การยอมรับเทคโนโลยีและความภักดีทางอิเลกทรอนิกส์ของแอปพลิเคชันขนส่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคกลุ่มเพศหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ภุชงค์ สุภาสาคร
ฐานิดา จิตรสุภาพ
เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน ตามปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกันของผู้บริโภคกลุ่มเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร และ (2) ศึกษาอิทธิพลของการยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันขนส่งอาหารออนไลน์ที่มีต่อความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคกลุ่มเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริโภคเพศหญิงที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับเทคโนโลยีแอปพลิเคชันฯ มีอิทธิพลต่อความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคกลุ่มเพศหญิงในกรุงเทพมหานคร โดยด้านการนำมาใช้จริงมีผลต่อความภักดีทางอิเล็กทรอนิกส์มากที่สุด รองลงมาคือ ด้านความตั้งใจที่จะใช้งาน ด้านการรับรู้ความเสี่ยง และด้านที่ส่งผลน้อยที่สุดคือด้านการรับรู้ถึงประโยชน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการปกครอง, ระบบสถิติทางการทะเบียน. (2561). สถิติจำนวนประชากรและบ้าน – จำนวนประชากรแยกรายอายุ. สืบค้นเมื่อ 14 กรกฎาคม 2562, จาก http://stat.dopa.go.th/stat/statnew/ upstat_age.php

กรุงเทพธุรกิจ. (2561). She-economy เมื่อเศรษฐกิจเอเชียถูกขับเคลื่อนด้วยผู้หญิง. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2562, จาก https://www.bangkokbiznews.com/pr/detail/49689

เกวรินทร์ ละเอียดดีนันท์. (2557). การยอมรับเทคโนโลยีและพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จิรภา รุ่งเรืองศักดิ์. (2557). การศึกษาการยอมรับและการรับรู้ความเสี่ยงที่ส่งผลต่อความไว้วางใจใน การใช้บริการระบุตำแหน่ง (Location-based Services: LBS) ของผู้ใช้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ณัฏฐนันท์ พิธิวัตโชติกุล. (2558). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือ การตลาดผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ และพฤติกรรมผู้บริโภคออนไลน์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ประอรพิชญ คัจฉวัฒนา. (2562). ‘She-Economy’ พลิกโลก เมื่อพลังหญิงขับเคลื่อนโลกเศรษฐกิจ & สังคมไร้เงินสด. สืบค้นเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 จาก https://www.salika.co/2019/03/10/she-economy-change-world/

ภาวิณี กาญจนาภา. (2559). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Cantallops, A. S. & Salvi, F. (2014). New consumer behavior: A review of research on eWOM and hotels. International Journal of Hospitality Management, 36, 41-51.

Chu, A. Z. C. & Chu, R. J. C. (2011). The intranet’s role in newcomer socialization in hotel industry in Taiwan-technology acceptance model analysis. The International Journal of Human Resource Management, 22(5), 1163-1179.

Cox, D. F. & Rich, S. U. (1964). Perceived risk and consumer decision-making: The case of telephone shopping. Journal of Marketing Research, 1(4), 32-39.

Gray, B. & Kish-Gephart, J. J. (2013). Encountering social class differences at work: How “Class Work” perpetuates inequality. Academy of Management Review, 38(4), 670–699.

Kim, T. T., Kim, W. G., & Kim, H. B. (2009). The effects of perceived justice on recovery satisfaction, trust, word-of-mouth, and revisit intention in upscale hotels. Tourism Management, 30(1), 51-62.

Lien, C. H. & Cao, Y. (2014). Examining wechat users’ motivations, trust, attitudes, and positive word-of-mouth: Evidence from China. Computer in Human Behavior, 41, 104-111.

Liu, C. H. S. & Lee, T. (2016). Service quality and price perception of service: Influence on word-of-mouth and revisit intention. Journal of Air Transport Management, 52, 42-54.

Mowen, J. C. & Minor, M. (1998). Consumer Behavior (5th ed.). NJ: Prentice-Hall.

Oliver, R. L. (2014). Satisfaction: A Behavioral Perspective on the Consumer: (2nd ed.). New York: Routledge.

Srinivasan, S. S., Anderson, R., & Ponnavolu, K. (2002). Customer loyalty in e-commerce: An exploration of its antecedents and consequences. Journal of Retailing, 78(1), 41-50.

Thorndike, E. L. (1927). The law of effect. The American Journal of Psychology, 39(1/4), 212-222.

West, L. (2014). On the Rise and Online. Retrieved December 6, 2019, from http://perspectives.eiu.com/marketing/rise-and-online

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.