การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีผลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปวริศร ชมภู่ทอง
ประภัสสร วิเศษประภา
ชุติรัตน์ เจริญสุข
ณัฐวดี สว่างงาม
เจนคณิต สุขสัมฤทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) องค์ประกอบเชิงสำรวจศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และ 2) อิทธิพลของศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ การวิจัยครั้งนี้ใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวที่มีประสบการณ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตร ณ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จำนวน 384 ราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ สามารถสกัดได้เป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น 2) สิ่งอำนวยความสะดวก 3) ความสะอาด ปลอดภัยของสถานที่พัก และ 4) ความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสามารถนำมาสร้างเป็นชุดปัจจัยที่มีชื่อว่า EASE โดยผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุ พบว่า ตัวแปรกิจกรรมและสถานที่ท่องเที่ยวที่โดดเด่น และความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว มีอิทธิพลต่อความตั้งใจท่องเที่ยวเชิงเกษตรในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2557). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพ แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร.(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กาญจนาพร ไตรภพ และพิเศษ ชัยดิเรก. (2563). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารรังสิตบัณฑิตศึกษาในกลุ่มธุรกิจและสังคมศาสตร์, 6(1), 110-127.

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2550). วันเดียว....เที่ยวประจวบฯ. สืบค้นจาก http://www.prachuapkhirikhan.go.th/_2018/travel_activity/detail/3

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย ศรีเบญจโชติ. (2561). แผนงานวิจัยการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของจังหวัดจันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี:จันทบุรี.

ธนิชชา ชัยชัชวาลประทีป และชวลีย์ ณ ถลาง (2563). ยุทธ์ศาสตร์แบบบูรณาการเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเพื่อดำรงรักษาความเป็นเมืองเป้าหมายของอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสังคมศาสตร์, 9(2), 28-39.

วิจิตรา บุญแล, เสรี วงษ์มณฑา, ชวลีย์ ณ ถลาง, และกาญจน์นภา พงศ์พนรัตน์. (2564). การศึกษาศักยภาพองค์ประกอบของทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย, 26(1), 46-55.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกร จำแนกรายจังหวัด พ.ศ. 2557 – 2563. สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/11.aspx

อรุณศรี นามซุย. (2553). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเขตอำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย: เลย.

Best, J. W., & Kahn, J. V. (1993). Research in education. Boston: Allyn and Bacon.

Biswas, C., Omar, H., & Rashid-Radha, J. Z. R. R. (2020). The impact of tourist attractions and accessibility on tourists'satisfaction: the moderating role of tourists'age. Geo Journal of Tourism and Geosites, 32(4), 1202-1208.

Chen, C. F., & Chen, F. S. (2010). Experience quality, perceived value, satisfaction and behavioral intentions for heritage tourists. Tourism management, 31(1), 29-35.

Cochran, W. G. (2007). Sampling techniques. John Wiley & Sons.

Dar, H. (2018). Satisfaction of Domestic Tourists Visiting Gulmarg in Jammu and Kashmir, India, International Journal for Recent Trends in Business and Tourism 2(1), 16-21.

Dickman, S. (1996). Tourism: An introductory text (2nd ed.). Sydney: Hodder Education.

Dwyer, L., Mellor, R., Livaic, Z., Edwards, D., & Kim, C. (2004). Attributes of destination competitiveness: A factor analysis. Tourism analysis, 9(1-2), 91-101.

Fornell, C., & Larcker, D. F. (1981). Evaluating structural equation models with unobservable variables and measurement error. Journal of marketing research, 18(1), 39-50.

Hair, J. F., Tatham, R. L., & Anderson, R. E. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). Prentice Hall.

Haward, J. A. (1994). Buyer Behavior in Marketing Strategy. Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.

Hossain, M. K., & Islam, S. (2019). An analysis of destination attributes to enhance tourism competitiveness in Bangladesh. African Journal of Hospitality. Tourism and Leisure, 8(2), 1-17.

Jeyamugan, T. (2018). Factors influencing tourists’ satisfaction in eastern province, Sri Lanka Unpublished doctoral dissertation, University of Moratuwa, Sri Lanka.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2016). Marketing: An Introduction (13th ed.). Pearson: England.

Makhdoomi, U. M., & Baba, M. M. (2019). Destination image and travel intention of travelers to Jammu & Kashmir: the mediating effect of risk perception. JOHAR, 14(1), 35.

Mothersbaugh, D. L., Hawkins, D. I., Kleiser, S. B., Mothersbaugh, L. L., & Watson, C. F. (2020).

Consumer behavior: Building marketing strategy. New York, NY, USA: McGraw-Hill Education.

Nasir, M., Mohamad, M., Ghani, N., & Afthanorhan, A. (2020). Testing mediation roles of place attachment and tourist satisfaction on destination attractiveness and destination loyalty relationship using phantom approach. Management Science Letters, 10(2), 443-454.

Pattarat. (2564). “ท่องเที่ยวเชิงเกษตร” เทรนด์ที่กำลังมาแรง เมื่อคนเมืองอยากสัมผัสชีวิตชนบท หนี COVID-19. สืบค้นจาก https://positioningmag.com/1289665

Samaraweera, K. G., & Upekshani, T. G. Y. (2019). An empirical analysis to investigate the influence of 5A’s on domestic tourists’ satisfaction in Hikkaduwa, Sri Lanka. South Eastern University International Arts Research Symposium -2019At: South Eastern University of Sri Lanka.