ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเสพติดสมาร์ทโฟนของกลุ่มเจเนอเรชันวาย

Main Article Content

ภัทราวดี หงส์เอก
ลลิดา วาระเพียง
จุฬาลักษณ์ ส่งมา
ธิติรัตน์ เจนศิริรัตนากร

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน รวมถึงปัจจัยพยากรณ์ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟน โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเจเนอเรชั่นวาย จำนวน 197 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จากนั้นคัดกรองผู้ที่มีพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟนตามเกณฑ์การแปรผล


        ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟน ได้แก่ ปัจจัยสภาพแวดล้อมด้านอิทธิพลทางสังคม และปัจจัยพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน ด้านระยะเวลาในการใช้งานต่อวัน และด้านวัตถุประสงค์ในการใช้งาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อพฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟน แต่ปัจจัยภายในบุคคลด้านการกำกับตัวเอง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน นอกจากนี้ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการเสพติดสมาร์ทโฟนของกลุ่มตัวอย่างได้ มีทั้งหมด 3 ปัจจัย โดยปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟน ด้านวัตถุประสงค์การใช้สมาร์ทโฟน มีประสิทธิภาพในการอธิบายหรือพยากรณ์มากที่สุด คือร้อยละ 28.1 ซึ่งมีค่าเบต้าเท่ากับ 0.351 รองลงมาคือปัจจัยสภาพแวดล้อม ด้านอิทธิพลทางสังคม ซึ่งมีประสิทธิภาพในการอธิบายหรือพยากรณ์ ร้อยละ 12.0 และพฤติกรรมการใช้สมาร์ทโฟนด้านระยะเวลาการใช้งานต่อวัน มีประสิทธิภาพในการอธิบายหรือพยากรณ์ ร้อยละ 5.1

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชีวรัตน์ ปราสาร. (2559). ความชุกของภาวะอาการ Nomophobia ในกลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ใช้สมาร์ทโฟน ในมหาวิทยาลัยภาครัฐ. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตั๋น นิลมาติ และวิโรจน์ มโนพิโมกษ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมติดการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ ของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน, วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 4(1), 157-165.

ปทิตตา ทองเจือพงษ์. (2559). ปัจจัยและผลกระทบของการเสพติดสมาร์ทโฟนต่อประสิทธิภาพการทำงาน โรคกลัวไม่มีสมาร์ทโฟนใช้. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(3), 40-54.

ปรีชญา แม้นมินทร์. (2558). ค่านิยมและการใช้สื่อของเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ เอ็กซ์และวายไทย. ดุษฎีนิพนธ์นิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรจันทร์ วงค์คุ้มสิน. (2557). การตอบสนองของผู้บริโภคที่มีต่อการตลาดแบบไวรัลเปรียบเทียบระหว่าง กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ส เจเนอเรชั่นเอ็กซ์ และเจเนอเรชันวาย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วรพร เอกมนัส. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และอิทธิพลเชิงบวกต่อการเสพติดสมาร์ทโฟน ของพนักงานในกลุ่มบริษัทผู้ผลิตมีเดีย A ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วุฒิ สุขเจริญ และอรุณลักษณ์ วิทยวิจิน. (2559). การศึกษาพฤติกรรมการตอบแบบสอบถามของผู้บริโภคในการวิจัยการตลาด. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 6(2), 110-126.

ศุภณัฐ รัตนเสรีวงศ์. (2559). การเปิดรับสื่อโฆษณาเกมกับพฤติกรรมการตัดสินใจเล่นเกมออนไลน์บนโทรศัพท์มือถือ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2550). ทฤษฎีและเทคนิคการปรับพฤติกรรม (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาน ลอยฟ้า. (2557). พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใหญ่ในชนบท. อินฟอร์เมชั่น, 21(2), 18-28

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน). (2562). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2561. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2562, จาก https://www. etda.or.th/publishing-detail/thailand-internet-user-profile-2018.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2561). สรุปผลที่สำคัญ การสำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2561 (ไตรมาส 1). สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2562 จาก http://www. nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านICT/เทคโนโลยีในครัวเรือน/2561/ict61-สรุปผลที่สำคัญ_Q1.pdf

Cochran, W. G. (1963). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.

Gökçearslan, Ş., Mumcu, F. K., Haşlaman, T., & Çevik, Y. D. (2016). Modelling smartphone addiction: The role of smartphone usage, self-regulation, general self-efficacy and cyberloafing in university students. Computers in Human Behavior, 63, 639-649.

Hong, F.-Y., Chiu, S.-I., & Huang, D.-H. (2012). A model of the relationship between psychological characteristics, mobile phone addiction and use of mobile phones by Taiwanese university female students. Computers in Human Behavior, 28(6), 2152-2159.

Jeong, S.-H., Kim, H., Yum, J.-Y., & Hwang, Y. (2016). What type of content are smartphone users addicted to: SNS vs. games. Computers in Human Behavior, 54, 10-17.

Kwak, J. Y., Kim, J. Y., & Yoon, Y. W. (2018). Effect of parental neglect on smartphone addiction in adolescents in South Korea. Child Abuse Neglect, 77, 75-84.

Van Deursen, A., Hegner, S., & Kommers, P. (2015). Modeling habitual and addictive smartphone behavior. The role of smartphone usage types, emotional intelligence, social stress, self-regulation, age, and gender. Computers in Human Behavior, 45, 411-420.

Vora, L. J. (2015). Evolution of mobile generation technology: 1G to 5G and review of upcoming wireless technology 5G. International Journal of Modern Trends in Engineering and Research, 2(10), 281-290.