การวิเคราะห์เปรียบเทียบรูปแบบลายพิมพ์ปากของฝาแฝดแท้

Main Article Content

พีราภรณ์ คำมะลุน

บทคัดย่อ

                 การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบลายพิมพ์ปากในคู่ฝาแฝดแท้หญิงและชายและเพื่อศึกษาเปรียบเทียบลายพิมพ์ปากในคู่ฝาแฝดแท้ตามการจำแนกรูปแบบลายพิมพ์ปากของซูซุกิและทสึชิฮาชิ การวิจัยครั้งนี้จะศึกษาเปรียบเทียบรูปแบบลายพิมพ์ปากของฝาแฝดแท้ จำนวน 6 คู่ ได้แก่  ฝาแฝดเพศชาย จำนวน 3 คู่ และฝาแฝดเพศหญิง จำนวน 3 คู่ ที่มีสัญชาติไทย ไม่มีความผิดปกติหรือความพิการ ไม่มีรอยโรคหรืออาการที่บ่งบอกถึงการอักเสบของโรคที่ริมฝีปาก ไม่มีบาดแผลหรือ
การบาดเจ็บที่ริมฝีปาก โดยวิธีการเก็บลายพิมพ์ปากจะใช้ลิปสติกสีแดงเนื้อด้าน จากนั้นลอกลายพิมพ์ปากด้วยเทปกาวใสและปิดลงบนกระดาษ แบ่งลายพิมพ์ปากออกเป็น 6 ส่วน และใช้การจำแนกรูปแบบลายพิมพ์ปากของ ซูซุกิและ ทสึชิฮาชิ (Suzuki &Tsuchihashi Lip Prints’s Classification)   


            ผลการวิจัยพบว่า ลายพิมพ์ปากของฝาแฝดแท้ทั้ง 6 คู่ มีการกระจายตัวของรูปแบบลายพิมพ์ปากในทุกส่วนของริมฝีปาก แต่ละส่วนพบได้มากกว่า 1 รูปแบบ เมื่อพิจารณาแต่ละคู่ฝาแฝด พบว่ามีบางส่วนของลายพิมพ์ปากมีรูปแบบชนิดเดียวกัน แต่การเรียงตัวของเส้นหรือร่องมีความแตกต่างกัน คู่ฝาแฝดแท้ที่มีรูปแบบลายพิมพ์ปากเหมือนกันที่สุด คือ ฝาแฝดแท้คู่ที่ 6 คิดเป็น 83% รองลงมาคือ ฝาแฝดแท้คู่ที่ 4 คิดเป็น 72%, ฝาแฝดแท้คู่ที่ 3 คิดเป็น 67%, ฝาแฝดแท้คู่ที่ 1 คิดเป็น 58%, ฝาแฝดแท้คู่ที่ 5 คิดเป็น 53 % และ ฝาแฝดแท้คู่ที่ 2 คิดเป็น 50% ตามลำดับ และผลจากการศึกษาความแตกต่างรูปแบบลายพิมพ์ปากเพศหญิงและชายพบว่าส่วน UM (Upper Middle) เพศหญิงและเพศชายส่วนมาก พบรูปแบบ Type I  ในส่วน LM (Lower Middle) พบว่าเพศหญิงส่วนมากพบรูปแบบ Type I และ เพศชายส่วนมากพบรูปแบบ Type I และ Type III

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Ghimire, N. (2013). Lip Print Pattern: An Identification Tool. Health Renaissance, 11(3), 229-233.

Hunasgi, S. et al. (2014). Comparison of Lip Prints, Palatal Rugae with Blood Group in Karnataka and Kerala Population. Journal of Advanced Clinic & Research Insights. 1(3), 83-88.

Ishaq, N., Ehsan, U., Jawaad, I., Ikram, A., and Rasheed, A. (2014). Cheiloscopy; A Tool for Sex Determination. The Professional Medical Journal, 21(5), 883-887.

Kinra, M. et al. (2014) Cheiloscopy for Sex Determination: A Study. Journal of Dentistry, 4(1), 48-51.

Moore, K.L. (2016). The Developing Human Clinic Oriented Embryology. 7th Edition. Philadelphia: Saunders.

Prabhu, R. V., Dinkar, A. D., Prabhu, V. D., and Rao, P. K. (2012). Cheiloscopy: Revisited. Journal of Forensic Dental Sciences, 4(1), 47–52.

Sultana, Q., Shariff, M. H., Asif, M., and Avadhani, R. (2014). Cheiloscopy: A Scientific Approach for Personal Identification. International Journal of Anatomy and Research, 2(4), 668-672.

Sriwong, K. (2014). The Study of Lip Prints for Sex Determination: Case Study in Muang district, Samut Songkhram Province Population. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Thakur, B. et al. (2017). A Comparative Study of Lip Print Patterns in Monozygotic and Dizygotic Twins. International Journal of Research in Medical Sciences, 5(5), 2144-2149.

Umamaheswari, T. N., and Gnanasundaram, N. (2011). Role of Lip Prints in Personal Identification and Criminalization. Journal of Forensic Medicine and Toxicology, 12(1), 1-21.