การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกจับกุมหรือผู้ต้องหาในคดีอาญา

Main Article Content

พจมานพจี ทวีสว่างผล

บทคัดย่อ

การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกจับกุมหรือผู้ต้องหาในคดีอาญาควรเป็นไปตามหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในประเทศไทย คือ 1) สิทธิที่จะได้รับแจ้งข้อกล่าวหา แจ้งเรื่องราวที่ผู้ต้องหาได้ก่อขึ้นและยืนยันให้ผู้ต้องหาทราบว่าเป็นความผิดอาญาใด 2) สิทธิที่จะโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิต่อสู้คดีเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนเอง 3) สิทธิที่จะได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และมีระยะเวลาที่เพียงพอ
ในการเตรียมคดี 4) สิทธิที่จะให้การหรือไม่ให้การในชั้นสอบสวน เป็นสิทธิที่จะไม่ให้การและสิทธิที่จะไม่ถูกบังคับให้พูดในทางที่เป็นผลร้ายแก่ตนเอง 5) สิทธิที่จะได้รับการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ 6) สิทธิที่จะมีทนายความช่วยเหลือทางคดี 7) สิทธิที่จะได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวการขอประกันตัวผู้ต้องหาหรือจำเลย ในประเทศไทยถึงแม้ว่าจะมีกฎหมายเป็นระเบียบข้อปฏิบัติ
แต่ประชาชนอาจไม่รู้ถึงสิทธิของตนเองเมื่อถูกจับกุมหรือเป็นผู้ต้องหา เพราะรายละเอียดของกฎหมายมีข้อจำกัด ดังนั้น นอกจากการพิจารณาตามหลักกฎหมายแล้ว การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกจับกุมหรือผู้ต้องหาอาจต้องคำนึงถึงลักษณะของปัจเจกบุคคลที่มีความแตกต่างกันตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเพื่อไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติ และทำให้เกิดการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอย่างสมบูรณ์

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์. (2541). กระบวนการยุติธรรมบนเส้นทางของการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ:
วิญญูชน.
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2553). หลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วยการดำเนินคดีในขั้นตอน
ก่อนการพิจารณา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: พลสยามพริ้นติ้ง.
กำภู วงศ์กาวี. (2558). การคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน: ศึกษาเฉพาะกรณีคดีอาญาที่อยู่ใน
อำนาจของศาลแขวง. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ข่าวสด. (2562). นักโทษไทยล้นคุกพุ่งอันดับ 6 ของโลก ทีไอเจ ชี้อาชญากรรมไม่อันตรายจนน่าตกใจ.
สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.khaosod.co.th/ special-
stories/news_2865662
คณะกรรมการประสานงานองค์กรสิทธิมนุษยชน (กปส.) (2540). สิทธิมนุษยชน Human Rights.
International Centre for Human Rights and Democracy Development
(ICHRDD), Canada. United Nations Information Services (UNIS). Bangkok,
Thailand.
คณะวิชาการ. (2561). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พระธรรมนูญศาลยุติธรรม (แก้ไข
เพิ่มเติมใหม่ล่าสุด พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดพมพ์อักษร.
คณิต ณ นคร. (2556). ประชาธิปไตยกับการตั้งรังเกียจทางสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2, กรุงเทพฯ:วิญญูชน.
จรัญ ภักดีธนากุล. (2552). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม. รายงานการศึกษาวิจัยเพื่อนำเสนอในการ
ประชุมทางวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 7. วันที่ 1-2 กันยายน 2552.
ศูนย์การประชุมอิมแพ็ค เมืองทางธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี.
ทัศมล วรรณประสาทการ. (2560). เอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐในชั้นสอบสวน. วิทยานิพนธ์
หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
น้ำแท้ มีบุญสร้าง. (2563). รายงานการพิจารณาศึกษาเรื่อง การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมทางอาญา
ในชั้นสอบสวนของคณะกรรมาธิการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนสภา
ผู้แทนราษฎร. กรุงเทพฯ: สำนักงานอัยการ.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2546). รายงานการวิจัยเรื่องหลักการใช้อำนาจขององค์กรที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2552). หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์.
พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ภูมินทร์ บุตรอินทร์. (2556). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมไทย. กรุงเทพฯ: เปนไท.
ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอน 40 ก ลงวันที่ 6 เมษายน 2560.
ระบบสารสนเทศสถานีตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2562). สถิติฐานความผิดคดีอาญา
(คดี 4 กลุ่ม) หน่วยงานทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 ถึง 31 ธันวาคม
2562. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก https://www.pitc.police.go.th.
เอกสาร pdf.
รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. (2563). สรุปข้อมูลผู้ต้องขัง ณ วันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2563. สืบค้นเมื่อ
23 เมษายน 2563. เข้าถึงได้จาก http://www.correct.go.th/stathomepage/
รัตนา ธมรัตน์. (2544). อำนาจรัฐในการควบคุมตัวผู้ต้องหา: ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทย
กับประเทศญี่ปุ่น. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.
วิกิพีเดีย. (2563). ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2563.
เข้าถึงได้จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญาของไทย.
สนธยา รัตนธารส. (2560). คู่มือพนักงานสอบสวน เทคนิคการสอบสวนและการทำสำนวน
การสอบสวน. กรุงเทพฯ: พูนทรัพย์การพิมพ์.
อุทัย อาทิเวช. (2553). การควบคุมตัวในกฎหมายฝรั่งเศส (ตอนที่1) สำนักงานอัยการสูงสุด.
สืบค้นเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2553. เข้าถึงได้จาก http://www.humanrights
.ago.go.th/files/article10-07-2553.pdf.