การวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนักในลิปสติกยี่ห้อที่ระบุและไม่ระบุเลของค์การอาหารและยา ด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma-Optical Emission Spectrometry

Main Article Content

พลอยไพลิน ปาละวงศ์
ธิติ มหาเจริญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปริมาณโลหะหนักของลิปสติกยี่ห้อที่ระบุและไม่ระบุเลของค์การอาหารและยา (อย.) ตัวอย่างลิปสติกที่นำมาวิเคราะห์ จำนวน 18 แท่ง จำแนกเป็น 3 เฉดสี คือ สีแดง สีชมพูนู้ด และสีน้ำตาลอิฐ ซึ่งเป็นสีที่ได้รับความนิยม ทำการตรวจวัดปริมาณโลหะหนักที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย จำนวน 6 ชนิด คือ ปรอท แคดเมียม สังกะสี เหล็ก มงกานีส และตะกั่ว ด้วยเทคนิค Inductively Coupled Plasma-Optical Emission Spectrometry และนำค่าเฉลี่ยที่ได้จากวิเคราะห์มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการทดสอบเชิงสถิติแบบ t (t-test) ผลการวิจัย พบว่า ลิปสติกที่ระบุเลข อย. มีการปนเปื้อนของสังกะสีอยู่ในช่วง 11.35-43.62 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม เหล็กอยู่ในช่วง 13.25-19.21 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม แมงกานีสอยู่ในช่วง 11.38-14.9 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และเฉพาะในลิปสติกเฉดสีแดงที่พบการปนเปื้อนของตะกั่ว อยู่ในช่วง 12.14-16.54 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม ไม่พบการปนเปื้อนของปรอทและแคดเมียมในตัวอย่างลิปสติกที่ระบุเลข อย. สำหรับลิปสติกที่ไม่ได้มีการระบุเลข อย. ตรวจพบการปนเปื้อนสังกะสีอยู่ในช่วง 13.61-44.72 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม เหล็กอยู่ในช่วง 10.59-22.73 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม แมงกานีสอยู่ในช่วง 12.50-22.50 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม และปรอทอยู่ในช่วง 2.80-6.74 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม โดยมีลิปสติกเพียง 1 ยี่ห้อ ที่ตรวจพบแคดเมียม อยู่ในช่วง 5.00-5.87 มิลลิกรัม/กิโลกรัม นอกจากนี้ เฉพาะในลิปสติกเฉดสีแดงเท่านั้นที่มีปริมาณตะกั่ว โดยพบอยู่ในช่วง 12.58-15.5 มิลลิกรัม/ กิโลกรัม เมื่อเปรียบเทียบค่าโลหะหนักกับมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมาตรฐานอาหารและยา ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข พบว่า ลิปสติก ที่ไม่ได้ระบุเลข อย. มีปริมาณแคดเมียมเกินมาตรฐาน จำนวน 1 ยี่ห้อ และปริมาณปรอทเกินมาตรฐาน จำนวน 3 ยี่ห้อ จากการทดสอบสมมติฐาน พบความแตกต่างปริมาณโลหะหนักแมงกานีส และปรอท
ระหว่างลิปสติกที่ระบุเลข อย. และไม่ระบุเลข อย. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bordo, Susan. (1993). Unbearable Weight. California: University California Press.

Chantharsaka, V. (2015). Analysis of heavy metals in lipstick on cotton using by inductively coupled plasma optical emission spectrometry (ICP-OES). Master of Science Thesis University Khon Kaen, Khon kaen. (In Thai)

Charoensri, P. (2016). Heavy in cosmetic. Retrieved 28 November 2019. From
http://www.thailandlab.com/wp-content/uploads/2016/10/Heavy-Metals-in-Cosmetics.pdf. (in Thai)

Faten, M. and Ali Zainy. (2017). “Heavy metals in lipstick products marketed in Saudi
Arabia.” Journal of Cosmetics. 7(3), pp. 336-348.

Khalid A et al. (2013). Determination of lead , cadmium, chromium, and nickel in different of lipsticks. Retrieved 20 November 2019. From https://www.academia.edu/27142554/Determination of lead Cadmium Chromium
and Nickel in Different Brands of lipsticks.
Mahacharoen, T. (2003). Determination of Methampheatamine in Human Hair. Master
of Science Thesis Mahidol University, Bangkok. (In Thai)
Notification of the Ministry of Health. (2016). Names of objects that must not be used
as ingredients in the manufacture of cosmetics. Retrieved 15 November 2019.
From http://www.fda.moph.go.th/sites/Cosmetic/ Laws.pdf. (in Thai)
Runsaiwathana, N. (1998). Analysis heavy metal in lipsticks. Master of Science Thesis Yala Rajabhat University, Yala. (in Thai)

Saisavatakul, C. (2007). What is lipsticks. Retrieved 10 November 2019. From http://lifestyle.campus-star.com/trendy/7595 .html (in Thai)

Sa Liu, S. Hammond, K. and Cheatham, A.R. (2013). “Concentrations and potential health risks of metals in lip products.” Environmental health perspectives. 12(6), pp. 705-710.