ผลกระทบของชนิดกระสุนปืนและวิถียิงของกระสุนปืนต่อกระบวนการวัดมุมแบบการกำหนดจุดแรกเข้า สำหรับการวัดมุมยิงตกกระทบจากร่องรอยลูกกระสุนปืนบนแผ่นโลหะตัวถังรถยนต์ที่ถูกยิงด้วยปืนพก

Main Article Content

ฐิติชญา เหลืองไพโรจน์
ณรงค์ กุลนิเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของชนิดกระสุนปืนและวิถียิงของกระสุนปืนต่อค่ามุมยิงตกกระทบและความคลาดเคลื่อนของกระบวนการวัดมุมตกกระทบจากร่องรอยที่เกิดขึ้นบนแผ่นโลหะตัวถังรถยนต์ โดยใช้วิธีการกำหนดจุดแรกเข้า (ที่ใช้ในการจำลองวิถีกระสุนปืนจากร่องรอยที่เกิดขึ้นที่แผ่นโลหะตัวถังรถยนต์ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยใช้แผ่นโลหะตัวถังรถยนต์ จำนวน 100 ตัวอย่าง ใช้กระสุนปืนออโตเมติกขนาด 9 มิลลิเมตร LUGER จำนวน 2 ชนิด เพื่อยิงทำมุมตกกระทบกับระนาบของแผ่นโลหะ จำนวน 5 มุมยิง ได้แก่ 90 องศา, 75 องศา, 60 องศา, 45 องศา และ 30 องศา ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ชนิดของกระสุนปืนที่แตกต่างกันมีผลต่อการวัดมุมยิง ที่มุมยิง 60 องศา ส่วนมุมยิง 90 องศา, 75 องศา, 45 องศา และ 30 องศา พบว่า ชนิดของกระสุนปืนไม่มีผลต่อการวัดมุมยิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าในมุมยิงที่ 90 องศา การวัดมุมจะมีประสิทธิภาพที่ดีที่สุด (ความถูกต้องและความแม่นยำ) แต่สำหรับมุมยิงที่ลดลงประสิทธิภาพจะลดลงไปตามลำดับซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาได้นำมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลเพื่อใช้ในการตรวจพิสูจน์หลักฐานในคดีที่เกี่ยวกับอาวุธปืน สามารถนำมาเป็นแนวปฏิบัติในการตรวจพิสูจน์และวิเคราะห์ค่าความคลาดเคลื่อนของผลการวัดมุมเพื่อใช้ในการจำลองภาพความเป็นไปได้ของทิศทางและตำแหน่งของกระสุนปืนที่ถูกยิงเข้ามากระทบวัตถุพยาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] M.G. Haag (2008). The accuracy and precision of trajectory measurements. AFTE J. 40,145–182.
[2] M.G. Haag, L.C. Haag (2011). Shooting Incident Reconstruction (2nd ed.). Academic Press: San Diego.
[3] R.M. Gardner, T. Bevel (2009). Practical Crime Scene Analysis and Reconstruction. CRC Press, Boca Raton: Florida
[4] E.E. Hueske (2006). Practical Analysis and Reconstruction of Shooting Incidents. CRC Press, Boca Raton: Florida.
[5] R.M. Gardner (2005). Practical Crime Scene Processing and Investigation. CRC Press, Boca Raton: Florida.
[6] J.L. Trahin (1987). Bullet trajectory analysis. AFTE J. 19,124–150.
[7] D. Theiling (2001). Bullet deflection due to angled intervening materials. AFTE J. 33,304–312.
[8] L.C. Haag (1997). Bullet penetration and perforation of sheet metal. AFTE J. 29,431–441.
[9] M.Courtney (1994). The use of hand held laser pointers in there construction of events at crime scene. AFTE J. 26,170–172.
[10] D.H. Garrison (1996). The effective use of bullet hole probes in crime scene reconstruction. AFTE J. 28,57–63.
[11] L.C. Haag (1991). A portable laser-theodolite system for use in shooting scene reconstruction. AFTE J. 23,538–542.
[12] E.E. Hueske (1993). Calculation of trajectory angles using an inexpensive angle gauge. AFTE J. 25 231–233.