การศึกษาการตัดสินใจซื้อชุดสังฆทานออนไลน์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม: กรณีศึกษา ร้าน Merci de' Fleurs

Main Article Content

ฌิชชา ภัทรโสภณวรกุล
สนิทนุช นิยมศิลป์
ธีรพงษ์ ปิณจีเสคิกุล

บทคัดย่อ

 งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตัดสินใจซื้อชุดสังฆทานออนไลน์ของผู้บริโภค โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วม (Conjoint Analysis) โดยศึกษาทั้งในด้านราคา รูปแบบการจัดชุดสังฆทาน การตกแต่ง และโปรโมชัน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ประชากร คือ ลูกค้าของร้าน Merci de’ Fleurs มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120 ราย ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างได้ให้ความสำคัญกับการตกแต่งชุดสังฆทานมากที่สุดเป็นอันดับที่หนึ่ง โดยการตกแต่งด้วยริบบิ้นได้รับความสนใจมากที่สุด อันดับที่สอง คือ ราคา ทั้งนี้ ราคา 799 บาท คือราคาที่ลูกค้ายินดีจะจ่ายมากที่สุด อันดับที่สาม คือ รูปแบบการจัดชุดสังฆทาน ลูกค้าสนใจซื้อชุดสังฆทานแบบจัดสำเร็จรูปแล้ว และอันดับสุดท้าย คือ โปรโมชัน โปรโมชันที่ได้รับความสนใจมากที่สุดคือ โปรโมชันจัดส่งฟรี นอกจากนี้ ผลจากการหาความสัมพันธ์ของการตัดสินใจด้วยสถิติ Pearson Correlation พบว่า หากยิ่งให้ความสำคัญกับการตกแต่งมากเท่าไร ผู้บริโภคก็จะให้ความสำคัญกับราคา การจัดชุดสังฆทาน และโปรโมชันน้อยลง ทั้งนี้ สามารถแบ่งกลุ่มลูกค้าได้ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามลักษณะการตัดสินใจซื้อ ซึ่งผลการวิจัยครั้งนี้มีประโยชน์โดยตรงแก่ร้าน Merci de’ Fleursเพื่อกำหนดลักษณะชุดสังฆทาน ราคา และการส่งเสริมการตลาด นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศไนย เขียวมณีนัย. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสังฆทานสำเร็จรูปในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

พระชลญาณมุนี (สมโภช ธมฺมโภชฺโช) และสรวิชญ์ วงษ์สอาด. (2563). พระพุทธศาสนากับความเชื่อ (Buddhism and belief). วารสารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์, 6(2): 99-115.

พระมหาธนากร ลาภเอกอุดม. (ม.ป.ป.). ส่วนประสมทางการตลาดสังฆภัณฑ์ในเขตบางนา กรุงเทพมหานคร, บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยปทุมธานี, ปทุมธานี, 6-8.

พระศิริปญฺญามุนิ (อ่อน). (2506). คัมภีร์มงคลทีปนีแปล. กรุงเทพมหานครมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเซียงจงเจริญ.

มนตรี พิริยะกุล. (2555). Conjoint Analysis. วารสารรามคำแหง, 29(2): 252-272.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). ข่าวประชาสัมพันธ์สํานักงานสถิติแห่งชาติ, สืบค้นจาก http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/

เฉลิมชัย สุวรรณวัฒนา. (2553). สีในวัฒนธรรมความเชื่อของไทย. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Borden, H. N., (1984). The Concept of the Marketing Mix, Harvard Business School, 2, 7-13.

Green, E. P., Kriege, M. A., & Wind, Y., (2001), Thirty Years of Conjoint Analysis: Reflections and Prospects, Interfaces, 31(3): S56-S73.

Gusafsson, A., Hermann, A., & Huber, F. (2003). Conjoint Measurement Method and Application. (3rd ed.). New York: Springer-Verlag Berlin Heidelberg.

Hair, F. J., Anderson, E. R., Tatham, L. R., & Black, C. W. (1998). Multivariate Data Analysis (5th ed.). New Jersey: Prentice-Hall College Div.

Hair, F. J., Black, C. W., Babin, J. B., & Anderson, E. R. (2010), Multivariate Data Analysis: A global perspective (7th ed.). New Jersey: Pearson Education, Inc.

Kotler, P., & Armstrong, G. (2021). Principles of Marketing (18th global ed.). New Jersey; Pearson Education Limited.

Orme, K. B. (2010). Getting Started with Conjoint Analysis: Strategies for Product Design and Pricing Research. (2nd ed.). United States of America: Research Publishers LLC.

Thabit, T. H., & Raewf, B. M. (2018). The Evaluation of Marketing Mix Elements: A Case Study. International Journal of Social Sciences & Educational Studies, 4(4), 100-109.