คติชนประเภทภาษิตของชาวล้านนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาคติชนประเภทภาษิตของชาวล้านนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยใช้วิธีศึกษาจากเอกสาร (documentary research) และการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้รู้หรือปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน ผลการศึกษาพบว่า คติชนประเภทภาษิตของชาวล้านนั้นได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อ ความศรัทธาและความผูกพันที่ชาวล้านนามีต่อพระพุทธศาสนา โดยคำสอนทางพระพุทธศาสนาได้ฝังรากลึกลงสู่จิตใจของชาวล้านนาอย่างแนบแน่นและหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนานี้ได้สะท้อนภาพให้เห็นทางภาษิตคำสอนที่ชาวล้านนายึดถือและปฏิบัติตามอย่างเหนียวแน่น ซึ่งภาษิตของชาวล้านนาที่นำมาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ (1) ภาษิตที่ใช้พัฒนาด้านทัศนคติ การเข้าใจโลก และการคิดเหตุผลความเป็นจริง มีจำนวนทั้งสิ้น 239 ภาษิต (2) ภาษิตที่ใช้พัฒนาด้านสภาพความเป็นอยู่ ทักษะ และภูมิปัญญา มีจำนวนทั้งสิ้น 125 ภาษิต (3) ภาษิตที่พัฒนาด้านความสัมพันธ์ทางสังคม บุคลิกภาพ การปรับตัว จิตสาธารณะ ความเชื่อ ลัทธิ และศาสนา มีจำนวนทั้งสิ้น 84 ภาษิต (4) ภาษิตที่ใช้พัฒนาด้านอัตลักษณ์ การรักษาขนบประเพณีวัฒนธรรม ภาษา การอนุรักษ์ของโบราณ และความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ของตน มีจำนวนทั้งสิ้น 53 ภาษิต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กิ่งแก้ว อัตถากร. (2519). คติชนวิทยา. พระนคร: กรมการฝึกหัดครู.
คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2539). ประกาศการส่งภาพเข้าประกวดเรื่องสุภาษิต และคำพังเพย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
เจือ สตะเวทิน. (2505). สุภาษิตไทย. กรุงเทพฯ: สุทธิสารการพิมพ์.
บุญคิด วัชรศาสตร์. (2543). ภาษิตคำเมืองเหนือ (พิมพ์ครั้งที่ 2). เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.
พระมหาวัฒน์ วฑุฒนสุธี (อุปคำ). (2545). คำสอนเรื่องคุณธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในภาษิตล้านนา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระวัลลภ หมื่นยอง. (2547).ความคิดทางปรัชญาในภาษิตล้านนา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิษณุ จันทร์วิทัน. (2556). เสน่ห์ภาษาลาว (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส์.
ศิราพร ณ ถลาง. (2559). “คติชนสร้างสรรค์” บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.
สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (2539). “กำบ่เก่าเล่าไว้” ชุดภูมิปัญญาล้านนาลำดับที่ 2. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมร เจนจิระ. (2547). ภาษิตล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาพรบุคส์.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2525). พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 1. กรุงเทพฯ:
มหามกุฎราชวิทยาลัย.
Dorson, R. M. (1971). “Applied Folklore” Folklore Forum Bibliographic and Special Series, No 8, Paper on Applied Folklore. Chicago: University of Chicago.
Tosam, M. J. (2014). The philosophical foundation of Kom proverbs. Journal on African Philosophy, 9, 1-27.
World Health Organization. (1995). The World Health Organization quality of life assessment: Position paper from the World Health Organization. Social Science and Medicine, 41, 1403-1409.