การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาความรู้ด้านการวางแผนสำหรับตำรวจชั้นสัญญาบัตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นการพัฒนาความรู้ด้านการวางแผนของตำรวจชั้นสัญญาบัตร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 400 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.954 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า การประเมินความต้องการจำเป็นของความรู้ด้านการวางแผนสำหรับตำรวจชั้นสัญญาบัตร ทั้ง 6 ด้าน มีความแตกต่างกัน โดยสภาพที่ควรจะเป็นมีค่าเฉลี่ยมากกว่าสภาพที่เป็นจริงทั้งภาพรวมและรายด้าน และการประเมินความต้องการจำเป็นของการพัฒนาความรู้ด้านการวางแผน มีค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นมากที่สุด คือ ด้านยุทธศาสตร์ รองลงมาคือ ด้านนโยบาย ด้านตัวชี้วัด ด้านโครงการ ด้านยุทธการ และด้านยุทธวิธี ตามลำดับ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Alshehhi, A. (2018). Strategic Thinking and Strategic Planning: A Conceptual Exposition Through a Case Study of the Police Force in the UAE (Publication No. 28432037) [Doctoral dissertation, University of Manchester]. ProQuest Dissertations and Theses Global.
Bryson, J., & George, B. (2020). Strategic management in public administration. In Oxford Research Encyclopedia of Politics.
Clancey, G., Monchuk, L., Anderson, J., & Ellis, J. (2018). Lost in implementation: NSW police force crime prevention officer perspectives on crime prevention through environmental design. Crime prevention and community safety, 20(3), 139-153.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Lasang, S. & Wongthanavasu, S. (2017). The Proposed Policy For Desired Characteristics Thai Polices. Governance Journal, 6(2), 378-398.
Office of Police Strategy. (2018). Royal Thai Police Strategies 20 years (2018-2038). Bangkok: Police Printing Bureau.
Pathy, S. K. (2019). Training Needs Analysis for Non-gazetted Police Personnel: an Empirical Study of Commissionerate Police in Odisha. International Journal of Business, Economics and Management. 2(1), 18-30.
Robinson, W. I. (2020). The global police state. London: Pluto Press.
Thavitsang, J. & Niphitprasart Soonthornvipart, L. (2018). Self Development of the Border Patrol Police Troop 32. Journal of Thai Justice System, 11(1), 93–107.