การจัดเก็บสารพันธุกรรมเพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูล: ศึกษาประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในปัจจุบัน กฎหมายไทยเกี่ยวกับการจัดเก็บสารพันธุกรรม (DNA) จากบุคคลในชั้นเจ้าพนักงานมีเพียงเพื่อประโยชน์ในการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวนเท่านั้น ยังไม่มีกฎหมายให้อำนาจจัดเก็บสารพันธุกรรมเพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูล ทั้งยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับฐานข้อมูลสารพันธุกรรมเป็นการเฉพาะ ความยินยอมจึงเป็นวิธีการเดียวที่ทำให้เจ้าพนักงานได้มาซึ่งตัวอย่างสารพันธุกรรมจากบุคคล ไม่ว่าบุคคลนั้นจะเกี่ยวข้องกับคดีหรือไม่ก็ตาม ทั้งพบว่าในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการกระทำในลักษณะบังคับจัดเก็บสารพันธุกรรมจากประชาชนอย่างเป็นระบบ อันมีลักษณะเลือกปฏิบัติและขัดต่อสิทธิมนุษยชน ผลการวิจัยพบว่า ในสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกามีกฎหมายซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บสารพันธุกรรมจากบุคคลเพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูล โดยมีการกำหนดประเภทบุคคลที่เจ้าพนักงานมีอำนาจจัดเก็บ วิธีการจัดเก็บ โทษของการไม่ให้ความร่วมมือในการจัดเก็บ รวมถึงสิทธิในการรับรู้ข้อมูลของผู้ถูกจัดเก็บ ในส่วนที่เกี่ยวกับฐานข้อมูล มีการบัญญัติกฎหมายเพื่อรองรับการจัดตั้งฐานข้อมูลสารพันธุกรรมแห่งชาติ โดยมีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับประเภทของบุคคลที่จะต้องถูกจัดเก็บ ระยะเวลาในการจัดเก็บ การดูแลรักษา การเปิดเผย รวมถึงระยะเวลาทำลายข้อมูล ซึ่งสอดคล้องกับผลการสัมภาษณ์บุคลากรในกระบวนการยุติธรรมของไทยซึ่งให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ดังนั้น จึงเสนอแนะให้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการจัดเก็บสารพันธุกรรมเพื่อนำเข้าสู่ฐานข้อมูล ซึ่งนอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาสิทธิมนุษยชนแล้ว ยังจะช่วยคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายของไทยอีกด้วย
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Committee on Law, Justice and Human Rights of the House of Representatives. (2020). Minutes of the Committee’s 21st meeting. Retrieved July 18, 2021. from https://www.parliament.go.th/ewtcommittee/ewt/25_law/ewt_dl_link.php?nid=370&filename=index. (In Thai).
Federal Bureau of Investigation. (2020). CODIS - NDIS Statistics. Retrieved July 23, 2021. from https://www.fbi.gov/services/laboratory/biometric-analysis/codis/ndis-statistics
Home Office. (2013). Protection of Freedoms Act 2012: how DNA and fingerprint evidence is protected in law. Retrieved July 27, 2021. from https://www.gov.uk/government/publications/protection-of-freedoms-act-2012-dna-and-fingerprint-provisions/protection-of-freedoms-act-2012-how-dna-and-fingerprint-evidence-is-protected-in-law
Home Office. (2021). National DNA Database Statistics. Retrieved July 22, 2021 from https://www.gov.uk/government/statistics/national-dna-database-statistics
Isranews Agency. (2019). Southern border military draft DNA collection, gaining more than you think by being a soldier. Retrieved July 20, 2021. from https://www.isranews.org/content-page/67-south-slide/75388-dna.html. (In Thai).
Khaosod Online. (2020). Calls for ending to southern draftee DNA collection. Retrieved July 25, 2021. From https://www.khaosod.co.th/newspaper/newspaper-front-page/ news_4522061. (In Thai).
Mandara, A. (2013). Compulsory Collection and Retention of DNA Upon Arrest: Fourth Amendment Implications. Retrieved July 22, 2021. from https://scholarship.shu. edu/cgi/viewcontent.cgi?referer=https://www.google.com/&httpsredir=1&article=1160&context=student_scholarship
MGR Online. (2019) Cross Cultural Foundation urges ending to collection and deletion of DNA collected from southern border provinces draftees. Retrieved July 25, 2021. from https://mgronline.com/south/detail/9620000034900. (In Thai).
Prachatai. (2015). Muslim lawyer center points out there is no law allowing officials to collect DNA. Retrieved July 15, 2021. from https://prachatai.com/journal/2015/11/62608. (In Thai).
Tatiyakarunwong, C. (2019). Knowledge Document on the Forceful Collection of DNA in the Southern Border Provinces. Retrieved July 23, 2021. from https://voicefromthais.files.wordpress.com/2019/12/dna1.pdf. (In Thai).
Legislation. (2021). The Police and Criminal Evidence Act 1984 (PACE). Retrieved July 22, 2021 from https://www.legislation.gov.uk/ukpga/1984/60/contents
Thai PBS. (2019). DNA-Sim Card - Two-way Operation: Perd Pom. Retrieved July 23, 2021. from https://www.youtube.com/watch?v=kqrgwlNta_w. (In Thai).
United Nations. (1948). The Universal Declaration of Human Rights. Retrieved July 24, 2021. from https://www.un.org/en/about-us/universal-declaration-of-human-rights
Wimonses, W., Choosakoonkraing, S. (2020). DNA Database in Thailand. Journal of Thai Justice System, 13(3), 61–79. (In Thai).