การกระทำผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวช

Main Article Content

พูนพัฒน์ กมลวุฒิพงศ์

บทคัดย่อ

การกระทำผิดทางอาญาของผู้ป่วยจิตเวชเกิดขึ้นได้จากความเจ็บป่วยทางจิตที่กำเริบขึ้น ผู้ป่วยจิตเวชที่กระทำผิดทางอาญามักจะเป็นอาชญากรรมพื้นฐานที่ไม่มีความสลับซับซ้อน ผู้ป่วยส่วนใหญ่วินิจฉัยเป็นโรคจิตเภทและกระทำความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายมากที่สุด กระบวนการยุติธรรมได้รับแนวคิดจากสำนักอาชญาวิทยากึ่งดั้งเดิมที่พิจารณาถึงประวัติและภูมิหลังของผู้กระทำผิดโดยเฉพาะคนวิกลจริตซึ่งมีปัญหาข้อบกพร่องในด้านเจตจำนงเสรี กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้ความสำคัญกับการนำตัวบุคคลที่มีปัญหาทางจิตเวชที่ได้ก่อคดีขึ้นไปรับการบำบัดรักษาให้หายเป็นปกติก่อนที่จะดำเนินคดี กฎหมายอาญาได้วางหลักไว้ว่า เมื่อบุคคลวิกลจริตกระทำผิด กฎหมายถือว่าการกระทำของบุคคลวิกลจริตนั้นเป็นความผิดแล้วแต่กฎหมายยกเว้นโทษทางอาญาให้ แต่หากปรากฏว่าบุคคลวิกลจริตยังสามารถรู้ผิดชอบ หรือยังสามารถบังคับตนเองได้บ้าง บุคคลวิกลจริตก็ต้องรับโทษ แต่กฎหมายกำหนดให้ศาลลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้เพียงใดก็ได้ ส่วนการป้องกันการกระทำผิดของผู้ป่วยจิตเวช ได้แก่ การรักษาอย่างต่อเนื่อง การงดใช้สารเสพติด การจัดการความเครียด รวมไปถึงครอบครัวและชุมชนร่วมกันดูแลผู้ป่วย

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

Chutinan, A. (2018). Criminology and Penology. Bangkok: Winyuchon. (In Thai).

Gionfriddo, Paul. (2016 ). Changes to HIPAA Privacy Rule May Help Distinguish Mental Illness from Violence. Retrieved 11 July, 2021, from https://mhanational.org/ blog/changes-hipaa-privacy-rule-may-help-distinguish-mental-illness-violence.

Hfocus. (2014). Drug addiction, mental illness, inconsistent treatment cause the lawsuit and repeat offenses. Retrieved 12 July, 2014, from https://www.hfocus.org/content/2014/06/7399. (In Thai).

Kongsakon, R. (2004). Schizophrenic patient awaiting punishment for deliberate murder. Journal of The Psychiatric Association of Thailand, 4(1), 49-50. (In Thai).

Kongsakon, R. (2008). Forensic Psychiatry. Bangkok: Bangkok Blog. (In Thai).

Department of Mental Health. (2019). Mental Health Act B.E. 2551 (2008) and its amendments (No. 2) B.E. 2562. Bangkok: La-Mom Co., Ltd. (In Thai).

Piamsomboon, P. (1988). Criminology : Interdisciplinary Studies on Crime Problems (The Textbook Project of the Police Cadet School). Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai).

Sinthapphan, A. (1998). Criminology and Penology Unit 1-7. Bangkok: Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai).

Thongyai, P. (2020). LW 3133 Criminology and Penology. Bangkok: Department of General Law, Faculty of Law, Ramkhamhaeng University. (In Thai).