การใช้โปรแกรมส่งเสริมการรู้อาชีพในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการรู้อาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) ที่กำลังศึกษาในปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรู้อาชีพ จำนวน 10 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรู้อาชีพ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมเพื่อส่งเสริมการรู้อาชีพ และแบบสอบถามการเรียนรู้อาชีพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณ ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติในการวิเคราะห์แบบ Wilcoxon Signed Ranks Test และ Mann – Whitney U Test
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรู้อาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเรียนรู้และความสามารถของตนเองในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายองค์ประกอบสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังการทดลองนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรู้อาชีพมีค่าเฉลี่ยคะแนนการเรียนรู้และความสามารถของตนเองในศตวรรษที่ 21 ในภาพรวมและรายองค์ประกอบสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
คณะกรรมาธิการนานาชาติว่าด้วยการศึกษาในศตวรรษที่ 21. (2540). การเรียนรู้ : ขุมทรัพย์ในตน. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
ชนัดดา เทียนฤกษ์. (2557). การพัฒนาโมเดลการวัดทักษะชีวิตและอาชีพของนักเรียนระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายในศตวรรษที่ 21. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จันจลี ถนอมลิขิตวงศ์ และสมฤดี ปาละวัล. (2561). รายงานวิจัยการให้คำปรึกษาตามทฤษฎีคุณลักษณะองค์ประกอบเพื่อพัฒนาการรู้จักตนเองด้านการศึกษาและอาชีพของนักเรียนในโรงเรียนขยายโอกาส จังหวัดยะลา. คณะครุศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ณัฏฐวีร์ นงนุช. (2552). ผลของกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาการรู้จักและเข้าใจตนเองของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3. สารนิพนธ์ ศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นฤมล ตั้งประพฤติดี. (2553). ผลของโปรแกรมการเรียนรู้ด้วยตนเองที่มีต่อวุฒิภาวะทางอาชีพด้านเจตคติ. ปริญญานิพนธ์ ศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทา สู้รักษา. (2548). รูปแบบชีวิตและการให้คำปรึกษาอาชีพ. คู่มือการสอน. มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
มนาปี คงรักช้าง. (2558). การศึกษาผลของโปรแกรมการรับรู้ความสามารถของตนเองในอาชีพต่อการตัดสินใจเลือกอาชีพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และอธิป จิตฤกษ์. (2556). ทักษะแห่งอนาคตใหม่ : การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์.
สิทธิศักดิ์ จินดาวงศ์. (2555). ผลของกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ต่อตัวแทนความคิด เรื่อง ปรากฏการณ์ดาราศาสตร์พื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. ปริญญานิพนธ์ (วิทยาศาสตร์ศึกษา). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). เอกสารงานวิจัยเรื่องการกำหนดแนวทางการพัฒนาการศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2563). แผนพัฒนาการแนะแนวและแนวทางการจัดกิจกรรมแนะแนว ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ.2561 – 2565) ตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580). สืบค้นจาก www.guidestudent.obec.go.th
เอกชัย พุทธสอน และสุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2557). แนวโน้มการเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักศึกษาผู้ใหญ่. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(4), 93-106.
Curriculum Services Canada. (2014). Life Skills Literacy: Career, Employment, and Volunteer Development. Retrieved from http://www.curriculum.org/storage/258/1335553265/LifeSkillsLiteracy.pdf.
Ginzberg, E., Ginsburg, S. W., Alxelrad, S., & Herma J. L. (1951). Occupatiional choice: An approach to general theory New York: Columbia University Press.
Haig, D.D. (1981). A Study of the Effects of a Group Career Counseling Program on the Vocational Maturity of Senior Secondary School Student. Dissertation Abstract International. 38(3), 3882.
Holland, J. L. (1973). Making Vocational Choices. A Theory of Careers. New Jersey. Prentice – Hall.
Institute for the Future for the University of Phoenix Research Institute. (2011). Future work skills 2020. California: University of Phoenix.
Kay, K. (2012). Two Tools for 21 Century Schools and Districts. Retrieved from http://thirteencelebration.org/blog/edblog/edblog-two-tools-for-21-stcentury-schools-and-districts-by-den-key/2903/
Maclean, M. J. (1963). An Investigation of the Factor Influencing the Occupational Choice of Selected Student (Doctoral Dissertation, Fordham University, NewYork).