การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์จากคำพิพากษาศาลฎีกา

Main Article Content

ศิรินรัตน์ ขันแก้ว
วรธัช วิชชุวาณิชย์

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อพิจารณาพิพากษาคดี โดยได้ทำการวิเคราะห์คำพิพากษาฎีกาเกี่ยวกับคดีที่มีการนำพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ รวมถึงกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในกระบวนการยุติธรรมเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของศาล จำนวน 11 คดี โดยทำการสืบค้นจากคำพิพากษาที่มีการตัดสินในชั้นศาลฎีกาแล้วนำมาวิเคราะห์แนวทางการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและแยกแยะประเด็นสำคัญ
ที่เกี่ยวข้องซึ่งแบ่งเป็นคดีที่ศาลรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์และให้น้ำหนักพยานหลักฐานนั้น 9 คดี และคดีที่ศาลไม่รับฟังและไม่ให้น้ำหนักพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ 2 คดี


             ผลการวิจัยพบว่า การวิเคราะห์คดีที่เกี่ยวกับนิติวิทยาศาสตร์ทั้ง 11 คดี มีการนำความรู้ด้านการสืบสวนทางด้านนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการรับฟังพยานหลักฐาน และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานประกอบคำให้การของคู่ความ พยาน ผู้เกี่ยวข้องทั้งฝ่ายโจทก์และจำเลย รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม และขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน ทั้งนี้ก็เพื่อให้กระบวนการพิจารณา รับฟัง และชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานเป็นไปอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม สามารถระบุถึงสาเหตุ ขั้นตอน วิธีการในการกระทำผิดและสามารถนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ ซึ่งการพิจารณาพยานหลักฐานของศาลในการรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานนั้นไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพียงแต่อยู่ภายใต้บทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจในการพิจารณาพยานหลักฐาน เทคโนโลยี ความรู้ รวมถึงกระบวนการทางนิติวิทยาศาสตร์ไม่อาจทำให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานประกอบการวินิจฉัยความผิดหรือบริสุทธิ์ของคู่ความได้ทุกกรณีโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อขั้นตอนการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ถูกกระทำอย่างไม่มีมาตรฐาน หรือเป็นเพียงความเห็นของพยานผู้เชี่ยวชาญ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Bitzer, S. et al. (2015). Utility of the Clue -From Assessing the Investigative Contribution of Forensic Science to Supporting the Decision to Use Traces. Science & Justice Journal, 55(6), 509-513.

Kitboon, A. (2015). Forensic Evidence on Social Justice. Law Courses Justice for Reducing Social Inequalities, College of Justice Bureau of Justice Affairs, Ministry of Justice.

Padawan, K. (2013). Prosecutor’s Perspective Underpinning Per Verification to Forensic Science: Studies and Documentation Proofing only Opposed to Counterfeiting Handwriting and Signature. Master of Science Independent Study, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Poonsrikarn, K. (2011). Weight of Evidence and Admissibility Biological of Evidence. Master of Science Independent Study, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Sinloyma, P. (2017). Solving Crime Problems with Forensic Science. Supporting Documents for Lecture Training Program High-Level Fair Service 8th. Bangkok: Office of Justice Affairs. (In Thai).

Wannasaeng, P. (n.d.). Admissibility in Criminal Case. Retrieved October 10, 2017, from https://www.stou.ac.th/schoolsweb/law. (In Thai).