน์ของการแก้ไขปัญหานี้ กิจกรรมที่ใช้ในการจัดการปัญหายาเหลือใช้ในโรงพยาบาล ความคิดเห็นเภสัชกรที่มีต่อปัญหานี้ และอุปสรรคในการจัดการปัญหาของหน่วยงาน ใช้สถิติเชิงพรรณนาในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาของข้อมูลทั่วไปพบว่าเภสัชกรผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลระดับทุติยภูมิ คิดเป็นร้อยละ 40.6 และมีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 20 ปี คิดเป็นร้อยละ 30.7 ข้อมูลความคิดเห็นพบว่า เภสัชกรมีความเต็มใจในการดูแลปัญหาดังกล่าวโดยมุ่งให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ป่วย โดยระดับความคิดเห็นส่วนใหญ่อยู่ในช่วงเห็นด้วยอย่างมากถึงมากที่สุด กิจกรรมที่ดำเนินการมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ การรณรงค์กับผู้ป่วย การสร้างความตระหนักให้แก่ผู้สั่งใช้ยา และการรณรงค์กำจัดยาเหลือใช้อย่างถูกวิธี ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาสามารถนำไปจัดทำเป็นแนวทางการจัดการปัญหายาเหลือใช้ในโรงพยาบาลได้ต่อไป

Article Details

How to Cite
ตันติพิวัฒนสกุล ก., พงษ์ธนานิกร ส., พิมพ์พงษ์ ธ., นุชประคอง ว., ปัททุม ธ., & แสงอังศุมาลี ช. (2023). การสำรวจความคิดเห็นของเภสัชกรโรงพยาบาลต่อปัญหายาเหลือใช้ในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 7(2), 381–401. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/261749
บท
บทความวิจัย
Author Biography

กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

 

References

Boonyasiri, A., Tangkoskul, T., Seenama, C., Saiyarin, J., Tiengrim, S., & Thamlikitkul, V. (2014). Prevalence of antibiotic resistant bacteria in healthy adults, foods, food animals, and the environment in selected areas in Thailand. Pathogens and Global Health, 108, 235-245.

Chaiyakunapruk, N., Tanakornrungrod, A., Cheewasitthirungruang, N., Srisupha-olarn, W., Nimpitakpong, P., Dilokthornsakul, P., & Jeanpeerapong, N. (2012). Estimation of financial burden due to oversupply of medication for chronic disease. Asia Pac J Public Health, 24(3), 487-494.

Chaiyakunapruk, N., Nimpitakpong, P., Dilokthornsakul, P., & Jeanpeerapong, N. (2013). A study of the scale and fiscal impact of drug overdose and policy solutions. Health systems database and knowledge Public. Health Systems Research Institute. https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/3641?locale-attribute=th

Champoonot, P., Chowwanapoonpohn, H., & Suwanprom, P. (2011). Leftover medicines and medicine use behavior of people in Chiang Mai province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 6(2), 105-111.

Chantapattarankul, P., Thongprong, S., & Thongmee, M. (2018). Survey of leftover drugs among patients with chronic diseases at Bangsaphan Hospital, Prachuap Kirikhan. Hua Hin Sook Jai Klai Kangwon Journal, 3(1), 119-125.

Charoenchokthavee, W., Lertwattanachai, T., Rodhedbhai, W., & Kobwanthanakun, S. (2013). Analysis and management of unused medications problem in urban living area. Vajira Medical Journal, 57(3), 147-159.

Chullasu, P. (2015). Environmental persistent pharmaceutical pollutants management guideline in the communities, Thailand. Bureau of Food and Water Sanitation, Department of Health Ministry of Public Health. https://foodsan.anamai.moph.go.th/th/research/ download?id=66847&mid=33861&mkey=m_document&lang=th&did=20944

Dokbua, C. (2016). The management of the drug surplus problem in the community, Pathumratchawongsa Hospital, Amnat Charoen Province. http://www.patumrachwongsahospital.com/images/10.academic-work/10986/2559/1.pdf

Kumhomkul, T. (2020). Contamination and effect of pharmaceutical products in environment. EAU Heritage Journal Science and Technology, 14(2), 40-50.

Maneerat, M., Walakijohnlert, O., Phumas, P., & Sangsri, P. (2010). Effects of home visits by pharmacy students on drug use cooperation knowledge and the problem of household waste medicine. Thai Journal of Pharmacy Practice, 2(1), 24-34.

Punnapapaisan, W., Kittiboonyakun, P., & Saramunee, K. (2018). Designing the system for management of unused medicine in patients with diabetes mellitus by using root cause analysis framework. Thai Journal of Pharmacy Practice, 10(2), 304-314.

Sirinavasatien, P. (2018). The efficiency of management the left-over medication in diabetic patients in special clinics. Mahasarakham Hospital Journal, 15(2), 111-118.

Sirisinsuk, Y., & Pengsupap, P. (2017). Drug system situation report 2012-2016. Thai drug watch. https://www.thaidrugwatch.org/download/otherprint/2012-2016_drug_system_report.pdf

Srijuntrapun, P. (2019). Appropriate disposal guidelines for unused and expired medications. Mahidol University. http://www.thai-explore.net/file_upload/submitter/file_doc/b2439abddfd66efc761f8aa6ac56ce5c.pdf

Suwannaprom, P., Niamhun, N., Champoonot, P., Phosuya, C., Chowwanapoonpohn, H., Supakul, S., Chaichana, R., & Laopanichkul, B. (2012). Items and value of household leftover medicines for chronic conditions at Sansai-Luang Sub-district, Sansai District, Chiang Mai Province. Thai Pharmaceutical and Health Science Journal, 7(1), 22-28.

Thailand Development Research Institute (TDRI). (2019, December 20). Estimate public health expenditure in the next 15 years. https://tdri.or.th/2019/12/public-healthcare-evaluation/

Thammawut, W., & Luewitthawat, P. (2014). A survey of the quantity and value of surplus drugs in outpatients. Department of Internal Medicine, Sriraraj Hospital. Siriraj Medical Journal, 7(1), 20-25.