บทบาทการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาของพนักงานสอบสวนหญิงในสถานีตำรวจ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทความรับผิดชอบด้านการอำนวยความยุติธรรมทางอาญา ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน รวมถึงแนวทางการพัฒนาบทบาทของพนักงานสอบสวนหญิง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานสอบสวนหญิงที่สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 66-71 ที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งพนักงานสอบสวนทั่วประเทศ จำนวน 205 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล
ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลศึกษาพบว่า 1) การปฏิบัติงานตามกรอบบทบาทความรับผิดชอบด้านการอำนวยความยุติธรรมของพนักงานสอบสวนหญิงอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า การทำงานด้านการสอบสวนผู้เสียหายและพยานอายุไม่เกิน 18 ปี เป็นด้านที่พนักงานสอบสวนหญิงปฏิบัติมากที่สุด 2) พนักงานสอบสวนหญิงในสถานีตำรวจยังประสบปัญหาในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มากที่สุดคือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพนักงานสอบสวน รองลงมาคือด้านระบบการปฏิบัติงานสอบสวน
3) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติหน้าที่ในด้านระบบการปฏิบัติงานสอบสวนเป็นด้านที่มีความเห็นมากที่สุดที่ควรนำมาใช้ในการพัฒนาบทบาทของพนักงานสอบสวนหญิง นอกจากนี้พนักงานสอบสวนหญิงยังมีพื้นฐานความรู้ด้านการสอบสวนที่ไม่เพียงพอ ต้องเรียนรู้เพิ่มเติมด้วยตนเองพร้อมกับการปฏิบัติหน้าที่ หน่วยงานที่ฝึกอบรมพนักงานสอบสวนหญิง จึงควรเน้นการให้ความรู้ทางด้านนิติศาสตร์เป็นหลัก ที่จะทำให้พนักงานสอบสวนหญิงปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
Benner, P. (1984). From Novice to Expert: Excellence and Power in Clinical Nursing Practice. Menlo Park: Addison-Wesley.
Boonhurn, W. (2001). The Process of Protecting the Accused in Criminal Investigation. Master of Laws Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Chompoonich, N. (2019). The Development of Inquiry Official’s Role in Protecting Juvenile Delinquents in Criminal Case: A Case Study of Metropolitan Police. Journal of Social Work, 27(1), 137-157.
Egobol, N. (2015). Problems on Legal Implementation of The Domestic Violence Act B.E. 2550 by Inquiry Officials. Public Health & Health Laws Journal. 1(1), 14-26.
Kiatkongkamchay, C. (2014). Development of Work Performance Competence in Inquiry of Female Inquiry officers Attached to The Royal Thai Police. Ph.D. in Social Science Journal, 4(3), 28-36.
Kukudrue, K. (2018). The Evaluation of Female Police Cadet Outcomes of Royal Police Cadet Academy. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(1), 23-38.
Office of Human Resources, Royal Thai Police. (2018). Prevention and Suppression Measures. Bangkok, Thailand. (In Thai).
Plungsrisakul, W. (1995). The Role of Female Inquiry Officers in the Investigation of Rape Cases: A Case Study of Justice Personnel. Master of Social Work Thesis, Thammasat University, Bangkok. (In Thai).
Punwattana, P. (2015). Factors Affecting Work Effectiveness of Inquiry Female Police Official in Bangkok Metropolis. Journal of Humanities and Social Science, 11(1), 195-222.
Royal Thai Police. (2013). Order of The Royal Thai Police No. 419/2013 on Administration of Justice in Criminal Cases Making an Investigation and Measures to Control, Inspect, Accelerate the Investigation of Criminal Cases. Bangkok: Royal Thai Police. (In Thai).
__________. (2016). Record of The Royal Thai Police No.0009.13/626 on Naming the Position of Inquiry Official. Bangkok: Royal Thai Police. (In Thai).
Srisilarak, R. (2017). Problems, Impediments and Guidelines to Improve the Efficiency and Performance of Judicial Investigation Officers. Huachiew Chalermprakiet Law Journal, 8(1), 1-11.
Thongnoppakoon, A. (2010). Lynching the Accused in Proceeding at the Scene of Crime Confession Assembly: A Case Study of Lynching and Preventive Measure. Master of Social Sciences Thesis, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai).
Tontan, C. (2009). Legal Problems and Obstacles on Investigation: A Case Study on Investigation of Child Victim or Child Witness. Master of Laws Thesis, Sripatum University, Chonburi. (In Thai).
Watanasin, K. (2017). A Study of Problems of Duty of Female Police Cadet. Royal Police Cadet Academy, Nakorn Pathom. (In Thai).
Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.