แนวทางการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อเด็กของห้องสอบสวนในสถานีตำรวจ

Main Article Content

อัศว์ณุต แสงทองดี
มีชัย สีเจริญ

บทคัดย่อ

กฎหมายบังคับให้การสอบสวนเด็กต้องแยกออกต่างหากผู้ใหญ่อย่างสิ้นเชิง สถานีตำรวจทุกแห่งมีห้องสอบสวนสำหรับเด็กปรากฏตามแบบแปลนก่อสร้าง อย่างไรก็ตามความถี่ของการใช้งานมีความแตกต่างกันมากระหว่างสถานีตำรวจในกรุงเทพมหานครและเขตภูมิภาค การวิจัยนี้จึงมุ่งที่จะนำเสนอรูปแบบห้องสอบสวนของสถานีตำรวจที่เป็นมิตรกับเด็กในขณะถูกสัมภาษณ์ทางคดี วัตถุประสงค์ของการศึกษา ได้แก่ 1) วิเคราะห์รูปแบบการใช้งานห้อง 2) การศึกษาสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรต่อเด็ก และ 3) การออกแบบแปลนห้องสอบสวนเด็ก วิธีการศึกษาใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ได้แก่ การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การออกแบบสถานที่ การประชุมระดมสมอง และการสำรวจความคิดเห็น ขอบเขตการศึกษาด้านประชากร ได้แก่ หน่วยงานที่ให้บริการสอบสวนเด็กทางคดี จำนวน 1,563 แห่ง กลุ่มตัวอย่างของหน่วยงานใช้ศึกษา จำนวน 9 แห่ง และผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกษา จำนวน 35 ราย นอกจากนั้น ผู้เข้าร่วมการสำรวจเปรียบเทียบ จำนวน 50 ราย สถิติพื้นฐานเชิงพรรณนาถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ผลสำรวจความคิดเห็น ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 80 ของผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจต่อแบบแปลนห้องใหม่มากกว่ารูปแบบห้องในปัจจุบัน อาคารสำหรับสอบสวนเด็กประกอบไปด้วย ห้องสัมภาษณ์ ห้องสังเกตการณ์ และห้องชี้ตัว การใช้งานห้องต้องอยู่บนพื้นฐานความไว้เนื้อเชื่อใจและความร่วมมือระหว่างเด็กกับตำรวจ การเลือกสีต้องส่งเสริมความรู้สึกอบอุ่นและลดความกังวล การออกแบบสภาพแวดล้อมเป็นอย่างดีสามารถลดความเสี่ยงต่อการเผชิญระหว่างเด็กและผู้ก่อเหตุ การปรับปรุงหรือก่อสร้างห้องสอบสวนเด็กโดยสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรย่อมคุ้มค่าและก่อให้เกิดประสิทธิภาพต่องานความอำนวยความยุติธรรมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chanthong, W. (2014). Investigation of Children and Youth Offender According to The Juvenile and Family Court and Juvenile and Family Procedure Act of 2010. Ramkhamhaeng Law Journal, 3(1), 71-80. (In Thai).

Cross, T. P., et al. (2007). Child forensic interviewing in children's advocacy centers: empirical data on a practice model. Child Abuse & Neglect, 31(10), 1031-1052.

Herbert, J. L. & Bromfield, L. (2016). Evidence for the efficacy of the child advocacy centre model: a systematic review. Trauma, Violence, & Abuse, 17(3), 341-357.

Lanongkan, A. & Inkarojrit, V. (2020). Emotional Response to Color and Wall Decoration of Pediatric Ward. Journal of Environmental Design, 7(2), 142-165. (In Thai)

Lippert, T.K., et al. (2008). Telling interviewers about sexual abuse: predictors of child disclosure at forensic interviews. Child Maltreatment, 14(1), 100-113.

National Children’s Alliance. (2017). Standards for accredited members. Washington DC: National Children's Alliance.

Ngernklay, P., et al. (2017). The Challenges and Opportunities of Juvenile and Family Court Procedure Act B.E. 2553. Kasem Bundit Journal, 18(2), 128-138. (In Thai).

Phothisut, C., Ekasawin, S., & Chomcheun, R. (2016). Reliability of Thai Diagnostic Interview for Psychiatric Disorders in Children and Adolescents-Revised. Journal of Mental Health of Thailand, 24(2), 94-106. (In Thai).

Russell, A. (2004, Fall). Forensic interview room set-up. Half a nation: the newsletter of the state & national finding words courses by 2010. Retrieved June 25, 2021, from https://calio.org/wp-content/uploads/2014/04/forensic-interview-room-set-up.pdf

Srichareon, M., et al. (2020). The Research Project of a Development of An Interview Room Model for Child and Adolescent in Thailand. Bangkok: National Research Council of Thailand. (In Thai).

Srichareon, M., et al. (2020). Child Friendly Interview Suite toward Victim-Centric Approach [Brochure]. Nakorn Pathom: Author. (In Thai)

Thipsongkraw, P. & Songkram, N. (2014). Designing the Learning Environment in the Learning Activity Room Based on Constructionism to Enhance Instructional Management of Elementary Schools. An Online Journal of Education, 9(1), 1-15. (In Thai).