การป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุโดยอาสาสมัครกู้ภัย

Main Article Content

ธนาวดี คุ้มพะเนียด
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจ ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาการเก็บรักษาพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิสุขศาลานุเคราะห์ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างจำนวน 353 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้ให้ข้อมูลสำคัญส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 31-40 ปี คุณวุฒิทางการศึกษาอยู่ระดับชั้นปวช. ปวส. และปริญญาตรี ประกอบอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน โดยมีประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครกู้ภัยระหว่าง 6-10 ปี และไม่เคยเข้ารับการอบรมทางนิติวิทยาศาสตร์ ส่วนคะแนนการทำแบบทดสอบเฉลี่ยเท่ากับ 16.33 และค่า S.D. เท่ากับ 1.8 จากนั้นผู้วิจัยนำคะแนนการทำแบบทดสอบมาจัดระดับของความรู้ แสดงให้เห็นว่าอาสาสมัครกู้ภัยส่วนใหญ่ได้คะแนนความรู้ระดับมาก และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคลกับความรู้ความเข้าใจพบว่าเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนประสบการณ์การเป็นอาสาสมัครกู้ภัยและการเข้ารับการฝึกอบรมนั้นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p-value <0.05) ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานพบว่าเจ้าหน้าที่อาสาสมัครกู้ภัยนั้นยังขาดองค์ความรู้ในเรื่องของการรักษาวัตถุพยานและการป้องกันสถานที่เกิดเหตุ จึงทำให้บางครั้งเกิดการทำลายวัตถุพยานด้วยความไม่ตั้งใจหรือความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยแนวทางในการแก้ไขปัญหานี้คือการสร้างความร่วมมือกับภาครัฐจัดการอบรมเผยแพร่ความรู้อย่างเป็นระยะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonchalermwipas S. (2013). Forensic Medicine and Medical Law. Bangkok: Winyuchon Publishing Co., Ltd. (In Thai).

Jiamjetcharoon J. (2007). The crime scene and Biological Evidence. Academic documents for use in supporting work are presented at the Evidence Division. Officer of Police Forensic Science, Royal Thai Police Bangkok, (In Thai).

Kitboon A. (2015). Forensic evidence and the administration of justice in society. Knowledge database Institute of Forensic Science. Retrieved February 25, 2023. from http://www.cifs.moj.go.th. (In Thai).

Noikaew R.,and Witchuvanit W. (2020). The Study of the Significance of Forensic Evidence and Utilizationin Criminal Case : Satun Provincial Police Station. Journal of Criminology and Forensic Science, 6(2), 167-180. (In Thai).

Saenpluem K., et. al. (2023). Managing photography knowledge to support the scene inspection for rescue volunteers In Nonthaburi province. Central Institute of Forensic Science, Ministry of Justice. (In Thai).

Sawai K. (2018). Guidelines for the Science Protection of Rescue Volunteer and Inquiry Official. Master of Science Thematic, Silpakorn University University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Social Information and Indicators Development Division. (2023). Fourth quarter and overall picture of 2022. Thai social conditions, 22(1), March 2024, 18-23. (In Thai).

Srisookgarn S. (2010). Knowledge and Attitude on Safety Behavior of Officer in Phrachulachomklao Naval Dockyard, Naval Dockyard Department in Case Study: Production Section. Master of Science Thematic, Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai).

Tongtavee J. (2018). Understanding and Opinions of Pitakkarn Foundation Rescue Officers on Protection and Preservation of Physical Evidence at Crime Scenes. Master of Science Thematic, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory statistic, (Second Edition). New York: Harper & Row.