คำแนะนำสำหรับผู้เขียน

บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสาร จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความวิชาการหรือบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร อย่างเคร่งครัด รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสาร

ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารศิลปการจัดการ รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงาน ด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 20% โดยมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 เดือน กรกฎาคม 2563 เป็นตันไป

          วารสารจะเรียกเก็บค่าธรรมเนียมจำนวน  8,000 บาท (แปดพันบาทถ้วน) ต่อ 1 บทความ เมื่อบทความผ่านการตรวจสอบขั้นแรกจากกองบรรณาธิการ และพร้อมที่จะส่งประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน โดยผู้เขียนจะต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของบทความตามคำแนะนำสำหรับผู้เขียน หากไม่ปฏิบัติตามกติกา กองบรรณาธิการวารสารขอสงวนสิทธิ์ในการปฏิเสธการตีพิมพ์ และไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้ 1. หากบทความมีความซ้ำซ้อนมากกว่า 20% 2. ผู้เขียนไม่ปฏิบัติตามรูปแบบของวารสาร 3. บทความไม่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ หรือ 4. ไม่แก้ไขบทความตามข้อเสนอแนะตามระยะเวลาที่กำหนด (1 เดือน หลังการแจ้งของบรรณาธิการ) ผู้เขียนสามารถชำระค่าธรรมเนียมผ่านบัญชีธนาคารกรุงเทพ  ชื่อบัญชี "มูลนิธิธรรมาภิวัฒน์” หมายเลขบัญชี  "180-8-73919-5 " เมื่อชำระแล้วให้ส่งหลักฐานไปที่ journalofart@gmail.com

หลักเกณฑ์การนำเสนอบทความ 

วารสารจะให้ความสนใจและพิจารณาคัดเลือกบทความที่มีลักษณะเป็นนวัตกรรมใหม่ อย่างน้อยในมิติใดมิติหนึ่งดังต่อไปนี้ อันได้แก่ 1) มีความคิดริเริ่มทางด้านระเบียบวิธีและการออกแบบงานวิจัย

2) มีข้อคิดเห็นหรือข้อโต้แย้งใหม่ ๆ เชิงทฤษฎี

3) มีการค้นพบนวัตกรรมทางการบริหารใหม่ ๆ

กองบรรณาธิการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการพิจารณาบทความ กองบรรณาธิการจะทำการคัดเลือกโดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา ดังต่อไปนี้

1) การใช้ภาษาและการเขียนที่มีโครงสร้างของบทความที่ถูกต้องตามหลักการเขียน

 2) มีความเหมาะสมของระเบียบวิธีวิจัย มีการอ้างอิงและสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่

3) ผลงานที่ศึกษามีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์ต่อสังคมทั้งทางตรงและทางอ้อม

บทความที่ส่งมาจะต้องมีลักษณะเป็นความเรียงเพื่อเสนอผลการปริทัศน์งานวิจัยที่มีเค้าโครงการดำเนินเรื่องที่สอดคล้องวัตถุประสงค์ของบทความอย่างชัดเจน และไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารใดมาก่อน

บทความต้องมีส่วนประกอบดังนี้

1) ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2) มีบทคัดย่อภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และต้องเป็นบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มีความถูกต้องตามหลักโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

3) ชื่อผู้เขียนทุกคน หน่วยงานที่สังกัดของผู้เขียนทุกคน

4) คำสำคัญ (Keywords) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 – 5 คำ)

5) เนื้อหาของบทความ ประกอบด้วยหัวข้อดังนี้

บทความวิจัย ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) บทคัดย่อ 

2) บทนำ

ระบุความสำคัญของปัญหาการวิจัย  และระบุวัตถุประสงค์การวิจัย

3) การทบทวนวรรณกรรม  เขียนควรอธิบายถึงผลการสืบค้นเอกสาร บทความ การวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อแสดงให้เห็นถึง “ช่องว่างของความรู้” (knowledge gap) ที่ยังไม่ถูกพิจารณา

