ปัจจุบันและอนาคตของการให้บริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย

Main Article Content

ศิริวรรณ อนันต์โท

บทคัดย่อ

OTT หรือ Over-the-Top เป็นการให้บริการกระจายเสียงหรือบริการโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายอินเทอร์เน็ต แทนที่จะผ่านโครงข่ายกระจายเสียงและโทรทัศน์แบบเดิม จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดบริการแพร่ภาพ และเนื้อหารายการต่าง ๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยไม่ต้องลงทุนโครงข่ายสัญญาณเอง บทความนี้มีที่มาจากการวิจัยเชิงคุณภาพที่ต้องการศึกษาสภาพปัจจุบันและอนาคต ของ OTT ในประเทศไทย มีการเก็บข้อมูลด้วยการศึกษาเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง และแบบเครือข่ายจากผู้ให้บริการ OTT ผู้ประกอบการโทรทัศน์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้อง จำนวนรวม 22 ราย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพ


ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมของผู้ชมรายการโทรทัศน์วัยหนุ่มสาวเปลี่ยนจากการรับชมตามผังรายการไปชมเนื้อหาออนไลน์แบบย้อนหลังและออนดีมานด์กันมากขึ้น ตลาด OTT ในประเทศไทยจึงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง และมีผลกระทบต่อผู้ให้บริการทั้งฟรีทีวี และโทรทัศน์แบบบอกรับสมาชิก ทำให้รูปแบบธุรกิจเดิมต้องปรับเปลี่ยนไป แต่ก็นับว่า OTT เป็นโอกาสใหม่และช่องทางในการเข้าถึงผู้ชม และต่อยอดรายได้ทางธุรกิจของผู้ประกอบการโทรทัศน์ได้ในหลายรูปแบบ อนาคตของ OTT จะเติบโตมากยิ่งขึ้น เพราะเป็นบริการที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ และยังมีปัจจัยเกื้อหนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและการเปลี่ยนแปลงของลักษณะประชากรในอนาคต ภาครัฐควรกำกับดูแลให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม และมีการวางแผนระดับชาติเพื่อสร้างความร่วมมือในการส่งเสริมการพัฒนาเนื้อหารายการของ OTT เพื่อให้รายการของไทยสามารถก้าวไปแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2564). รายงานสรุปผลการวิจัยโครงการศึกษาพฤติกรรมและความ

ต้องการของประชาชนในการใช้บริการโทรทัศน์ในยุคภูมิทัศน์สื่อใหม่. สำนักงานคณะกรรมการ

กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2563). การศึกษาผลกระทบของ OTT ต่อกิจการ

กระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ และแนวทางการส่งเสริมและกำกับดูแล. สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

สำนักงาน กสทช. (2560ก). สภาพการแข่งขันและแนวทางการกำกับดูแลกิจการ Over The Top: OTT.

สืบค้นจาก http://202.125.84.14/data/academic/file/600900000004.pdf

สำนักงาน กสทช. (23 มิถุนายน. 2560ข). สรุปเนื้อหาการประชุมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเป็นผู้

ให้บริการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ OTT. โดย พันเอก ดร. นที ศุกลรัตน์ ในการประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) ครั้งที่ 16/2560 เมื่อวันจันทร์ที่ 12 มิถุนายน 2560.

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ETDA). (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้

อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2563.

TIME Consulting. (25 มกราคม 2560). โครงการศึกษาแนวทางการกำกับดูแลการแข่งขันในกิจการ

โทรทัศน์แบบ Over the Top (Competition Regulation on OTT TV). สำนักงานคณะกรรมการ

กิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ.

Adobe & The Diffusion Group (TDG). (April 27, 2016). Consumers Spend 42% of Big Screen TV Time Viewing OTT. Retrieved May 1, 2021 from https://www.thebroadcastbridge.com/content/entry/5782/consumers-spend-42-of-big-screen-tv-time-viewing-ott.

CONC, Thammasat Business School. (2018). Online Video Study in Thailand. Asia Internet Coalition.

Dimmick, J., Feaster, J. C., & Ramirez, A. (2011). The niches of interpersonal media:

Relationships in space and time. New Media & Society, 13(8), 1265–1282. doi:10.1177/

Friedman, T. (1999). The Lexus and the olive tree. New York: Farrar, Straus & Giroux.

Haniff, Z. (2012). Niche theory in new media: Is digital overtaking the print magazine industry?

UNLV Theses, Dissertations, Professional Papers, and Capstones 1571.

Inplayer. (2017). Habits and generational gap of OTT subscribers. Retrieved from https://inplayer.

com/habits-and-generational-gap-of-ott-subscribers.

Katz, E. (1959). Mass Communications Research and the Study of Popular Culture: An Editorial

Note on a Possible Future for this Journal. Studies in Public Communication, 2, 1-6.

Retrieved from https://repository.upenn.edu/asc_papers/165.

KBV Research. (2020). Over the top (OTT) services market size. Retrieved from https://www.

kbvresearch.com/over-the-top-services-market.

Lehman-Wilzig, S. & Cohen-Avigdo, N. (2004). The natural life cycle of new media evolution.

New Media & Society, 6(6), 707-730.

Palmgreen, P., & Rayburn, J. D. (1985). A comparison of gratification models of media

satisfaction. Communication Monographs, 52(4), 334-346. https://doi.org/10.1080/03637758509376116.

Ovum. (2019). OTT Media Services Consumer Survey & OTT-CSP Partnership Study. Statista

Advertising and Media Outlook. (2021). Revenue of OTT video in Thailand from 2017 to 2025. Retrieved from https://www.statista.com/forecasts/1256808/ott-video-services-revenue-thailand.

Statista. (2021). Advertising & media outlook. Retrieved from https://www.statista.com/outlook/amo/media/tv-video/ott-video/thailand

Thammasat Consulting Networking and Coaching Center (CONC) (2021). Online Video Study in Thailand.

The Broadcast Bridge. (2021). Distribution & Delivery. Consumers Spend 42% of Big Screen TV

Time Viewing OTT. Retrieved from

https://www.thebroadcastbridge.com/content/ entry/5782/consumers-spend-42-of-big-

screen-tv-time-viewing-ott.2015.

We Are Social. (January 2021). Digital 2021: Global Overview Report. Retrieved from https://wearesocial.com/blog/2021/01/digital-2021-the-latest-insights-into-the-state-of-digital.

_____________. (April 2021). Digital 2021 Report (April Update). Retrieved from https://www.hootsuite.com/resources/digital-trends-q2-update.