การเปรียบเทียบความสามารถของตัวทําละลายของสารนินไฮดรินที่มีผลต่อการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษต่างชนิดกัน

Main Article Content

อารีนา บูรณประเสริฐกุล

บทคัดย่อ

            งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรากฏขึ้นของรอยลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษ 3 ชนิด ได้แก่ กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว ซองกระดาษจดหมายสีชมพูและซองกระดาษใส่เอกสารสีน้ำตาล และเปรียบเทียบการใช้ปริมาณนินไฮดริน หนัก 2, 5 และ 10 กรัม กับตัวทำละลาย 5 ชนิด คือ อะซิโตน เอทิลอะซิเตท เอทานอล เมทานอล และกรดอะซิติก ทำการเปรียบเทียบคุณภาพรอยลายนิ้วมือแฝง โดยนับจุดลักษณะสำคัญพิเศษ โดยผู้ชำนาญการตรวจรอยลายนิ้วมือแฝง และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง
(Two-Way ANOVA)


               ผลจากการวิจัย พบว่าการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงโดยการใช้ปริมาณนินไฮดริน หนัก 2 กรัม และ 5 กรัม ให้คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงอยู่ในคุณภาพดีกว่าการใช้ปริมาณนินไฮดรินหนัก 10 กรัม ด้วยตัวทำละลายอะซิโตน ปริมาตร 100 มิลลิลิตร และเอทิลอะซิเตท ปริมาตร 100 มิลลิลิตร สามารถตรวจรอยลายนิ้วมือแฝงได้คุณภาพดีที่สุด ส่วนตัวทำละลายเอทานอล และเมทานอล ได้คุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงคุณภาพปานกลาง และกรดอะซิติก ได้คุณภาพต่ำ บนกระดาษถ่ายเอกสารสีขาว ซองกระดาษจดหมายสีชมพู และซองกระดาษใส่เอกสารสีน้ำตาล เมื่อทดสอบสมมติฐานทั้ง 2 ปัจจัย พบว่า ชนิดของตัวทำละลายนินไฮดริน และชนิดของกระดาษที่ใช้ในการตรวจเก็บรอยลายนิ้วมือแฝงมีผลระดับต่อคุณภาพของรอยลายนิ้วมือแฝงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chamsuwan, A. et al. (2003). Forensic Science 2 for Criminal Investigation. 4th Edition. Bangkok: G.B.P.Center. (In Thai).

Crown, D. A. (1969). The Development of Latent Fingerprints with Ninhydrin. The Journal of Criminal Law and Criminology, 60(2). pp. 258 - 264.

Jarurattanawibool, N. (2019). The Detection of Latent Fingerprints on the Knife Submerged in Water by Small Particle Reagent and Super Glue Method. Journal of Criminology and Forensic Science, 5(1), pp. 128 – 141.

Pensawat, D. (2015). Comparison of Fingerprint Development on Papers Using 5 –Methylthioninhydrin, Ninhydrin and 1, 2 – Indanedione. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Ruengdit, S. (2010). Appropriate Concentration of Ninhydrin for Latent Fingerprints Detection on Various Papers. Department of Biology, Faculty of Science, Mahidol University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Seesuvan, P. (2018). Detection of Latent Fingerprints on Thermal Papers by the Method of Ninhydrin and Ninhydrin/PVP. Veridian E-Journal of Science and Technology Silpakorn University, 5(3), 73-93. (In Thai) .

Stoilovic, M. and Lennard, C. (2012). Fingerprint Detection & Enhancement, Incorporating Light Theory and General Forensic Applications of Optical Enhancement Techniques. 6th Edition. Canberra: Australian Federal Police.

Thamaphat, K. (2018). Innovative Device for Latent Fingerprints Development: Criminal Investigation Aspect. Retrieved June 10, 2019. from http://www.scir.rmutk.ac.th/files/users/202/project/1502182203.pdf.

Theangtheantham, S. (2013). Development of Latent Fingerprints on Objects Submerged in Natural Water by Using Small Particle Reagent and Black Powder. Master of Science Thesis, Silpakorn University, Nakhon Pathom. (In Thai).

Wertheim, P. A. (2015). Ninhydrin: Basic to Advanced. Retrieved January 19, 2019. from http://www.iowaiai.org/ninhydrin-basic-to-advanced.