4) กรอบแนวคิดการวิจัย 

5) ระเบียบวิธีวิจัย  ระบุแบบแผนการวิจัย การได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างและการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล

6) ผลการวิจัย  เสนอผลที่พบตามวัตถุประสงค์การวิจัยตามลำดับอย่างชัดเจน ควรเสนอในรูปตารางหรือแผนภูมิ

7) อภิปรายผลการวิจัย เสนอเป็นความเรียง ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของผลการวิจัยกับกรอบแนวคิด และงานวิจัยที่ผ่านมา ไม่ควรอภิปรายเป็นข้อ ๆ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของตัวแปรที่ศึกษาทั้งหมด

8) องค์ความรู้จากการวิจัย ระบุองค์ความรู้ที่ได้อันเป็นผลมาจากการวิจัย ผ่านการสังเคราะห์ ออกมาในรูปแบบของ แผนภูมิ แผนภาพ หรือ ผังมโนทัศน์ พร้อมทั้งการอธิบายที่รัดกุม เข้าใจได้ง่าย 

9) สรุป ระบุข้อสรุปที่สำคัญ

10) ข้อเสนอแนะ ให้นำเสนอ 2 ประเด็น คือ

(1) ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

(2) ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

11) เอกสารอ้างอิง  ต้องเป็นรายการที่มีการอ้างอิงไว้ ทั้งในเนื้อเรื่องและเอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

บทความพิเศษ บทความวิชาการ บทความปริทรรศน์ ปกิณกะ ให้เรียงลำดับสาระ ดังนี้

1) ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

2) มีบทคัดย่อภาษาไทยที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มีความยาวไม่เกิน 300 คำ และต้องเป็นบทคัดย่อภาษาอังกฤษที่มีความถูกต้องตามหลักโครงสร้างและไวยากรณ์ของภาษาอังกฤษ ตามมาตรฐานวิชาชีพ

3) ชื่อผู้เขียนทุกคน หน่วยงานที่สังกัดของผู้เขียนทุกคน

4) คำสำคัญ  ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (3 – 5 คำ)

5) เนื้อเรื่อง แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

6) บทสรุป 

7) เอกสารอ้างอิง 

การเตรียมต้นฉบับ

          ต้นฉบับต้องมีไม่ต่ำกว่า 10 หน้า ความยาวไม่เกิน 20 หน้ากระดาษ ขนาด A4 พร้อมบันทึกไฟล์บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx) พิมพ์บนกระดาษหน้าเดียว ใช้ตัวอักษร TH Niramit AS ตั้งค่าหน้ากระดาษโดยเว้นขอบบน ขอบซ้าย 1 นิ้ว และขอบขวา ขอบล่าง 1 นิ้ว กำหนดระยะห่างระหว่างบรรทัดเท่ากับ 1 และเว้นบรรทัดระหว่างแต่ละย่อหน้า การนำเสนอรูปภาพและตาราง ต้องนำเสนอรูปภาพและตารางที่มีความคมชัดพร้อมระบุหมายเลขกำกับรูปภาพไว้ด้านล่าง พิมพ์เป็นตัวหนา เช่น ตาราง 1 หรือ Table 1 และ รูป 1 หรือ Figure 1 รูปภาพที่นำเสนอต้องมีรายละเอียดของข้อมูลครบถ้วนและเข้าใจได้โดยไม่จำเป็นต้องกลับไปอ่านที่เนื้อความอีก ระบุลำดับของรูปภาพทุกรูป ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่อยู่ในต้นฉบับ โดยคำอธิบายต้องกระชับและสอดคล้องกับรูปภาพที่นำเสนอ

