การสังเคราะห์องค์ความรู้จากงานวิจัยด้านความรุนแรงทางเพศ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2561 – 2565)

Main Article Content

นันท์รพัช ไชยอัครพงศ์
วิชชุตา อิสรานุวรรธน์
มณีรัตน์ ชื่นเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ สังเคราะห์ งานวิจัยเกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศของไทยในช่วง 5 ปี (พ.ศ. 2561 – 2565) และเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการป้องกัน แก้ไข คุ้มครอง พิทักษ์สิทธิ และจัดสวัสดิการสังคมด้านความรุนแรงทางเพศ โดยเป็นการวิจัยเอกสาร จากรายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศที่เผยแพร่ไว้บนฐานข้อมูลเอกสารฉบับเต็มของวิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัยไทย (Thai Digital Collection) ฐานข้อมูลงานวิจัยของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2561 – 2565 มีงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ด้านความรุนแรงทางเพศที่นำมาสังเคราะห์องค์ความรู้ได้ตามเกณฑ์การพิจารณา จำนวน 31 ฉบับ โดยข้อเสนอเชิงนโยบาย ได้แก่ 1. ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับปัญหาความรุนแรงทางเพศจำเป็นต้องบูรณาการความร่วมมือและขับเคลื่อนประเด็นปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศให้เป็น “วาระแห่งชาติ” อย่างเต็มศักยภาพ 2. ควรดำเนินการส่งเสริมกระบวนการยุติธรรมและการให้ความช่วยเหลือที่เป็นมิตรกับผู้เสียหาย 3. ควรดำเนินการปรับปรุงมาตรการทางกฎหมายให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพความจริง เพื่อการคุ้มครองผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศ ป้องกันการกระทำผิดซ้ำ และแก้ไขปัญหาความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต และ 4. จำเป็นต้องมีกลไกในการส่งเสริมให้สังคมมีทัศนคติเชิงบวกต่อความรุนแรงทางเพศและผู้เสียหายจากความรุนแรงทางเพศแก่สมาชิกของสังคมในทุกระดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Archavanitkul, K. (Editor). (2009). It's time to understand and fix...sexual violence, AIDS, and unplanned pregnancies. Nakhon Pathom, Thailand: Institute for Population and Social Research Mahidol University, Thai Health Promotion Foundation, and National Health Commission Office. (In Thai)

Central Information Technology Center, Royal Thai Police. (2021). Statistics on criminal offenses (4 groups of cases) from agencies throughout the country. Retrieved May 1, 2023. From https://www.crimespolice.com/portal/ (In Thai)

Chamonman, U. (1988). Research synthesis: quantitative. Bangkok, Thailand: Punny Publishing. (In Thai)

Glass, G. V., Mcgaw, B., & Smith, M. L. (1981). Meta-analysis in Social Science Research. CA: Sage Publications.

Huthaphaet, B. et al. (2009). Analysis of the association of alcohol use with occupational violence. Nonthaburi, Thailand: Institute for Research and Development, Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai)

Krug, E. G., Dahlberg, L. L., Mercy, J. A., Zwi, A. B. & Lozano, R. (2002). World Report on Violence and Health. Geneva: World Health Organization.

Social Assistance Center Hotline 1300. (2023). Statistics of Hotline 1300. Retrieved May 1, 2023. From https://1300thailand.m-society. go.th/statyearly (In Thai)

UNHCR Thailand. (2023). Sexual and Gender Based Violence. Retrieved May 1, 2023. From https://www.unhcr.org/th/en/sexual-and-gender-based-violence.

Wiratchai, N. (1999). Meta-analysis. Bangkok, Thailand: Chulalongkorn University. (In Thai)