ความเข้าใจของอาสาสมัครกู้ภัยสว่างประทีปศรีราชา จังหวัดชลบุรี เกี่ยวกับหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์

Main Article Content

สุวิมล สดุดี

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาหรือแบบบรรยาย (Descriptive research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้าใจของอาสาสมัครกู้ภัยสว่างประทีปศรีราชา จังหวัดชลบุรีเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ ในเรื่องเกี่ยวกับวัตถุพยาน พยานบุคคลและแนวทางการปฏิบัติงานเมื่อออกปฏิบัติหน้าที่ต่อผู้ประสบเหตุทั้งในรูปแบบอุบัติเหตุและที่เป็นกรณีคดีความต่างๆ ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคงานด้านการป้องกันรักษาสถานที่เกิดเหตุ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครกู้ภัยสว่างประทีป ศรีราชา จำนวนประชากรทั้งสิ้น 60 คน การเลือกกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 52 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลและการประมวลผลสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยทดสอบค่าที (t-test) ซึ่งทดสอบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์
                  ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครกู้ภัยส่วนใหญ่เป็นเพศชายช่วงอายุ 21-30 ปี ระดับการศึกษา ม. 6 / ปวช. สถานภาพโสด มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน เคยมีประสบการณ์การฝึกอบรมและเป็นอาสาสมัครกู้ภัยมา 4-6 ปี โดยใช้เวลาช่วงหลังเลิกงานตอนเย็น และวันเสาร์ อาทิตย์ ในการมาเป็นอาสาสมัครกู้ภัย ด้านปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยอยู่ในระดับปานกลางเนื่องมาจากอุปกรณ์ช่วยเหลือไม่เพียงพอ ด้านความเข้าใจเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์ อาสาสมัครกู้ภัยไม่ได้รับทราบรายละเอียดเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานที่ชัดเจน ทราบเพียงต้องช่วยชีวิตหรือปฐมพยาบาลให้เร็วที่สุดแต่บางครั้งการช่วยเหลือก็ทำลายหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ไป ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน ด้านบุคลากร พบว่า โดยรวมการรับรู้เข้าใจบทบาทอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแยกเป็นปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครกู้ภัยสว่างประทีป ศรีราชา จังหวัดชลบุรี ด้านการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัย พบว่าอาสาสมัครกู้ภัยมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุพยานและแนวทางการปฏิบัติงานต่อผู้ประสบเหตุในทางนิติเวชและด้านนิติวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับปานกลาง คือเป็นส่วนที่เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องเก็บไว้เป็นหลักฐานให้มากที่สุด แต่บางครั้งการช่วยชีวิตให้รวดเร็วที่สุดอาจทำให้วัตถุพยานนั้นๆ ถูกทำลายไปบ้าง

Article Details

บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

1. กำธร พิทักษ์วงศ์วานิช. (2551). ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิร่วมกตัญญูในการปฏิบัติงานช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 4(1): 61-71.

2. คณะกรรมการฝึกอบรมเพื่อความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขานิติเวชศาสตร์.(2553). แนวทางในการปฏิบัติทางนิติเวชศาสตร์. กรุงเทพฯ.

3. ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ. (2553). หลักการวิจัยทางสังคม. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.

4. ธิดารัตน์ รวยอบกลิ่น และ จรัสดาว คงเมือง (2552) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน ศึกษาเฉพาะกรณีองค์การบริหารส่วนตําบลวังทอง. วิทยานิพนธ์ รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารจัดการสาธารณะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

5. มนตรี เหลืองพยุง. (2553). บทบาทของเจ้าหน้าที่และแพทย์นิติเวชในการชันสูตรพลิกศพคดีฆาตกรรม. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

6. วรางคณา สาริพันธ์. (2553). แนวทางปฏิบัติของพยาบาลในการเก็บพยานหลักฐานผู้ป่วยคดีในหน่วยอุบัติเหตุและฉุกเฉินโรงพยาบาลรามาธิบดี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเอกบริหารกฎหมายการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

7. สฤษดิ์ สืบพงษ์ศิริ. (2546). ความรู้ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ต่อการป้องกันรักษาวัตถุพยานในสถานที่เกิดเหตุ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาสังคมวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

8. เสวก มณีกุต. (2556). พยานหลักฐานนิติวิทยาศาสตร์ในคดีอุบัติเหตุจราจรทางบก. กรุงเทพฯ: บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด.

9. แสวง บุญเฉลิมวิภาส (2556) .นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา.

10. Henry C Lee, Timathy M Palmbach, Marilyn T Miller. (2001). Henry Lee’s Crime Scene Handbook. USA: Elsevier Academic.

11. Marilyn T. Mailler,ED.D. (2014). Crime Scene Investigation Laboratory Manual. USA.The boulevard.

12. Roger Hopkins Burke. (2005). An Introduction Criminological Theory. Portland. Willan Publishing.

13. Rose E Constantino, Patricia A Crane, Susan E oung. (2013). Forensic Nursing: Evidence - Based Principle and Practice. USA: F.A.Davis Company.