        บทปริทัศน์หนังสือ (Book Review) ต้องประกอบด้วยชื่อผู้แต่ง ชื่อหนังสือ สถานที่พิมพ์ สำนักพิมพ์ ปีที่พิมพ์ และจำนวนหน้าของหนังสือ โดยผู้ปริทัศน์สามารถเขียนด้วยความยาวไม่เกิน 10 หน้า พร้อมบันทึกไฟล์บทความที่อยู่ในรูปแบบ Microsoft Word (*.doc หรือ *.docx)

สามารถส่งบทความผ่านระบบออนไลน์ได้ https://www.tci-thaijo.org/index.php/jam/user/register

การอ้างอิง ให้ใช้รูปแบบ APA (7th Edition) เป็นมาตรฐาน โดยสามารถตัวอย่างวิธีการเขียนเอกสารอ้างอิง ที่ถูกต้องเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ APA https://www.apastyle.org

รูปแบบการอ้างอิง

1) หนังสือ

                (1) ผู้เขียน 1 คนทั้งเล่ม

Jackson, L. M. (2019). The psychology of prejudice: From attitudes to social action (2nd ed.). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000168-000

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The biology of humans at our best and worst. Penguin Books.

Svendsen, S., & Løber, L. (2020). The big picture/Academic writing: The one-hour guide (3rd digital ed.). Hans Reitzel Forlag. https://thebigpicture-academicwriting.digi.hansreitzel.dk/

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Jackson, 2019; Sapolsky, 2017; Svendsen & Løber, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Jackson (2019), Sapolsky (2017), and Svendsen and Løber (2020)

(2) ผู้เขียน โดยบรรณาธิการ

Hygum, E., & Pedersen, P. M. (Eds.). (2010). Early childhood education: Values and practices in Denmark. Hans Reitzels Forlag. https://earlychildhoodeducation.digi.hansreitzel.dk/

Kesharwani, P. (Ed.). (2020). Nanotechnology-based approaches for tuberculosis treatment. Academic Press.

Torino, G. C., Rivera, D. P., Capodilupo, C. M., Nadal, K. L., & Sue, D. W. (Eds.). (2019). Microaggression theory: Influence and implications. John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9781119466642

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Hygum & Pedersen, 2010; Kesharwani, 2020; Torino et al., 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Hygum and Pedersen (2010), Kesharwani (2020), and Torino et al. (2019)

 

(3) ผู้เขียน โดยมีบรรณาธิการ

Watson, J. B., & Rayner, R. (2013). Conditioned emotional reactions: The case of Little Albert (D. Webb, Ed.). CreateSpace Independent Publishing Platform. http://a.co/06Se6Na (Original work published 1920)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Watson & Rayner, 1920/2013)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Watson and Rayner (1920/2013)

(4) หนังสือที่ตีพิมพ์ด้วยคำนำใหม่โดยผู้เขียนคนอื่น

Kübler-Ross, E. (with Byock, I.). (2014). On death & dying: What the dying have to teach doctors, nurses, clergy & their own families (50th anniversary ed.). Scribner. (Original work published 1969)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Kübler-Ross, 1969/2014)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Kübler-Ross (1969/2014)

(5) หนังสือเป็นชุด หลายเล่ม

Harris, K. R., Graham, S., & Urdan T. (Eds.). (2012). APA educational psychology handbook (Vols. 1–3). American Psychological Association.

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Harris et al., 2012)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Harris et al. (2012)

 

2) บทความในวารสาร

ชื่อผู้เขียนบทความ. (ปีที่พิมพ์). ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร, ปีที่(ฉบับที่), หน้าแรก - หน้าสุดท้าย ของบทความ.

เช่น

Borwornchai, D. (2020). Knowledge management about investigative work that is the best practice of the detective 4.0 era. Journal of Arts Management4(2), 385-398.

