การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองของโมเดลการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 390 ตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบชั้นภูมิและแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน วิเคราะห์โมเดลการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันโมเดลการประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 4 องค์ประกอบ พบว่า น้ำหนักองค์ประกอบในการวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยันอันดับสองที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติเท่ากับ 0.01 มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบเรียงจากมากไปหาน้อยได้แก่ 1) ด้านกระบวนการภายใน 2) ด้านการเรียนรู้และเจริญเติบโต 3) ด้านลูกค้า และ 4) ด้านการเงิน มีค่าเท่ากับ 0.968, 0.884, 0.851 และ 0.774 ตามลำดับ โมเดลการประเมินผลการปฏิบัติงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และสามารถใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำบทความทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อ หรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากวารสารบริหารธุรกิจและสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก่อนเท่านั้น
References
กรกฎ สระคูพันธ์ แล ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2562). การศึกษาการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปแป้งจากข้าวหอมมะลิ: กรณีศึกษาจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษา, 16(74), 76–82
กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. กรมส่งเสริมการเกษตร. (2563). สรุปจำนวนวิสาหกิจชุมชนและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนที่อนุมัติการจดทะเบียนแล้วจำแนกตามประเภทกิจการ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. สืบค้นจาก http://smce.doae.go.th/smce1/report/report_smce_activity.php
เจณิภา คงอิ่ม. (2561). การจัดการด้านการตลาดและผลการดำเนินงานของ SMEs ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(2), 77–92.
ดุษฎี นาคเรือง, สุธิดา วัฒนยืนยง, และนุชนภา เลขาวิจิตร์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนจังหวัดยะลา. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 9(17), 69–77.
ทักษญา สง่าโยธิน. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชน. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 12(2), 11–25.
ธีรฉัตร เทียมทอง และเพ็ญณี แนรอท. (2561). แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนที่ยั่งยืน กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเลี้ยงปลากระชังแม่น้ำโขง บ้านพร้าวใต้ ตำบลหินโงม อำเภอเมืองหนองคาย
จังหวัดหนองคาย. วารสารการบริหารปกครอง, 7(2), 245–265.
ปนัดดา โพธินาม. (2560). การศึกษาและพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิถีสังคมมนุษย์, 5(1), 191–206.
ภัทรธิดา วัฒนาพรรณกิตติ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จของวิสาหกิจชุมชนระดับ 5 ดาว จังหวัดลําปาง. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 10(2), 17–26.
ลักขณา อินทร์บึง, อารดา ชัยเสนา, และรัชดา ภักดียิ่ง. (2563) ปัจจัยแห่งความสำเร็จของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ได้รับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน จังหวัดขอนแก่น. Journal of Roi Kaensarn Academi, 5(2), 1–12.
วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล. (2561). วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความสำเร็จในการดำเนินงานของธุรกิจเอกชน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(1), 130–140.
พระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ. 2548. (2548, 8 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 122 ตอนที่ 6 ก, หน้า 1-13.
สุดารัตน์ แช่มเงิน, ประเดิม ฉ่ำใจ, และพัชราวดี ศรีบุญเรือง. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจชุมชนไวน์ศรีชุมแสง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. วารสารเกษตรพระจอมเกล้า, 35(3), 127–136.
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2562). รายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการการจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจชุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. โครงการวิจัยประเภทงบประมาณเงินรายได้
(เงินอุดหนุนจากรัฐบาล) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562, มหาวิทยาลัยบูรพา.
Camilleri, M. (2017). Corporate sustainability and responsibility: creating value for business, society and the environment. Asian Journal of Sustainability and Social Responsibility, 2(1), 59-74.
Eltahir, O. A. B. (2019). Factors affecting the performance & business success of small & medium enterprises in Sudan (case study: Omdurman). International Journal of Small Business and Entrepreneurship Research, 6(6), 14–22.
Kaplan, R. S. & Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard – Measures That Drive Performance. Harvard Business Review, 70(1), 71-79.
Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). New Jersey: Pearson Education Limited.
Liao, S. H., Chen, C. C., Hu, D. C., Chung, Y. C., & Liu, C. L. (2017). Assessing the influence of leadership style, organizational learning and organizational innovation. Leadership & Organization Development Journal, 38(5), 590-609.
Malagueño, R., Lopez-Valeiras, E., & Gomez-Conde, J. (2018). Balanced scorecard in SMEs: effects on innovation and financial performance. Small Business Economics, 51(1), 221–244.
Nielsen, S., & Nielsen, E. H. (2015). The Balanced Scorecard and the Strategic Learning Process: A System Dynamics Modeling Approach. Advances in Decision Sciences, Article ID 213758, 1–20.
Niven, P. R. (2003). Balanced scorecard step-by-step for government and nonprofit agencies. Hoboken New Jersey: John Wiley & Sons.
Surin, E. F., Edward, O. T., Hussin, M. H. F., & Wahab, I. A. (2017). Recognizing the importance of strategic business network on business performance of SME manufacturing firms in Malaysia: analyzing the moderating influence of human capital and business environment. International Journal of Arts & Sciences, 9(4), 31–44.