ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการกีฬาต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย

Main Article Content

เสถียรภาพ นาหลวง
พฤทธ์สรรค์ สุทธิไชยเมธี
วริยา ล้ำเลิศ
เกียรติพร อำไพ
ณชัชชญา ทองจันทร์
นรฤทธิ์ สุดสงวน
ธนสาร จองพานิช
นรรยโสภาคย์ สวัสดิวัตน์
อาทิตย์ ปิ่นปัก
ยุรนันท์ ยุวานนท์
จุฬา จงสถิตย์ถาวร
ทวีศักดิ์ รักยิ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาการระงับข้อพิพาททางกีฬาในประเทศไทยอันเกิดจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกีฬา แนวทางปฏิบัติในการระงับข้อพิพาททางกีฬาในต่างประเทศ และแนวทางและกำหนดรูปแบบในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาในประเทศไทย โดยการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เช่น วัตถุประสงค์ รูปแบบ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ รวมถึงผลกระทบและประโยชน์ที่เกิดขึ้นในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการ 2) หาข้อเสนอให้การกีฬาแห่งประเทศไทยมีการระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการเป็นการเฉพาะ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึกบุคลากรของการกีฬาแห่งประเทศไทย ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูง จำนวน 6 คน เจ้าหน้าที่ของการกีฬาแห่งประเทศไทยระดับหัวหน้างาน จำนวน 5 คน รวม 11 คน และสัมภาษณ์ผู้แทนของสมาคมกีฬาอาชีพแห่งประเทศไทยสาขาต่าง ๆ ที่เกิดข้อพิพาท รวม 9 คน และการสัมมนากลุ่มเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาคมกีฬา รวม 52 คน ต่อแนวทางในการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬา ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้สัมภาษณ์และผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ให้ข้อคิดเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการด้านกีฬา มีความเหมาะสมกับลักษณะของข้อพิพาท เพราะส่วนใหญ่เป็นข้อพิพาทที่เป็นปัญหาทางเทคนิคกีฬายิ่งกว่าปัญหาข้อกฎหมาย  จึงควรให้ผู้เชี่ยวชาญกีฬาเป็นผู้วินิจฉัยและชี้ขาดข้อพิพาทและมีกระบวนพิจารณาที่มีความรวดเร็ว ควรมีการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการด้านกีฬาให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติของนานาชาติ การวิจัยได้เสนอแนะให้การกีฬาแห่งประเทศไทย จัดตั้งหน่วยงานอนุญาโตตุลาการด้านกีฬา โดยแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ. 2556 และพระราชบัญญัติกีฬามวย  พ.ศ. 2542 เพื่อให้สามารถระงับข้อพิพาททางกีฬาโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามนโยบายของการกีฬาแห่งประเทศไทยที่กำหนดไว้ในแผนยุทศาสตร์พัฒนาการกีฬา พ.ศ. 2564 – 2570

Article Details

How to Cite
นาหลวง เ., สุทธิไชยเมธี พ., ล้ำเลิศ ว., อำไพ เ., ทองจันทร์ ณ., สุดสงวน น., จองพานิช ธ., สวัสดิวัตน์ น., ปิ่นปัก อ., ยุวานนท์ ย., จงสถิตย์ถาวร จ., & รักยิ่ง ท. (2023). ข้อเสนอแนวทางการจัดตั้งอนุญาโตตุลาการกีฬาต่อการกีฬาแห่งประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 7(1), 52–69. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/258488
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

ณชัชชญา ทองจันทร์, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

นรฤทธิ์ สุดสงวน, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

ธนสาร จองพานิช, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

นรรยโสภาคย์ สวัสดิวัตน์, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

อาทิตย์ ปิ่นปัก, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

ยุรนันท์ ยุวานนท์, คณะนิติศาสตร์ โทมัส อไควนัส มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

 

 

จุฬา จงสถิตย์ถาวร, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

 

ทวีศักดิ์ รักยิ่ง, เพอร์ฟอร์แมนซ์ พลัส

 

 

References

Blackshaw, I. (2003). The Court Arbitration for Sport: An International Forum for Settling Disputes Effectively ‘Within the Family of Sport. Entertainment Law Journal, 2(2), 61-82.

Dimitrios, P. (2004). International Sports Rules Implement-Decisions Executability: The Bliamou Case. Marquette Sports Law Review, 15(1), 1-12.

Findlay, H.A. (2005). Rules of a Sport- Specific Arbitration Process as an Instrument of Policy Making. Marquette Sports Law Review, 16(1), 73-98.

Gardner, P.C. (2011). Sport-Specific Arbitration and Procedural Justice[Master’s Thesis, Brock University].

Green, B.C. (2005). Building Sport Program to Optimize Athlete Recruitment, Retention, and Transition: Toward a Normative Theory of Sport development. Journal of Sport Management, 19(4), 233-253.

Mitten, M.J. (2014). The Court of Arbitration for Sport and its Global Jurisprudence: international Legal Pluralism in a World Without National Boundaries. OHIO State Journal on Dispute Resolution, 13(1), 1-44.

Naluang, S., & Jongsathittavorn, C. (2021). Obligations of Thailand Towards WADA Code 2021. Assumption University Law Journal, 12(2), 90-109.

Richard, J., Hunter, Jr. & Shanon, J.H. (2017). The Court of Arbitration for Sport: Does the United States Need a Similar Court for Resolving Issues in Sport. Journal of Education and Social Policy, 7(1), 8-21.

Rigozzi, A., & Robert-Tissot, F. (2015). Consent in Sports Arbitration: Its Multple Aspects. In Geisinger, E., & Trabaldo de Mestral, E. (Editors), Arbitration as a Coach for Other Players (pp.59-94). Juris Net.

Rigozzi, A., William, M., & Levy, K. (2013). Sport Arbitration. The European, Middle Eastern and African Arbitration Review, 16, 12–22.

Scroetoeter, U.G. (2017). Ad Hoc or Institutional Arbitration. Contemporary Asia Arbitration Journal, 10(2), 141-199.

Sports Authority of Thailand. (2021a). Sports Authority of Thailand’s Strategic Plan of 2021-2027. Sports Authority of Thailand.

Sports Authority of Thailand. (2021b). Sanction History. Sports Authority of Thailand.

Steadman, M. (2021). Lindland v. United States of America Wrestling Association: The Role of Arbitration and Federal Courts in the Marketing of an Olympic Success. DePaul Journal of Art, Technology and Intellectual Property Law, 11(1), 133-156.

Tanarach, A. (2014). Legal Issues That Cause Delays in Resolving Disputes Boxing Act 1999. Academic Journal, Phranakhon Rajabhat University, 5(2), 11-20.