การศึกษาภาวะสุขภาพจิตของเยาวชนที่กระทำความผิดในทางนิติจิตเวช

Main Article Content

ฉัตรชัย ขวัญแก้ว

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสุขภาพจิตและระดับกลไกป้องกันทางจิตของเยาวชนผู้กระทำผิด และศึกษาความสัมพันธ์ของ ลักษณะการกระทำความผิด จำนวนครั้งการกระทำความผิด และประเภทฐานความผิด กับระดับภาวะสุขภาพจิตและระดับกลไกป้องกันทางจิตของเยาวชนผู้กระทำผิด ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นกลุ่มเยาวชนผู้กระทำผิด โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินดัชนีชี้วัดสุขภาพจิตคนไทยฉบับสั้น และแบบวัดกลไกป้องกันทางจิต โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า เยาวชนผู้กระทำความผิดมีลักษณะการกระทำความผิดครั้งที่ 2 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 65.7 โดยกระทำความผิดร่วมกับบุคคลอื่น คิดเป็นร้อยละ 54.3 ซึ่งมีประเภทฐานความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายส่วนใหญ่ คิดเป็นร้อยละ 62.9 ผลการทดสอบภาวะสุขภาพจิต จำนวน 35 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนทั้งหมด 33.69 (S.D.= 4.38) ดังนั้น ผลการทดสอบภาวะสุขภาพจิตของเยาวชนผู้กระทำความผิด จึงอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติของคนทั่วไป และมีการใช้กลไกป้องกันทางจิตจำแนกตามประเภท พบว่า คะแนนเฉลี่ยโดยรวมสูงสุดคือ แบบไม่มีวุฒิภาวะ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 5.01 (S.D.= 1.16) รองลงมาคือ แบบบรรลุวุฒิภาวะ คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 (S.D.=1.15) และแบบโรคประสาท คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.90 (S.D.=1.23) ตามลำดับ ซึ่งอยู่ในระดับเป็นกลาง โดยไม่ได้รู้สึกว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างชัดเจนทั้งหมด และจากการศึกษาความสัมพันธ์ของลักษณะที่กระทำผิด จำนวนครั้งที่กระทำผิด และประเภทฐานความผิด พบว่า ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะสุขภาพจิตและกลไกป้องกันทางจิตของเยาวชนที่กระทำผิด

Article Details

บท
บทความวิจัย
Author Biography

ฉัตรชัย ขวัญแก้ว , คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

นักศึกษา หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขานิติวิทยาศาสตร์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ

 

References

1.Apichat, M. (2001). The Study To Develop Thai Mental Health Indicator. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 46(3), 209-225. (In Thai)

2.Chaiyot J. (2000). The development Defensive Style Questionnaire-40,
Journal of the Residency training in Psychiatry. Bangkok: Mahidol University,
Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital. (In Thai)
3.JuTharut, A. (2008). Sociology of crime. Bangkok: Chulalongkorn University

4.Kitikorn, M . (2006). Psychoanalysis: New Dimensions of Human Idea. Bangkok

5.Orasa, R. (2000). Psychology. Bangkok: Mittraphab. 12,45-51

6.Prach B. (2016). Thai Mental health 2012-2016. Bangkok: Aungpuo Printing. (In Thai).

7.Prathan W. (1997). Low of Juvenile Delinquents And Criminal Justice.
Bangkok: Prakayprue.

8.Sadock, B. J., & Sadock, V. A. (2003). Kaplan & Sadock’s Synopsis ofpsychiatry: Behavioral Sciences/Clinical Psychiatry (9th ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.

9.Sucha, J. (2008). General Psychology . Bangkok: Thai Printing. (In Thai).