ผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน

Main Article Content

ธนภัทร ปัจฉิมม์

บทคัดย่อ

การวิจัย เรื่อง“ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ศึกษาสาเหตุของปัญหาในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน และศึกษาแนวทางการพัฒนาผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรม
เชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) และการสัมมนากลุ่ม (Focus Group) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล จากผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน สามารถทำได้โดยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้นจากการกระทำความผิดของเด็กและเยาวชน ซึ่งการเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทดังกล่าวจำเป็นต้องมีเงื่อนไขสำคัญ ได้แก่ คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งร้องขอให้มีการไกล่เกลี่ยหรือพนักงานสอบสวนเห็นว่าข้อพิพาทที่เกิดขึ้นสามารถเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยได้ เช่น คดีความผิดลหุโทษ หรือความผิดที่มีอัตราโทษไม่สูงกว่าความผิดลหุโทษ คดีความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทและคดีความผิดที่มีโทษจำคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี เป็นต้น ซึ่งผลสัมฤทธิ์ดังกล่าวจะเกิดจากความพึงพอใจของทั้งสองฝ่ายในการยินยอมยอมรับการชดใช้ ชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น ในขณะที่มีข้อเสนอแนะนั้นให้มีการสร้างความรู้เชิงคุณค่าของกระบวนยุติธรรมเชิงสมานท์ให้กว้างขวางทั้งในระดับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานด้านยุติธรรมของรัฐ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (2555). จำนวนร้อยละของคดีที่เป็นการกระทำผิดซ้ำ
ที่ดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2561, จากhttp://www.djop.go.th/stat/ statbetween2008-2011/item/310-จำนวนร้อยละของคดีที่เป็นการกระทำผิดซ้ำที่ดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯทั่วประเทศ.
กระทรวงยุติธรรม. (2551). แผนประสานความร่วมมือด้านการสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางเลือก พ.ศ. 2551-2554. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
กระทรวงยุติธรรม. (2551). แผนประสานความร่วมมือด้านการสนับสนุนกระบวนการยุติธรรมทางเลือก พ.ศ. 2551-2554. กรุงเทพฯ: กระทรวงยุติธรรม.
ชาติชาย ม่วงเล็ก. (2543). บทบาทของนักสังคมสงเคราะห์ในขั้นตอนการปฏิบัติงานตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2542.: สารนิพนธ์มหาบัณฑิต คณะสังคมสงเคราะห์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณรงค์ ใจหาญ และคณะผู้วิจัย. (2552). รายงานผลการศึกษาวิจัยฉบับสมบูรณ์ โครงการวิจัย เรื่อง กระบวนการสร้างความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ในศาลยุติธรรม. สถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์ สำนักงานศาลยุติธรรม. กรุงเทพฯ.
ณัฐวสา ฉัตรไพบูลย์. (2550). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: จากทฤษฎีสู่ทางปฏิบัติในนานาชาติ. ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์: The University of Edinburgh 2550.
ธนธัช ปานวงษ์.(2549).ปัญหาและอุปสรรคของพนักงานสอบสวนในการสอบสวนปากคำเด็ก: ศึกษาเฉพาะกรณีพนักงานสอบสวนสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 9 กองบัญชาการตำรวจนครบาล. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปณิธาน คราประยูร. (2557). ปัญหาและอุปสรรคทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553. หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
พิชญา เหลืองรัตนเจริญ. (2555). กระบวนการยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชนที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด. ดุษฎีนิพนธ์คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ยศศักดิ์ โกไศยกานนท์. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ทางอาญาของไทย. วารสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 16 ฉบับที่ 2.
วันชัย ศรีนวลนัด. (2523). สิทธิของเด็กและเยาวชนระหว่างต้องหาคดีอาญาในชั้นสืบสวนและสอบสวน. กรุงเทพฯ: คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุวิช ปนุตติกร. ( 2555). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์กับการดำเนินคดีอาญาของศาลเยาวชนและครอบครัว. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการ.
อรุณี กระจ่างแสง. (2532). อัยการกับการสอบสวนคดีอาญา. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต: คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Adler, M. A. (1994). Gender difference in job autonomy: The consequences of occupational segregation and authority. Sociological Quartery, 34(3), 449.
Canadian International Development Agency. (2001). Results Based Management in CIDA: An Introductory Guide to Concept and Principles (Online). Available: http://www.acdi-cida.gc.ca/cida_ind.nsf. (2010, May 18).
Garth Luke and Chris Cunneen. (1990). Australian Indigenous Law. Reporter Vol. 1, No. 1 (January 1996), pp. 95-98
Jeffrey S. Nevid, Spencer A. Rathusand Lois Fichner- Rathus. (2009). Human sexuality. Boston: Allyn and Babon.
Williams, Richard S. (1998). Performance Management: Perspectives on Employee Performance. London: International Thomson Business Press.