บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในโลกยุค VUCA ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของตัวแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ ศึกษาแนวทางการบริหารบุพปัจจัยที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในโลกยุค VUCA ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จำนวน 555 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ซึ่งได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.60-1.00 ถือว่าสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้คือ 0.50 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาคหรือค่าความเชื่อมั่นขององค์ประกอบรายด้านอยู่ระหว่าง 0.700-0.896 ถือว่าสอดคล้องตามเกณฑ์ที่ยอมรับโดยทั่วไปว่าต้องไม่น้อยกว่า 0.700 ใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง จากนั้นทำวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย จำนวน 10 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก สรุปผลด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย จากนั้นบูรณาการผลการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพเข้าด้วยกัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าบุพปัจจัยทั้ง 4 ด้านสำคัญและมีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานในระดับมากที่สุด ซึ่งผลการปฏิบัติงานของพนักงานได้รับอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมจากบุพปัจจัยดังกล่าว โดยผลการปฏิบัติงานด้านงานในหน้าที่และด้านบริบทมีความสัมพันธ์ในลักษณะสนับสนุนกัน แต่สำคัญต่างกันตามลักษณะของงาน ตัวแบบจำลองสมการโครงสร้างหลังปรับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความกลมกลืนที่ผ่านเกณฑ์ (2=101.40, df=80,
2/df=1.27, p-value=0.05, RMSEA=0.02, CFI=1.00, GFI=0.98, AGFI=0.96) ผลการวิเคราะห์สมมติฐาน สนับสนุนทุกข้ออย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 สำหรับแนวทางการบริหารเพื่อให้พนักงานได้ผลการปฏิบัติงานที่ดีและมีประสิทธิภาพในยุค VUCA ต้องเริ่มจากการที่พนักงานมีคุณลักษณะของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรม มีความผูกพันในงานของตน เข้าใจรูปแบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์และนำไปใช้อย่างเหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอจากองค์กร ทั้งทักษะและเครื่องมือการทำงาน ตลอดจนพัฒนาบุพปัจจัยดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอให้พนักงานทุกระดับ เน้นการบูรณาการภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมเข้ากับกิจกรรมหลัก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กนกวรรณ ศรีสุนทร และทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2565). อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 7(12), 101-117.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). สถิติสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คมกริช นันทะโรจพงศ์. (2564). การเสริมสร้างพฤติกรรมการเป็นผู้ประกอบการภายในองค์การของธุรกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมที่มีนวัตกรรม: อิทธิพลของการรับรู้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างมีสมรรถนะสูง และการรับรู้ความสามารถของตนเอง. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 13(1), 44-65.
จำเนียร จวงตระกูล. (2561). ปัญหาการกำหนดกลุ่มตัวอย่างและวิธีการสุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ. วารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 1(2), 1-21.
ดอน นาครทรรพ. (2563).การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในโลก VUCA. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_30Nov2020-2.aspx
บุณฑริกา นิลผาย. (2562). ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะงานกับความผูกพันในงานกรณีศึกษา: บุคลากรสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
ประยงค์ มีใจซื่อ. (2561). เอกสารประกอบการสอน Management Theory and Theoretical Foundations. เอกสารอัดสำเนา.
ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2560). กลยุทธ์การวางแผนและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพลส (1989).
ปิยรัตน์ วงศ์ทองเหลือ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลและแนวทางการเสริมสร้างพฤติกรรมการทำงานเชิงนวัตกรรมของพนักงานอุตสาหกรรมอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม: การวิจัยผสานวิธี. ดุษฎีนิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พัชสิริ ชมพูคำ. (2551). นวัตกรรมเพื่อการแข่งขันที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพ์นารา หิรัญกสิ. (2565). ถอดบทเรียน Work-from-Home ช่วงโควิด-19 สู่การทำงานที่ยืดหยุ่นในอนาคต. สืบค้นจาก https://www.krungsri.com/th/research/research-intelligence/work-from-home-22
ภคพร เปลี่ยนไพโรจน์ และมณฑล สรไกรกิติกูล. (2562). มุมมองและการปรับตัวของพนักงานในยุคบริการทางการเงินดิจิตอล. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 8(1), 62-80.
มนัชยา จันทเขต, มานพ ชูนิล และปิ่นกนก วงศ์ปิ่นเพ็ชร. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิจัยและพัฒนา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. Journal of Social Science and Buddhistic Anthropology, 6(12), 15-30.
มัทรินทร์ ชาญเลขา. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อองค์กรและการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา พนักงานธนาคารกสิกรไทยฝ่ายธุรกิจไพรเวทแบงค์ (Private Banking). วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล.
รวินท์พร สุวรรณรัตน์. (2560). แรงจูงใจในการทำงาน พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การและประสิทธิผลการทำงานของบุคลากรวัยทำงาน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รักษ์ วรกิจโภคาทร. (2561). การบริหารคนบนโลกแห่งความผันผวน. สืบค้นจาก https://ocsc.go.th/sites/default/files/attachment/page/1.vuca_drrak_final.pdf
ลักขณา ศรีบุญวงศ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และพัชราภรณ์ อารีย์. (2563). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทํางานและผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(2), 96-111.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2563). สมรรถนะเด็กไทยในยุคโลกพลิกผัน (VUCA World). คุรุสภาวิทยาจารย์, 1(1), 8-18.
