การศึกษากระบวนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกายของพนักงานสอบสวน ในสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1

Main Article Content

ชิดชนก โสภะบุญ
สาริสา ปิ่นคำ
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในกระบวนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย และศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานตามกระบวนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ พนักงานสอบสวนสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1 (บก.น. 1) จำนวน 100 ราย โดยการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับปฏิบัติงาน และแบบสอบถามปลายเปิด มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบด้วยสถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบภายหลังการวิเคราะห์โดยวิธีการเปรียบเทียบพหูคูณแบบ LSD (Least -Significant Different) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานในกระบวนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกายอยู่ในระดับทุกครั้ง 2) จากปัจจัยที่ศึกษาได้แก่ อายุราชการ ระยะเวลาการปฏิบัติงานเป็นพนักงานสอบสวน ตำแหน่ง ยศ สังกัดสถานีตำรวจ และการได้รับการอบรมเสริมศักยภาพด้านการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานในคดีทำร้ายร่างกายซึ่งจำแนกจากข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า สังกัดสถานีตำรวจมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานทุกด้าน ในขณะที่การได้รับการอบรมเสริมศักยภาพด้านการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานทางคดีทำร้ายร่างกายมีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติงานเฉพาะด้านการทำสำนวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าพนักงานสอบสวนในสังกัด บก.น.1 มีการทำงานในกระบวนการเก็บรวบรวมพยานหลักฐานคดีทำร้ายร่างกายด้วยระดับปฏิบัติงานทุกครั้งสำหรับทุกด้าน อย่างไรก็ตามความแตกต่างของระดับการปฏิบัติงานในแต่ละด้านขึ้นกับความรุนแรงของคดี วัสดุอุปกรณ์ และความรู้ความเข้าใจจากการได้รับการฝึกอบรม

Article Details

บท
บทความวิจัย