การตรวจเปรียบเทียบคุณภาพลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษหลายประเภทด้วยสารเคมีนินไฮดรินและอินเดนไดโอนตามด้วยนินไฮดริน
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษ 4 ประเภท ได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสารขนาด A4 สีขาว กระดาษคราฟท์ กระดาษเทอร์มอล และกระดาษลูกฟูก โดยใช้สารเคมีนินไฮดรินและสารเคมีอินเดนไดโอนตามด้วยนินไฮดริน อีกทั้งเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสารเคมีนินไฮดรินกับสารเคมีอินเดนไดโอนตามด้วยนินไฮดรินที่ใช้ในการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือจากการนับจำนวนจุดลักษณะสำคัญพิเศษโดยผู้เชี่ยวชาญด้านตรวจพิสูจน์ลายนิ้วมือ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า การตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงโดยการใช้สารเคมีอินเดนไดโอนตามด้วยนินไฮดริน จะให้คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงดีที่สุดบนกระดาษทุกประเภท โดยให้คะแนนคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝงอยู่ในระดับดี และเมื่อทำการทดสอบสมมติฐานทั้ง 2 ปัจจัย พบว่าประเภทของกระดาษและวิธีการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือ มีผลต่อระดับคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Luscombe, A., & Sears, V. (2018). A Validation Study of the 1,2-Indanedione Reagent for Operational Use in the UK : Part 3 – Laboratory Comparison and Pseudo-Operational Trials on Porous Items. Forensic Science International, 292, 254-261.
Marriott, C., Lee, R., Wilkes, Z., Comber, B., Spindler, X., Roux, C., & Lennard, C. (2014). Evaluation of Fingermark Detection Sequences on Paper Substrates. Forensic Science International, 236, 30-37.
Meechaitorn, E. (2008). A Study of Latent Fingerprints on Paper Developed with Ninhydrin [Master’s thesis, Silpakorn University]. Silpakorn University Respository (SURE). https://bit.ly/3gfAqoi. (In Thai).
Seesuvan, P. (2018). Detection of Latent Fingerprints on Thermal Papers by The Method of Ninhydrin and Ninhydrin/PVP. Veridian E-Journal, 5(3), 79-93. (In thai).
Suttatham, P. (2008). Developing Latent Fingerprints on a Various Types of Papers by Using 1,2–Indanedione [Master’s thesis, Silpakorn University]. Silpakorn University Respository (SURE). https://bit.ly/3rrMsl3. (In Thai).
Theangtheantham, S. (2013). Development of Latent Fingerprints on Objects Submerged in Natural Water by Using Small Particle Reagent and Black Powder [Master’s thesis, Silpakorn University]. Silpakorn University Respository (SURE). https://bit.ly/3Hfqhno. (In Thai).
Wallace-Kunkel, C., Lennard, C., Stoilovic, M., & Roux, C. (2007). Optimisation and Evaluation of 1,2-Indanedione for Use as a Fingermark Reagent and Its Application to Real Samples. Forensic Science International, 168, 14-26.