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก https://th.wikipedia.org/wiki/
วิชุดา สร้อยสุด, เมธินี อินทร์บัว, จีรภา มิ่งเชื้อ, ยุวดี เคน้ำอ่าง และโชติ บดีรัฐ. (2564). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ หัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรยุคปัจจุบัน. Journal of Modern Learning Development, 6(5), 340-350.
วิทย์ มงคลวิสุทธิ์, บุญฑวรรณ วิงวอน และสุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล. (2564). องค์กรแห่งนวัตกรรมในฐานะบทบาทเชื่อมโยงระหว่างภาวะผู้นำและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลชุมชน. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 16(2), 1-22.
สากล พรหมสถิตย์, สถาพร วิชัยรัมย์ และธนากร เพชรสินจร. (2562). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 3(1), 51-64.
สุกสาคอน สีจันทา และจุฑามาศ ทวีไพบูลย์วงษ์. (2562). อิทธิพลของทรัพยากรในงานและความมุ่งมั่นในการทำงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารพาณิชย์ของรัฐในนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 11(21), 148-160.
สุวิสา พลายแก้ว. (2560). อิทธิพลของการสนับสนุนจากองค์การ การให้อำนาจเบ็ดเสร็จเชิงจิตวิทยา และความยุติธรรมในองค์การ ต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ความพึงพอใจในงาน และผลการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มรัตนโกสินทร์. ดุษฎีนิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต.
อรอนงค์ ตุ้ยแสน และพิมพ์ชนก เครือสุคนธ์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความมีอิสระในงาน การรับรู้ความสามารถในตนเอง ต่อความผูกพันต่องานของนักสื่อสารมวลชน: บทบาทการเป็นตัวแปรปรับของความกดดันในงาน. วารสารสื่อสารมวลชน คณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 6(1), 130-172.
Al-Amin, M. (2017). Transformational leadership and employee performance mediating effect of employee engagement. North South Business Review, 7(2), 27-40.
Ansari, N. Y. Siddiqui, S. H., & Farrukh, M. (2018). The effect of high performance work practices on employee innovative behavior: The mediating role of job embeddedness. International Journal of Contemporary Economics and Administrative Sciences, 8(2), 64-88.
Bennett, A. M. (2021). The impact of the COVID-19 Crisis on the future of human resource management. Journal of Human Resource Management, 9(3), 58-53.
Dhillon, R., & Nguyen, Q. C. (2020). Strategies to respond to a VUCA world: A review of existing knowledge. Lund, Scania, Sweden: LUNDS Universiteit, Department of Business Administration.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2006). Multivariate data analysis (6th ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Hassan, S. (2016). Impact of HRM practices on employee’s performance. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 6(1), 15-22.
HUBBA Thailand. (2564). How to: เป็นผู้นำที่รับมือได้ดีกับความท้าทายแบบ VUCA. สืบค้นจาก https://www.hubbathailand.com/hubba-blog/how-to-be-a-good-leader-through-vuca.
Imran, R., & Al-Ansi, K. S. H. (2019, March). High performance work system, job engagement and innovative work behavior: An exploration in Omani context. Paper presented at ICCMB 2019: Proceedings of the 2019 2nd International Conference on Computers in Management and Business, Cambridge, MA.
Juhro, S. M., & Aulia, A. F. (2018). Transformational leadership through applied neuroscience: Transmission mechanism of the thinking process. International Journal of Organizational Leadership, 7(3), 211-229.
Kim, M.-S., & Koo, D.-W. (2017). Linking LMX, engagement, innovative behavior, and job performance in hotel employees. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 29(12), 3044-3062.
Lawrence, K. (2013). Developing leaders in a VUCA environment. Chapel Hill, NC: UNC Kenan-Flagler Business School.
Li, H., Sajjad, N., Wang, Q., Ali, A. M., Khaqan, Z., & Amina, S. (2019). Influence of transformational leadership on employees’ innovative work behavior in sustainable organizations: Test of mediation and moderation processes. Sustainability, 11(1594), 1-21.
Liang, T.-L., Chang, H.-F., Ko, M.-H., & Lin, C.-W. (2017). Transformational leadership and employee voices in the hospitality industry. International Journal of Contemporary Hospitality Management, 29(1), 374-392.
Nasir, N., Halimatussakdiah, H., Suryani, I., Zuhra, S. E., Armia, S., & Mahdani, I. (2018). How intrinsic motivation and innovative work behavior affect job performance. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, 292(1), 606-612.
Palagrit.com. (ม.ป.ป.). Critical Thinking คืออะไร? สืบค้นจาก https://www.palagrit.com/what-is-critical-thinking/
Purit Pongpearchan. (2016). Effect of transformational leadership on strategic human resource management and firm success of Toyota’s dealer in Thailand. Journal of Business and Retail Management Research, 10(2), 53-63.
Raghuramapatruni, R., & Kosuri, S. (2017). The straits of success in a VUCA world. IOSR Journal of Business and Management, 7(2), 16-22.
Waseem, S. N., & Mehmood, K. (2019). A study on the drivers of employee engagement and its relationship with employee performance. South Asian Journal of Management Sciences, 13(2), 172-190.