การออกแบบเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจ สำหรับการวางแผนการผลิต กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตน้ำมังคุดออแกนิค
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาวิธีการพยากรณ์ที่เหมาะสมของยอดขายน้ำมังคุดออร์แกนิค เพื่อนำไปสร้างนโยบายการตัดสินใจที่ทำให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้างนโยบายการตัดสินใจในการผลิตภายใต้ความไม่แน่นอนและภายใต้ความเสี่ยงสำหรับการวางแผนการผลิตน้ำมังคุดออร์แกนิคของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนอำเภอเขาชะเมา ตำบลห้วยทับมอญ อำเภอเขาชะเมา จังหวัดระยอง ผู้วิจัยเลือกเทคนิคการพยากรณ์และทฤษฎีการตัดสินใจซึ่งเป็นเครื่องมือทางคณิตศาสตร์และสถิติเพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการผลิต ในส่วนของการประมาณค่ายอดขาย ผู้วิจัยได้สร้างแนวโน้มของข้อมูลพบว่า ข้อมูลมีลักษณะเป็นพหุนามกำลัง 3 จึงทำการพยากรณ์โดยใช้สมการถดถอยพหุนามกำลัง 2 และสมการถดถอยพหุนามกำลัง 3 พร้อมทั้งเปรียบเทียบประสิทธิภาพโดยใช้เกณฑ์ค่าความคาดเคลื่อนเฉลี่ยรากที่ 2 (RMSE) พบว่า การพยากรณ์โดยสมการถดถอยพหุนามกำลัง 3 สอดคล้องกับข้อมูลยอดขายรายเดือน ซึ่งให้ค่า RMSE ต่ำที่สุด จากนั้นนำผลการพยากรณ์ยอดขายมาใช้เป็นเกณฑ์ประกอบการตัดสินใจ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ไม่มีเกณฑ์การตัดสินใจใดที่ดีที่สุด แต่ผู้ประกอบการสามารถกำหนดนโยบายในการบริหารการผลิตและเลือกตัดสินใจได้ โดยอาศัยผลลัพธ์ของแต่ละทางเลือก เพื่อนำมาใช้ในการประเมินและเปรียบเทียบ เลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและความต้องการของตลาดมากที่สุด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กฤชวัฒน์ จิตวโรภาสกูล, เอื้อมพร ศิริรัตน์, ชาญเดช เจริญวิริยะกุล, และสโรชินี ศิริวัฒนา. (2565). ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ต่อธุรกิจร้านอาหารในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 212-225.
จินดา กลิ่นอุบล, ชวลิต ศิริบูรณ์, และอินทร์ ศาลางาม. (2565). ผลการเสริมผงเปลือกมังคุด (Garcinia mangostana L.) ในอาหารไก่เนื้อต่อสมรรถภาพการผลิต องค์ประกอบซาก และคุณภาพเนื้อ. วารสารแก่นเกษตร, 50(2), 516-526.
ณัฐธัญ เจริญศรีวิไลวัฒน์. (2562). การพัฒนาเจลไวต่ออุณหภูมิที่บรรจุสารสกัดจากเปลือกมังคุดสำหรับแผลในปาก. โครงการวิจัย คณะเภสัชศาตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิชุดา พิมลศรี, นารีรัตน์ สีระสาร, และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2565). การส่งเสริมการผลิตและการตลาดมังคุดของเกษตรกร อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 30 – 43.
Boonchai, Kr & Maneepong, Ch. (2021). Damage assessment Impact and adaptation of local Communities against the COVID-19 epidemic. Local Development Institute: LDI.
Charoenphun N. (2020). Chemical Composition and Trends in Utilization of By-products and Wastes from 4 Types of Tropical Fruit Processing. Thai Science and Technology Journal, 28(1),
-128.
Gutierrez, E. J. M., & De Pablo, K. C. (2019). Forecasting Crude Oil Price using Polynomial Regression and Autoregressive Integrated Moving Average (Arima) Model. International Journal of Science, Engineering and Technology, 7(5), 1-12.
Inchupongc J. (2022). The Impact of Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) Pandemic on Thailand's Capital Market. Journal of Management Science Chiangrai Rajabhat University, 17(1), 67-96.
Pimonsri, W, Seerasarn, N, & Keowan, B. (2022). Extension Production and Marketing of Mangosteen of
farmers in Phato, Thailand. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(8), 30-43.
Singh, B., Kumar, P., Sharma, N., & Sharma, K. P. (2020). Sales Forecast for Amazon Sales with Time Series Modeling. 2020 First International Conference on Power, Control and Computing Technologies (ICPC2T) (03-05 January 2020).