นโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชนในประเทศไทย

Main Article Content

สกลกฤษณ์ เอกจักรวาล
นวภัทร ณรงค์ศักดิ์

บทคัดย่อ

การศึกษานโยบายในการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชนในประเทศไทยนั้น ผู้วิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทาง นโยบาย และมาตรการที่ใช้ในการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชนในประเทศไทย ด้วยการศึกษาจากการค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผลการศึกษาพบว่า ประการแรก การพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มีปัญหาด้านขั้นตอนกระบวนการ ทำให้ระยะเวลาในการดำเนินการล่าช้า ประการที่สอง โครงสร้างและการบริหารจัดการในการให้บริการยังไม่กระจายทั่วถึงทั้งประเทศ และประการที่สาม ปัญหาขาดแคลนบุคลากร สำหรับข้อเสนอนโยบายและมาตรการในการส่งเสริมและพัฒนาการให้บริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยนั้น ได้แก่ รัฐบาลควรสร้างแรงจูงใจ โดยการยกระดับให้งานด้านนิติวิทยาศาสตร์เป็นประเภทหนึ่งของวิชาชีพ สร้างระบบที่ให้ความอิสระของผู้ตรวจพิสูจน์ ตลอดจนการเพิ่มงบประมาณสนับสนุนด้านนิติวิทยาศาสตร์ สำหรับการส่งเสริมการบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชนนั้น ควรกําหนดให้การบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ของภาคเอกชนอยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยงานรัฐ มีการกำกับควบคุมด้านคุณภาพ ขณะเดียวกัน รัฐบาลควรสนับสนุนการให้บริการนิติวิทยาศาสตร์ภาคเอกชนในด้านการเงินและการลดหย่อนทางภาษี และควรจัดตั้งสภาวิชาชีพงานนิติวิทยาศาสตร์เพื่อควบคุมมาตรฐานงานนิติวิทยาศาสตร์ และสร้างความน่าเชื่อถือในการให้บริการนิติวิทยาศาสตร์ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนการจัดตั้งหน่วยงานกลางในการกำกับควบคุม ดูแล การตรวจพิสูจน์ให้เป็นมาตรฐานสากล และการดูแลราคาค่าบริการด้านนิติวิทยาศาสตร์ที่เป็นธรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chairangsinan, C. (2016). International Standard System Accreditation with Forensic Science. Journal of Criminology and Forensic Science, 2(1), 60-71. (In Thai).

Chamsuwanwong, A. and others. (2003). Forensic Science for Investigation. Bangkok: G.B.P. Center Company Limited. (In Thai).

Cullen, F.T. and Agnew, R. (2011). Criminological Theory: Past to Present. Oxford University Press.

National Research Council. (2009). Strengthening Forensic Science in the United States: A Path Forward. The National Academies Press.

Polsuek, A. (2017). The Development of cooperation in forensic science: a case study of quality development according to the international standard system. Doctor of Philosophy Forensic science and justice Thesis Silapakorn University, Bangkok. (In Thai).

President’s Council of Advisors on Science and Technology. (2016). Report to the President Forensic Science in Criminal Courts: Ensuring Scientific Validity of Feature-Comparison Methods.

Thongkom, S. (2020). The Appropriate Model for Private Forensics Service in Thailand. Doctor of Philosophy Criminology and Justice Administration Thesis Rangsit University, Pathumthani. (In Thai).

Thongkom, S. and Terdudomtham, T. (2020). The Appropriate Model for Private Forensics Service in Thailand. Journal of Thai Justice System, 13(3), 1-20. (In Thai).

Stiglitz, J. E. (2000). Economic of the Public Sector. New York Norton.

Promvikorn, W. (2019). When forensic practitioners say they want a Forensic Science Professional Council. Annual seminar project report 2019. Forensic Science Institute, Ministry of Justice, 98-101. Thailand. (In Thai).

Promvikorn, W. (2020). Forensic Science System Standards for the Reform of Thailand. Journal of Southern Technology, 13(1), 200-219. (In Thai).