Grady, J. S., Her, M., Moreno, G., Perez, C., & Yelinek, J. (2019). Emotions in storybooks: A comparison of storybooks that represent ethnic and racial groups in the United States. Psychology of Popular Media Culture, 8(3), 207–217. https://doi.org/10.1037/ppm0000185

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Borwornchai, 2020; Grady et al., 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Borwornchai (2020) and Grady et al. (2019)

 

3) แหล่งข้อมูลจาก ดุษฎีนิพนธ์/วิทยานิพนธ์

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and steps of community management movement for drug problem prevention learning center: A case of Thorraneekum, Khok Faet, Nong Chok, Bangkok[Doctoral dissertation, National Institute of Development Administration].

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply to solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand[Master’s Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].

Kabir, J. M. (2016). Factors influencing customer satisfaction at a fast-food hamburger chain: The relationship between customer satisfaction and customer loyalty (Publication No. 10169573) [Doctoral dissertation, Wilmington University].

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Kittichayathorn, 2012; Marpue, 2013; Kabir, 2016)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  Kittichayathorn (2012), Marpue (2013) and Kabir (2016)

 

4) แหล่งข้อมูลจากเว็บไซต์ 

(1) เว็บไซต์ข่าว

Bologna, C. (2019, October 31). Why some people with anxiety love watching horror movies. HuffPost. https://www.huffpost.com/entry/anxiety-love-watching-horror-movies_l_5d277587e4b02a5a5d57b59e

Roberts, N. (2020, June 10). Trayvon Martin’s mother, Sybrina Fulton, qualifies to run for elected office. BET News. https://www.bet.com/news/national/2020/06/10/trayvon-martin-mother-sybrina-fulton-qualifies-for-office-florid.html

Toner, K. (2020, September 24). When Covid-19 hit, he turned his newspaper route into a lifeline for senior citizens. CNN. https://www.cnn.com/2020/06/04/us/coronavirus-newspaper-deliveryman-groceries-senior-citizens-cnnheroes-trnd/index.html

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Bologna, 2019; Roberts, 2020; Toner, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Narrative citations: Bologna (2019), Roberts (2020), and Toner (2020)

(2) ความคิดเห็นบนเว็บไซต์ข่าว

Owens, L. (2020, October 7). I propose a bicycle race between Biden and Trump [Comment on the webpage Here’s what voters make of President Trump’s COVID-19 diagnosis]. HuffPost. https://www.spot.im/s/00QeiyApEIFa

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Owens, 2020)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Owens (2020)

(3) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนกลุ่มหน่วยงานราชการ

National Institute of Mental Health. (2018, July). Anxiety disorders. U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): (National Institute of Mental Health, 2018)

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): National Institute of Mental Health (2018)

(4) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนกลุ่มองค์กร

World Health Organization. (2018, May 24). The top 10 causes of death. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (World Health Organization, 2018)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations):  World Health Organization (2018)

(5) เว็บไซต์ที่มีผู้เขียนเป็นรายบุคคล

Giovanetti, F. (2019, November 16). Why we are so obsessed with personality types. Medium. https://medium.com/the-business-of-wellness/why-we-are-so-obsessed-with-personality-types-577450f9aee9

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (Giovanetti, 2019)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): Giovanetti (2019)

(6) บนเว็บไซต์ที่ไม่ปรากฏวันที่เรียกข้อมูล

U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved January 9, 2020, from https://www.census.gov/popclock/

การอ้างอิงในเนื้อหา (Parenthetical citations): (U.S. Census Bureau, n.d.)

การอ้างอิงแบบคำบรรยาย (Narrative citations): U.S. Census Bureau (n.d.)

 

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง (References)

กรณีที่เป็นรายการอ้างอิงจากภาษาไทยจะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษตามหลักการแปลทุกรายการ A-Z

Bologna, C. (2019, October 31). Why some people with anxiety love watching horror movies. HuffPost. https://www.huffpost.com/entry/anxiety-love-watching-horror-movies_l_5d277587e4b02a5a5d57b59e

Borwornchai, D. (2020). Knowledge management about investigative work that is the best practice of the detective 4.0 era. Journal of Arts Management4(2), 385-398.

