การรับรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับการเก็บหลักฐานในผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเรา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการรับรู้และทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพเกี่ยวกับ การเก็บหลักฐานในผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเรา และการศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าว โดยกลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานอุบัติเหตุและฉุกเฉินของโรงพยาบาลรัฐ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 82 คน โดยได้รับการตอบกลับแบบสอบถามจำนวน 67 ฉบับ (ร้อยละ 81) และสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพแผนกนิติเวช และแผนก One Stop Crisis Center (OSCC) ระดับการรับรู้และทัศนคติแสดงเป็นสถิติเชิงพรรณนา คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐานในผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเราวิเคราะห์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์แบบ Pearson และแสดงเป็นค่าสัมประสิทธิ์ (r) ผลการวิจัย พบว่าความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเราโดยรวมอยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตามหากจำแนกความรู้รายด้าน กลุ่มตัวอย่างยังขาดความรู้ด้านการเก็บรวบรวมวัตถุพยาน โดยกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่เคยฝึกอบรมประสบการณ์ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์เพิ่มเติม โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเรื่องการข่มขืนและล่วงละเมิดทางเพศ ได้แก่ อายุ และตำแหน่งการปฏิบัติงาน (r=.264, r=.303) อายุ ตำแหน่งการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การทำงาน ยังมีความสัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทในการดูแลผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเรา (r=.335, r=.359, r=.253) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อผู้ป่วยคดีและการรวบรวมพยานหลักฐาน ได้แก่ ตำแหน่งการปฏิบัติงาน (r=.272) ระดับของโรงพยาบาลในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อประสบการณ์ในการเก็บพยานหลักฐาน (r=.332) และเพศมีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อต่อปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการเก็บพยานหลักฐานในผู้ป่วยคดีถูกกระทำชำเรา (r=.252) ทั้งนี้จากการสัมภาษณ์พยาบาลวิชาชีพแผนกนิติเวช และพยาบาลวิชาชีพแผนก OSCC มีความคิดเห็นว่าควรมีการจัดประชุม อบรม เสวนา ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ระหว่างผู้ปฏิบัติงาน หน่วยงาน และองค์กร เพื่อเป็นการพัฒนาความรู้ความสามารถจากประสบการณ์จริง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Aravani, A. (2020). The Need for Training in Forensic Nursing. Nosileftiki, 59(1).
Donaldson, A. (2019). Forensic clinical nurses in emergency departments: An emerging need for New Zealand. Kai Tiaki Nursing Research, 10(1), 54-58.
Feizi Nazarloo, L., Sedghi Sabet, M., Jafaraghaee, F., Kazemnezhad Leyli, E., Rahbar Taromsari, M., & Jolly, A. (2017). Emergency department nurses's knowledge about forensic nursing. Journal of Holistic Nursing and Midwifery, 27(3), 27-36.
Henderson, E., Harada, N., & Amar, A. (2012). Caring for the forensic population: Recognizing the educational needs of emergency department nurses and physicians. Journal of Forensic Nursing, 8(4), 170-177.
Lynch, V.A. (2006). Concepts and theory of forensic nursing science. Forensic nursing, 19-29.
Nursing Division, Office of the Permanent Secretary Ministry of Public Health. (2018). Roles and duties of registered nurses. Bangkok. (In Thai).
Ozden, D., Ozveren, H., & Yılmaz, İ. (2019). The impact of forensic nursing course on students’ knowledge level on forensic evidence. Journal of forensic and legal medicine, 66, 86-90.
Saripan, W., and Peonim, V. (2011). Guideline of Nurses Procedure for Evidence Collection of Forensic Patients in Emergency Department Ramathibodi Hospital. Master of Public Health Thesis. Major in Medical and Public Health Law Administration. Mahidol University, Bangkok. (In Thai).
Suwanchasri, P., Choosakoonkriang, S., Supaluknari, S., & Imsin, A. (2016). Understanding of Forensic and Medical Evidence by Profesional Nurses in Emergency Department of Phramongkutklao Hospital. Veridian E Journal, 3, 1-12. (In Thai).
Topcu, E. T., & Kazan, E. E. (2018). The opinions of senior nursing students about forensic nursing. Egyptian Journal of Forensic Sciences, 8(1), 1-7.