เกษตรพันธสัญญา : ระบบความสัมพันธ์ ความเสี่ยง การปรับตัว อำนาจและการต่อรอง กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลำปาง / Contract Farming : Production System, Risk, Power and Negotiation

ผู้แต่ง

  • เพ็ญศิริ พันพา Thammasat University

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเรื่อง  “เกษตรพันธสัญญา :ระบบความสัมพันธ์ ความเสี่ยง การปรับตัว อำนาจและการต่อรอง” กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลำปาง” เป็นบทความที่ปรับปรุงมาจากงานวิจัยโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา  รูปแบบการเข้าสู่ระบบเกษตรพันธสัญญา  ระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต การปรับตัวและการตั้งรับความเสี่ยงของเกษตรกร สนามในการศึกษาคือพื้นที่จังหวัดลำปาง โดยทำการศึกษาผ่านกลุ่มเกษรกรในระบบพันธสัญญาของ จ.ลำปาง ได้แก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดบ้านเสด็จ อ.เมือง กลุ่มผู้ปลูกเมล็ดพันธุ์ผัก  อ.แจ้ห่ม  และกลุ่มผู้ปลูกอ้อย  อ.เกาะคา  โดยมีบริษัทคู่สัญญาได้แก่ โรงงานผลิตผลไม้กระป๋อง บริษัทเจี๋ยไต๋ และโรงงานน้ำตาลเกาะคาตามลำดับ

 

ดังที่เราทราบกันดีว่า ระบบการเกษตรแบบพันธสัญญาเริ่มเข้าสู่จังหวัดลำปางและแพร่หลายมาเป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 50 ปี ทั้งนี้รูปแบบเกษตรพันธสัญญาแต่ละรูปแบบต่างมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิถีการผลิต กระบวนการผลิต และการตลาดเป็นหัวใจสำคัญ นอกจากนี้ยังพบว่ารูปแบบ และระบบความสัมพันธ์ตามที่คนส่วนใหญ่ทั่วไปเข้าใจว่าเกษตรกรจะถูกควบคุม ผูกมัดโดยตัวสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษรนั้น กลับมิได้เป็นเงื่อนไขที่สำคัญในการควบคุมเกษตรกรตามสัญญา

 
ในทางตรงข้าม จากการศึกษาพบว่าการควบคุมเกษตรกรของบริษัทคู่สัญญามีการออกแบบมาเพื่อให้มีการควบคุมที่ซับซ้อนมากกว่านั้น คือผ่านระบบความสัมพันธ์ทางการผลิต ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมตลาด ปัจจัยการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือแม้แต่การควบคุมระบบความสัมพันธ์ทางสังคม ซึ่งแสดงให้เห็นนัยถึงความสัมพันธ์เชิงอำนาจที่บริษัทใช้ในการควบคุมเกษตรกรผ่านเงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างมาก   

แต่ในขณะเดียวกันก็พบว่าภายใต้ภาวะการณ์เสียเปรียบ และขาดอำนาจต่อรองนั้น จึงเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรมีการปรับตัวสร้างกลยุทธ์ในการผลิต มีการรับมือ และต่อรองกับอำนาจของทุนอยู่ด้วย ทั้งนี้เพื่อธำรงวิถีการผลิตของตนไว้ นอกจากนี้ยังพบว่าการต่อสู้ของเกษตรกรได้มีการใช้กลยุทธ์ทั้งในระดับครัวเรือน และระดับกลุ่ม ที่มีการรวมตัวกันทั้งในแง่การจัดการในระบบไร่นา กระบวนการผลิต และการรวมกลุ่มทางการเมือง หรือตามการผลักดันของรัฐ ทั้งนี้การรวมกลุ่มในการต่อรองจะมีความเข้มแข็งหรือไม่นั้นเกี่ยวข้องกับต้นทุนในการรวมตัวกัน หรือในกรณีการรวมกลุ่มเพื่อเป็นกลไกของรัฐ ที่ทำการจัดตั้งเพื่อกำกับเกษตรกรเข้าสู่ระบบพบว่า จะขาดความเข้มแข็งในการจัดการและสร้างอำนาจในการต่อรอง  

*บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย  เพ็ญศิริ พันพา. เกษตรพันธะสัญญา : กรณีศึกษากลุ่มเกษตรกรในจังหวัดลำปาง, วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง, 2555.

This research studies contract farming in terms of its production systems, risks, power relations and systems of negotiation through the use of a case study of agricultural groups in Lampang province. The research also studies the histories and patterns of contract farming through which farmers have struggled.

 

The study shows that the written contracts which are designed to control farmers are not actually enforced. Instead, the system of control is exercised through more sophisticated production relations, for instance input, market or even social relationship control systems. These systems show the significant power that private companies are able to exert over farmers and their economic conditions and ways of life.

 

However, the researcher found that their lack of negotiating power was one of the conditions that led the farmers to change. Farmers formed production strategies in order to meet the power of capital and to retain their modes of production. It was also found that their strategies could be observed at both household and group levels. Farmers gathered to set up groups to manage work in the fields, production and political integration, and some of these systems were supported by the Thai government. The power of these groups depends on their starting costs. In cases where there was government support, it was found that the groups lacked management expertise and negotiating power.

 

Author Biography

เพ็ญศิริ พันพา, Thammasat University

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-03-26