ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดำเนินงานกับสิทธิประโยชน์ ของผู้บริหารและคณะกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการดำเนินงานกับสิทธิประโยชน์ของผู้บริหารและคณะกรรมการ ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิเก็บรวบรวมข้อมูลทางการเงินจากรายงานประจำปี และแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มอุตสาหกรรมบริการ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ถึง พ.ศ. 2562 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และสถิติเชิงอนุมาน ในการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า ความสามารถในการดำเนินงานด้านผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และด้านอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล มีความสัมพันธ์กับสิทธิประโยชน์ของผู้บริหาร และความสามารถในการดำเนินงานด้านผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น และด้านอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล มีความสัมพันธ์กับสิทธิประโยชน์ของคณะกรรมการ กล่าวคือเมื่อกิจการบริหารผลการดำเนินงานดีอย่างมีประสิทธิภาพมีกำไรสูงขึ้น จะมีการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้บริหารและคณะกรรมการเพิ่มขึ้นด้วย หากผลการดำเนินงานมีกำไรลดลง ก็จะส่งผลต่อสิทธิประโยชน์ในทางตรงกันข้าม
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารศิลปการจัดการ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ ยินยอมว่าบทความเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารศิลปการจัดการ
References
กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (2563). ผลประโยชน์ทับซ้อน (Conflict of interests). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title
จินดาหรา แสงอัคนาวิน. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างคณะกรรมการกับอัตราผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถืออหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ(สารนิพนธ์บัญชีมหาบัณฑิต). วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ณัฐกานต์ ศรีวิชัย. (2558). ความสัมพันธ์ของผลการดำเนินงานกับค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). กลุ่มตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2563, จาก https://www.set.or.th/set/mainpage.do?language=th&country=TH
ทัศนีย์นารถ ลิ้มสุทธิวันภูมิ และ มยุขพันธุ์ ไชยมั่นคง, (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนของผู้บริหารกับการจัดการกำไร: กรณีศึกษาบริษัทในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 9(19), 146-157.
พรรณณิภา มั่นฤทัย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างค่าตอบแทนคณะกรรมการกับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เเห่งประเทศไทย(การค้นคว้าอิสระบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัทธ์ธีรดา ห้วยหงส์อง. (2559). ความสัมพันธ์ของอัตราส่วนความสามารถทำกำไรและอัตราส่วนประสิทธิภาพในการดำเนินงานกับผลตอบแทนของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หมวดบริการ (การแพทย์). การประชุมวิชาการระดับชาติ สาขาบริหารธุรกิจ
และการบัญชี ครั้งที่ 4, 2072-2086.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2551). ทฤษฎีบรรษัทภิบาล. วารสารบริหารธุรกิจ, 31(120), 1-4.
ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563). CORPORATE GOVERNANCE. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2563, จาก https://www.setsustainability.com/page/corporate-governance
สุกิจ กิจเเพทย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนทางการเงินกับผลตอบแทนของผู้บริหารกรณีศึกษาบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET 100)(การค้นคว้าอิสระ บัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพัสรา นราแย้ม และ ธัญวรัตน์ สุวรรณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทำกำไรกับผลตอบแทนผู้บริหารและกรรมการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 13(3), 26-33.
อานัติ หยกพิทักษ์โชค. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารกำไรกับค่าตอบแทนผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพยเอ็ม เอ ไอ (MAI)(วิทยานิพนธ์บัญชีมหาบบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรังสิต.
Field, A. (2000). Discovering Statistics using SPSS for Windows. London-Thousand Oaks-New Delhi: Sage publications.
Firth, M., Fung, P. M. Y., & Rui. O. M. (2005). Corporate Performance and CEO Compensation in China. Journal of Corporate Finance, 12(4), 693-714.
Heskett, J. (2007). How Should Pay Be Linked to Performance. Retrieved August 16, 2015, from http://hbswk.hbswk.hbs.edu/item/5703.html
Jensen, M. C., & Meckling, W. H. (1976). Theory of the Firm: Managerial Behavior, Agency costs and Ownership Structure. Journal of Financial Economics, 3(4), 305-360.
POST TODAY. (2562). ม.หอการค้าเปิด 10 อันดับ “ธุรกิจ-อาชีพ” ดาวรุ่งดาวร่วงปี 62. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2563, จาก https://www.posttoday.com/economy/news/577121