Giovanetti, F. (2019, November 16). Why we are so obsessed with personality types. Medium. https://medium.com/the-business-of-wellness/why-we-are-so-obsessed-with-personality-types-577450f9aee9

Grady, J. S., Her, M., Moreno, G., Perez, C., & Yelinek, J. (2019). Emotions in storybooks: A comparison of storybooks that represent ethnic and racial groups in the United States. Psychology of Popular Media Culture, 8(3), 207–217. https://doi.org/10.1037/ppm0000185

Harris, K. R., Graham, S., & Urdan T. (Eds.). (2012). APA educational psychology handbook (Vols. 1–3). American Psychological Association.

Hygum, E., & Pedersen, P. M. (Eds.). (2010). Early childhood education: Values and practices in Denmark. Hans Reitzels Forlag. https://earlychildhoodeducation.digi.hansreitzel.dk/

Jackson, L. M. (2019). The psychology of prejudice: From attitudes to social action (2nd ed.). American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/0000168-000

Kabir, J. M. (2016). Factors influencing customer satisfaction at a fast food hamburger chain: The relationship between customer satisfaction and customer loyalty (Publication No. 10169573) [Doctoral dissertation, Wilmington University].

Kesharwani, P. (Ed.). (2020). Nanotechnology based approaches for tuberculosis treatment. Academic Press.

Kittichayathorn, P. (2012). Styles and steps of community management movement for drug problem prevention learning center: A case of Thorraneekum, KhokFaet, Nong Chok, Bangkok[Doctoral dissertation, National Institute of Development Administration].

Kübler-Ross, E. (with Byock, I.). (2014). On death & dying: What the dying have to teach doctors, nurses, clergy & their own families (50th anniversary ed.). Scribner. (Original work published 1969)

Marpue, S. (2013). Use mindfulness to apply to solve doing work Employees of Electricity Generating Authority of Thailand[Master’s Thesis, Mahachulalongkornrajavidyalaya University].

National Institute of Mental Health. (2018, July). Anxiety disorders. U.S. Department of Health and Human Services, National Institutes of Health. https://www.nimh.nih.gov/health/topics/anxiety-disorders/index.shtml

Owens, L. (2020, October 7). I propose a bicycle race between Biden and Trump [Comment on the webpage Here’s what voters make of President Trump’s COVID-19 diagnosis]. HuffPost. https://www.spot.im/s/00QeiyApEIFa

Roberts, N. (2020, June 10). Trayvon Martin’s mother, Sybrina Fulton, qualifies to run for elected office. BET News. https://www.bet.com/news/national/2020/06/10/trayvon-martin-mother-sybrina-fulton-qualifies-for-office-florid.html

Sapolsky, R. M. (2017). Behave: The biology of humans at our best and worst. Penguin Books.

Svendsen, S., & Løber, L. (2020). The big picture/Academic writing: The one-hour guide (3rd digital ed.). Hans Reitzel Forlag. https://thebigpicture-academicwriting.digi.hansreitzel.dk/

Toner, K. (2020, September 24). When Covid-19 hit, he turned his newspaper route into a lifeline for senior citizens. CNN. https://www.cnn.com/2020/06/04/us/coronavirus-newspaper-deliveryman-groceries-senior-citizens-cnnheroes-trnd/index.html

Torino, G. C., Rivera, D. P., Capodilupo, C. M., Nadal, K. L., & Sue, D. W. (Eds.). (2019). Microaggression theory: Influence and implications. John Wiley & Sons. https://doi.org/10.1002/9781119466642

U.S. Census Bureau. (n.d.). U.S. and world population clock. U.S. Department of Commerce. Retrieved January 9, 2020, from https://www.census.gov/popclock/

Watson, J. B., & Rayner, R. (2013). Conditioned emotional reactions: The case of Little Albert (D. Webb, Ed.). CreateSpace Independent Publishing Platform. http://a.co/06Se6Na (Original work published 1920)

World Health Organization. (2018, May 24). The top 10 causes of death. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/the-top-10-causes-of-death