การเปรียบเทียบวิธีการลอกเก็บลายนิ้วมือแฝงบนผิวผลไม้โดยใช้ผงฝุ่นแม่เหล็ก

Main Article Content

เกตน์นิภา บุญงาม
ปริญญา สีลานันท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงบนผิวผลไม้โดยการใช้ผงฝุ่นแม่เหล็กร่วมกับวิธีการลอกเก็บรอยลายนิ้วมือแฝง 4 วิธี ได้แก่ เทปกาวใส กาว Tex-lift เจลาติน และ Instant lifter ตัวอย่างผลไม้ที่ใช้ในการทดลอง คือ กล้วยสุก แอปเปิ้ล และ ส้ม ทำการลอกเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงหลังจากประทับรอยลายนิ้วมือที่เวลา ทันที, 6 ชั่วโมง,
12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง จากนั้นทำการถ่ายภาพรอยลายนิ้วมือแฝง และนำไปตรวจหาจุดลักษณะสำคัญพิเศษ โดยผู้ตรวจพิสูจน์ทางด้านลายนิ้วมือแฝง ทำการวิเคราะห์ผลคุณภาพรอยลายนิ้วมือทางสถิติโดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า รอยลายนิ้วมือแฝงบนผิวของผลไม้ที่ได้จากการใช้ผงฝุ่นแม่เหล็กและวิธีการลอกเก็บทั้ง 4 วิธี ในตัวอย่างที่ได้จากการลอกเก็บทันทีภายหลังประทับรอยลายนิ้วมือแฝงได้รอยลายนิ้วมือแฝงที่มีคุณภาพดีที่สุด มองเห็นรายละเอียดของลายเส้นชัดเจน พบลักษณะสำคัญพิเศษมากกว่า 12 จุดขึ้นไป สำหรับตัวอย่างที่ตรวจภายหลังจากการประทับรอยลายนิ้วมือแฝงที่ 6 ชั่วโมง, 12 ชั่วโมง และ 24 ชั่วโมง ให้คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ลดลงตามลำดับ และเมื่อทำการเปรียบเทียบวิธีการเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงจากผลไม้ทั้ง 3 ชนิด พบว่า คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงที่ลอกเก็บได้ทั้ง 4 วิธี ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. ชัยรัตน์ องค์วิสิษฐ์. (2548). ระบบตรวจสอบลายนิ้วมืออัตโนมัติเพื่อประเมินผลแบบสมาร์ตคาร์ด.สืบค้นเมื่อ 30 พ.ค. 2561 เข้าถึงได้จาก https://thaihealthlife.com/fingerprint.

2. สุภาภรณ์ โจมฤทธิ์ และ สันติ์ สุขวัจน์. (2554). การศึกษาวิธีการลอกเก็บลายนิ้วมือแฝงบนผิวหนังมนุษย์ที่มีชีวิตด้วยผงฝุ่นดำ. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

3. สุวรรณี บุญส่งไพโรจน์. (2552). การเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงบนพื้นผิวไม่เรียบและพื้นโค้งด้วยผงฝุ่นแม่เหล็ก กาว และซิลิโคนใส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

4. นวรัตน์ ใจวิจิตร. (2558). การเปรียบเทียบวิธีการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนผลไม้ด้วยวิธีปัดผงฝุ่นดำและวิธีซุปเปอร์กลูปัดด้วยผงฝุ่นดำ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

5. ปรีชญา รุ่งวิกรัยกานต์. (2559). การศึกษาระยะเวลาการคงอยู่ของลายนิ้วมือแฝงบนเคสโทรศัพท์มือถือที่จมอยู่ในน้ำโดยใช้วิธีซุปเปอร์กลู. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ, นครปฐม.

6. อรรถพล แช่มสุวรรณ และคณะ. (2552). นิติวิทยาศาสตร์ 1 เพื่อการสืบสวนสอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จี.บี.พี.เซ็นเตอร์.

7. อรรถพล แช่มสุวรรณ และคณะ. (2552). นิติวิทยาศาสตร์ 2 เพื่อการสืบสวนสอบสวน. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: จี.บี.พี.เซ็นเตอร์.