การศึกษาปริมาณแร่ธาตุของวัชพืชในเขตพื้นที่นครปฐมด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดด้วยรังสีเอกซ์สเปกโทรสโกปีแบบกระจายพลังงาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการเปรียบเทียบปริมาณแร่ธาตุในส่วนต่าง ๆ ของวัชพืช และแร่ธาตุในวัชพืชแต่ละชนิดด้วยเครื่องมือกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดด้วยรังสีเอกซ์สเปกโทรสโกปีแบบกระจายพลังงาน (เอสอีเอ็ม/อีดีเอกซ์) โดยศึกษาวัชพืชจำนวน 5 ชนิด ได้แก่ ต้นตีนตุ๊กแก (Tridax procumbens), ต้นผักเป็ด (Alternanthera paronichyoides), ต้นไมยราบ (Mimosa pucida), ต้นปล้องข้าวนก (Echinochloa crus-galli) และต้นรังนก (Chloris barbata) ที่เป็นวัชพืชที่พบในทุกภูมิภาคของประเทศไทย ทนความแห้งแล้งได้ดี โดยเก็บตัวอย่างที่พิกัด 13°51'26.8"เหนือ 100°06'20.7"ตะวันออก จังหวัดนครปฐม ในช่วงกลางเดือนเมษายน วิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p≤0.05 ผลการวิจัยพบว่าปริมาณแร่ธาตุของวัชพืชทั้ง 5 ชนิด ในส่วนเดียวกัน ธาตุซิลิคอน (Si) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ปริมาณแร่ธาตุในส่วนราก ลำต้น และใบ ในชนิดเดียวกัน พบแร่แมกนีเซียม (Mg) คลอรีน (Cl) และโพแทสเซียม (K) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากการวิจัยนี้สรุปได้ว่า ในการประยุกต์ใช้ทางนิติวิทยาศาสตร์ แร่ธาตุซิลิคอนสามารถนำมาใช้แยกชนิดของวัชพืชออกจากกันได้ สามารถนำมาแยกแยะตัวอย่างของพืชที่อาจจะมีการลักลอบปลูก หรือค้าขายอย่างผิดกฎหมาย หรือใช้ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของผู้ต้องสงสัย ผู้เสียหาย และสถานที่เกิดเหตุได้ ส่วนปริมาณแร่ธาตุแมกนีเซียม คลอรีน และโพแทสเซียม ที่สะสมอยู่ในส่วนต่าง ๆ สามารถใช้เชื่อมโยงถึงแรงที่กระทำต่อพืชที่แตกหัก และประเมินการเข้าไปในพื้นที่สถานที่เกิดเหตุได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Heather Miller Coyle, Cheng-Lung Lee, Wen-YuLin, HenryC.Lee, Timothy M. Palmbach. (2005). Forensic Botany: Using Plant Evidence to Aid in Forensic Death Investigation. Croat Med J, 46(Apirl), 606-612.
Isabella Aquila, Matteo A. Sacco, Pietrantonio Ricci, Santo Gratteri. (2019).The Role of Forensic Botany in Reconstructing the Dynamics of Trauma from High Falls. Jouranal of Forensic Sciences, 64(May), 920-924.
Medthai. (2018). Sessile joyweed, 28 properties and benefits of white Sessile joyweed. From https://medthai.com/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94/. (In Thai).
Medthai. (2018). Sensitive plant, 48 properties and benefits of Sensitive plant. From https://medthai.com/%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%A3 %E0%B8%B2%E0%B8%9A/. (In Thai).
Medthai. (2018). Tridax daisy, properties and benefits of theTridax daisy (Tridax procumbens). From https://medthai.com/%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%95 %E0%B8%B8%E0%B9%8A%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%81/. (In Thai).
Norris, D.O. and Bock, J.H. (2000). Use of fecal material to associate a suspect with a crime scene: report of two cases. Journal of Forensic Sciences, 45, 178–181.
Prince of Songkla University. (2013). Weed in agroecosystems [Unpublished manuscript]. Faculty of Natural Resources. Prince of Songkla University. (In Thai).
Puechkaset. (n.d). Swollen finger grass, disadvantages and benefits of Swollen finger grass. From https://puechkaset.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B8%81/. (In Thai).
Puechkaset. (n.d.). Barnyard grass, benefits and disadvantages of Barnyard grass. From https://puechkaset.com/%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%99%E0%B8%81/. (In Thai).
S.V. Patil (Chaudhari), V.M. Patil, M.V. Mali, A.S. Rasherao, N.R. Gosavi, A.T. Pandhare, S.A. Shinde, K.V. Kulkarni3. (2017). Identification and Comparison of Xanthium Strumarium L. as Crime Scene Evidence in Forensic Rape Case by Maceration and ED-XRF Techniques. Research Journal of Forensic Sciences, 5(June), 1-8.