การพัฒนารูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

Main Article Content

ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์
จรรยา เหลียวตระกูล
มัทธนา สุทธิสารสุนทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพที่พัฒนาขึ้น 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพที่พัฒนาขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ทฤษฎี หลักการแนวคิดและเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2) พัฒนารูปแบบการถ่ายภาพ 3) ทดลองใช้รูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา หลักการถ่ายภาพ หมู่เรียน 01 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การใช้รูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาต่อรูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test แบบ Dependent samples)


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) รูปแบบการถ่ายภาพแบบใหม่ด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์  ซึ่งมีองค์ประกอบรูปแบบการถ่ายภาพ คือ การตั้งไฟล์ภาพ เปิดเส้นกรอบภาพ การปรับโฟกัส การใช้งาน HDR ระบบ AI และปรับระยะซูมภาพ (2) ผลการใช้รูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ โดยใช้แบบฝึกถ่ายภาพมีผลสัมฤทธิ์ทางการใช้รูปแบบการถ่ายภาพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อรูปแบบการถ่ายภาพด้วยเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพ โดยใช้แบบฝึกการถ่ายภาพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้วยเทคโนโลยีรูปแบบการถ่ายภาพแบบใหม่ด้วยมือถือ มีความสะดวกรวดเร็ว สามารถจัดองค์ประกอบการถ่ายภาพ ความละเอียดภาพ ดีเทียบเท่ารูปแบบเก่า และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซื้อกล้องแบบเดิม จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะในการปรับรูปแบบการเรียนการสอน ควบคู่ทั้งรูปแบบการถ่ายภาพแบบเดิมและแบบใหม่ เพื่อนักศึกษาสามารถนำไปปรับใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญณภัทร อรอินทร์ และศิริพงษ์ เพียศิริ. (2560) การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การถ่ายภาพสร้างสรรค์ของ

นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษาโดยใช้เทคนิคห้องเรียนกลับด้าน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

(ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(3), 13-24.

เกรียงไกร จริยะปัญญา, วีระชัย คอนจอ, และปัญญา ทองนิล (2562). เทคโนโลยีสื่อประสมสอนการถ่ายภาพ

เบื้องต้น กรณีศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. วารสาร Veridian E – Journal สาขา

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 7(2), 73 – 88.

ชลอรัตน์ ศิริเขตรกรณ์. (2556). ตำราการถ่ายภาพเพื่อการประชาสัมพันธ์. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัย

ราชภัฏนครสวรรค์.

ฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรมที่ดิน. (2565). ประเภทกล้องดิจิทัล. สืบค้นจากจาก

https://www.dol.go.th

มนต์ชัย เทียนทอง. (2548). มัลติมีเดียและไฮเปอร์มีเดีย. กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ

นครเหนือ.

เยาวนารถ พันธุ์เพ็ง. (2553). การถ่ายภาพดิจิตอล. กรุงเทพฯ: เสริมวิทย์อินฟอเมชั่น.

พงศ์พัฒน์ เจริญวารี. (2555). การพัฒนาชุดการสอนเรื่องการจัดไฟถ่ายภาพในสตูดิโอ. วิทยานิพนธ์

ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.

ไพศาล หวังพานิช. (2551). การวัดผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

เรียนา หวัดแท่น และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิด

ซินเนคติกส์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการถ่ายภาพเชิงสร้างสรรค์ ของ

นักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยศิลปากร. วารสาร Veridian E – Jourmal สาขา

มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(2), 1040-1055.

วินัย บุญคง. (2559). การพัฒนาเทคโนโลยีกล้องถ่ายภาพและผลกระทบ. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย,11(5), 1-7.

เอกวิทย์ โทปุรินทร์. (2561). การพัฒนาบทเรียนโมบายแอพพลิเคชั่น เรื่องการถ่ายภาพเพื่อ

การศึกษาด้วยโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ตโฟน สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารแสงอีสาน

มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน. 15(2), 43-59.

อภิรักษ์ เพียรทอง. (2556). เทคนิคการถ่ายภาพ : ประเภทของรูปถ่าย…แล้วมีกี่ประเภทอ่ะ. สืบค้นจาก

http://www.oknation.net/blog/mrapirak/2011/03/09/entry-1.

อาทิตย์ อินมา. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เรื่องการถ่ายภาพบุคคลสำหรับนักศึกษา

ระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

Best Photo Journalism from the Editors of TIME. (2018). TIME. Retrieved from

https://time.com/best-photojournalism-2018/

Bardo, J. W., & Hartman, J. J. (1982). Urban sociology: A systematic introduction.

U.S.A: F. E. Peacock Publisher.

Huang, H-M. (2002). Toward constructivism for adult Learners in online learning environments.

British journal of educational technology, 33(1), 27-37.

Keeves, J. P. (Ed). (1988). Education research, methodology and measurement: An international

handbook. Oxford: Pergamon Press.

Number of Mobile Phone Users Worldwide 2015-2020. (2017). Statista. Retrieved from

https://www.statista.com/statistics/274774/forecast-of-mobile-phone-users-worldwide