คุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษต่างชนิดด้วยวิธีสารเคมีนินไฮดริน และ 1,2-อินเดนไดโอน

Main Article Content

ทิฆัมพร ภูที
สาธิกา นวลพลกรัง
เบญจศิลป์ เปลี่ยนสันเที๊ยะ
ธนพงษ์ ผุยบัวค้อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษต่างชนิดกันในระยะเวลาประทับที่ต่างกันด้วยวิธีนินไฮดริน วิธี 1,2-อินเดนไดโอน และวิธี 1,2-อินเดนไดโอนตามด้วยวิธีนินไฮดริน โดยทำการทดลองด้วยการประทับลายนิ้วมือแฝงลงบนกระดาษทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว 80 แกรม กระดาษสา กระดาษไขอเนกประสงค์ และกระดาษฝ้าย และศึกษาการเปรียบเทียบวิธีการตรวจหารอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษ จากนั้นใช้การนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือแฝงแล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยใช้ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษต่างชนิดที่ช่วงระยะเวลาประทับที่ต่างกันนอกจากนี้ยังใช้สถิติในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่ารอยลายนิ้วมือแฝงที่ตรวจโดยวิธีนินไฮดรินจะให้คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงดีที่สุดบนกระดาษไขอเนกประสงค์ กระดาษสาให้คุณภาพระดับต่ำในช่วงระยะเวลา 3, 5, 7, และ 14 วัน และ คุณภาพของลายนิ้วมือมีแนวโน้มลดลงตามลำดับตามระยะเวลาที่มากขึ้น ในช่วงระยะเวลาการประทับทันที มีค่าเฉลี่ยจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษของรอยลายนิ้วมือแฝงสูงสุด และที่ช่วงระยะเวลาประทับ 14 วัน มีค่าเฉลี่ยจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษต่ำสุด ดังนั้นคุณภาพของลายนิ้วมือแฝงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Anukool, P. (2015). Detection of latent fingerprints on the material in fire case by small particle reagent (SPR). Master of Science Thesis, Silpakorn University, Bangkok. (In Thai).

Boonlert, J. (2022). Comparison of Latent Fingerprint Quality on Various Types of Paper

Using Ninhydrin and Indanedione Followed by Ninhydrin. Journal of Criminology and Forensic Science Faculty of Forensic Science Royal Police Cadet Academy, 8(1), 63-73. (In Thai).

Imjit, S., Supaluknari, S., & Choosakoonkriang, S. (2016). An assessment of the effectiveness of ninhydrin, 5-methylthioninhydrin and 1,2-indanedione for latent fingerprint development on the gypsum boards. The Sci J of Phetchaburi Rajabhat University, 13(2), 48-57. (In Thai).

Jarupoom, P., Phimoolchat, J., & Vaetathum, B. (2022). Research and Development of Specialty Paper Production Process from Hemp Fibers. Materials and Manufacturing Research Center Faculty of Engineering. Rajamangala University of Technology Lanna. (In Thai).

Luscombe A., & Sears V. (2018). A Validation study to the 1,2-Indanedione Reagent for

Operational Use in the UK: Part 3-Laboratory Comparison and Pseudo Operational Trials on Porous Items. Journal of Forensic Science International, 292, 254-261.

Marriott, C., Lee, R., Wilkes, Z., Comber, B., Spindler, X., Roux, C., & Lennard, C. (2014). Evaluation of Fingermark Detection Sequences on Paper Substrates. Forensic Science International, 236, 30-37.

Ponsunthia, N., & Vichuwanich W. (2022). The Quality Appearance of Latent Fingerprint on Various Metals by Using Black Dust Powder.Research Journal Rajamangala University of Technology Thanyaburi, 19(2), 34-44. (In Thai).

Singthong, S.(2015). Fingerprints and Personal Identification. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 2(2), 52-63. (In Thai).

Sookphanich, S., Choosakoonkriang, S., & Supalaknari, S. (2018). Comparison of Age Fingerprints Detectionon Thermal Paperby Using Iodine Fuming, Ninhydrin and 1,2-Indanedione. Journal Science and Technology Silpakorn University, 5(2), 103–116. (In Thai).

Suttatham, P. (2008). Developing latent fingerprints on various types of papers by using 1,2-indane dione. Master of Science Thesis, Silpakorn University ,Nakhon Pathom. (In Thai).