การจัดการการผลิตมันฝรั่งฤดูแล้งในระบบพันธสัญญาของเกษตรกร อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะพื้นฐานสังคมทั่วไปและ
การผลิตมันฝรั่งของเกษตรกร 2) ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตมันฝรั่งและรายได้ของเกษตรกร และ
3) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินจากการผลิตมันฝรั่งภายใต้ข้อตกลงการผลิตในระบบพันธสัญญา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากประชากรทั้งหมดของกลุ่มแปลงใหญ่มันฝรั่ง
ตำบลยอดชาด อำเภอวังยาง จังหวัดนครพนม จำนวน 53 ราย ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่
ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์การใช้ปัจจัยการผลิต และผลตอบแทนต่อการลงทุน
ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 64.15 อายุเฉลี่ย 49.96 ปี
มีประสบการณ์การปลูกมันฝรั่งเฉลี่ย 8.23 ปี มีพื้นที่ปลูกมันฝรั่งต่อรายเฉลี่ย 4.29 ไร่ ผลผลิตเฉลี่ย 3,189.62 กิโลกรัม/ไร่ ต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 19,530.16 บาท/ไร่ เป็นส่วนของต้นทุนที่บริษัทเป็นฝ่ายจัดหา (ร้อยละ 61.50) ส่วนของต้นทุนที่เกษตรกรจัดหาเอง (ร้อยละ 38.50) ส่วนใหญ่เป็นต้นทุนค่าปุ๋ยเคมี (ร้อยละ 25.60) และค่าหัวพันธุ์ (ร้อยละ 23.27) ปริมาณหัวพันธุ์ที่ใช้ เฉลี่ย 181.17 กิโลกรัม/ไร่ ราคารับซื้อประกันอยู่ที่ 11-12 บาท/กิโลกรัม มีรายได้สุทธิเฉลี่ย 14,933.27 บาท/ไร่ มีอัตราผลตอบแทนจากเงินลงทุน (Return On Investment: ROI) เท่ากับ 76.46% อัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin: NPM) เท่ากับ 43.33%
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
ชวิศา ตงศิริ. (2563). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของการปลูกผักเกษตรอินทรีย์ปลอดสารและใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช. การค้นคว้าอิสระ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิธาน แสนภักดี และนฤพล อ่อนวิมล. (2564). ต้นทุนและผลตอบแทนในการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิของเกษตรกรอำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7(1), 121-135.
วรลักษณ์ วงศ์วิวัฒน์. (2550). ประสิทธิภาพทางเทคนิคของการผลิตมันฝรั่งในระบบสัญญาผูกพันในภาคเหนือ ประเทศไทย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สถาบันพืชสวน. (2559). การลดต้นทุนการผลิตพืชสวน (พืชผัก พืชสมุนไพรและเครื่องเทศ และไม้ดอกไม้ประดับ). เอกสารวิชาการ. กรมวิชาการเกษตร.
สนอง จรินทร, อรทัย วงค์เมธา, อนุภพ เผือกผ่อง, มานพ หาญเทวี, วิวัฒน์ ภานุอำไพ, ชัยกฤต พรมมา และคณะ. (2558). โครงการวิจัยการพัฒนาพันธุ์มันฝรั่งและเทคโนโลยีการผลิต. ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร.
สำนักการค้าสินค้า. (2565). สินค้ามันฝรั่ง. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. (2564). ตารางแสดงรายละเอียดมันฝรั่ง. ข้อมูลการผลิตสินค้าเกษตร, สืบค้นจาก http://www.oae.go.th.
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง. (2565). สาระสำคัญ พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง. เอกสารวิชาการ กระทรวงการคลัง. สืบค้นจากhttps://www.fpo.go.th/main/getattachment/General-information-public-service/pdf.aspx?lang=th-TH
อภิรักษ์ หลักชัยกุล. (2557). การปลูกมันฝรั่งฤดูแล้ง ปี 2556/57 (รายงานผลการศึกษากลุ่มส่งเสริมพืชผักและเห็ด. สำนักส่งเสริมและจัดการสินค้าเกษตร). กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. สืบค้นจาก http://www.agriman.doae.go.th/home/Research/vagetable/api-potato-research2557.pdf