การประเมินผลการดำเนินการโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัย บูรณาการงานในกระบวนการยุติธรรมเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ด้านงานสอบสวน

Main Article Content

จรัส ธรรมธนารักษ์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยการนำเข้าด้านงานสอบสวนของโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัย บูรณาการงานในกระบวนการยุติธรรม เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน 2) ประเมินผลกระบวนการดำเนินงานตามโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัย 3) ศึกษาความพึงพอใจของประชาชนต่อการบริการด้านงานสอบสวนของสถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัยและสถานีตำรวจที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ 4) ศึกษารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านงานสอบสวนในสถานีตำรวจ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการสถานีตำรวจ จำนวน 6 สถานี รวมทั้งสิ้น 2,070 คน รวมทั้ง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม และภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 100 คน


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ปัจจัยนำเข้าของโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัยที่สำคัญ ประกอบด้วย 1) กำลังพลที่มีจำนวนเพียงพอ มีทักษะและมีความรู้ 2) ปริมาณคดี 3) เขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ และ 4) งบประมาณต้องมีความเพียงพอต่อค่าตอบแทนและอุปกรณ์ในการทำงาน ปัจจัยนำเข้าดังกล่าวจะต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ

  2. ผลการประเมินกระบวนการดำเนินงาน ตามโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัย พบว่า พนักงานสอบสวนไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนอย่างเพียงพอ เนื่องจากเกิดปัญหาด้านกำลังพลที่มีน้อยเมื่อเทียบกับปริมาณงานที่มากขึ้น รวมถึงการปฏิบัติหน้าที่อื่นเพิ่มเติม ทำให้การปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ส่วนด้านกระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ พบว่า พนักงานสอบสวนนำความรู้ด้านนิติวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในงานสืบสวนสอบสวน รวมถึงการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส และเป็นธรรมต่อประชาชน

  3. ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการด้านงานสอบสวนของสถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการสถานีตำรวจล้ำสมัยและสถานีตำรวจที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการ พบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจต่อสถานีตำรวจที่เข้าร่วมโครงการมากกว่าสถานีตำรวจที่ไม่ได้ร่วมโครงการ แต่เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย (t-test) พบว่า ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

  4. รูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านงานสอบสวนในสถานีตำรวจ พบว่า สถานีตำรวจต้องมีการบริหารจัดการภายในหน่วยงานอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 1) ด้านกำลังพลที่เพียงพอ 2) ด้านการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวน 3) ด้านฝึกอบรม 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และ 5) ด้านความก้าวหน้าในสายอาชีพ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonyopas, W. and Panwichit, S. (2013). The Study of An Approach to Develop A Case Administration System in The Police Station. Journal of Politics, Administration and Law, 7(2), 33-74.

Cao, L., and Zhao, J. (2005). Confidence in The Police in Latin America. Journal of Criminal Justice, 33(5), 403-412.

Millett, J. D. (1954). Management in The Public Service: The Quest for Effective Performance. New York: McGraw-Hill.

Moore, W. (1963). Social Change. NJ: Prentice Hall.

Royal Thai Police. (2016). The Guidelines Develop Police Job in Modern Police Stations. Bangkok: Royal Thai Police. (In Thai).

_______. (2012). Royal Thai Police Order No. 538/2555 Subject: Practices and Authorities of Inquiry Officials and Officers Working in the Inquiry Section. October 1, 2012. (In Thai).

Rujirawinitchai, K. (2015). Development Effective Management of Investigation, Metropolitan Police Bureau, The Royal Thai Police. Journal Social Science and Humanity, 5(2), 22-36.

Stufflebeam, D. L. (1971). Educational Evaluation Decision Making. New York: Phi Delta Kappa.

Shah, S. A., Fayaz, M., Shah, A., and Shah, S. (2016). Testing Desktop Application: Police Station Information Management System. International Journal of Software Engineering and its Applications, 10(7), 101-108.

The Asia Foundation (2016). Summarize of Studies and Policy Recommendations for The Reform of Inquiry Job: How to Make People Believe in Freedom Efficiency and Professional. Bangkok: The Asia Foundation. (In Thai).

Yamane, T. (1967). Taro Statistic: An Introductory Analysis. New York: Harper & Row.