การพัฒนาระบบฐานข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี

Main Article Content

รจนา ชูชัยมงคล

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวมข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี 2) พัฒนาระบบฐานข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เก็บข้อมูลรอยสักคือ ผู้ต้องขังในเรือนจำพิเศษมีนบุรี กรุงเทพฯ ที่ถูกคุมขังประจำเดือน ธันวาคม 2559 โดยเป็นผู้ต้องขังที่มีรอยสักมากกว่า 5 ภาพขึ้นไป จำนวน 250 คน สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสำรวจความพึงพอใจ คือ เจ้าหน้าที่ภายในเรือนจำพิเศษในมีนบุรี จำนวน 20 คน
           ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นประกอบด้วยสองส่วน คือ 1) ส่วนของผู้ใช้งานทั่วไป (User) ผู้ใช้งานสามารถที่จะค้นหาข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังได้จากชื่อ รูปรอยสักและบริเวณที่สัก 2) ส่วนของผู้ดูแลระบบ (Admin) เป็นส่วนที่ผู้ดูแลระบบสามารถที่จะเพิ่ม ลบ หรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้ต้องขังได้ โดยผู้ใช้งานทั้งสองส่วนนี้ต้องมีการเข้าสู่ระบบ (Login) ทุกครั้งจึงจะใช้งานระบบได้ผลของการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานโปรแกรมฐานข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจเรียงตามเกณฑ์สูงสุดคือ ด้านเนื้อหา ด้านความสวยงาม และด้านการใช้งาน รวมถึงความพึงพอใจในการใช้โปรแกรมฐานข้อมูลรอยสักของผู้ต้องขังเรือนจำพิเศษมีนบุรี ผู้ใช้มีความพึงพอใจมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.32

Article Details

บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

1. จีระเดช ดิสกะประกาย. (2553). ฅนสุวรรณภูมิ: เล่าเรื่องประวัติศาสตร์เก่าในมุมมองแบบใหม่.กรุงเทพมหานคร: เอเอสทีวีผู้จัดการ.

2. รัฐกานต์ กัณพิพัฒน์. (2557). พฤติกรรมเลียนแบบกับค่านิยมการสักวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. 25(3). 39-47.

3. ทวีรัตน์ นวลช่วย. (2557). ระบบฐานข้อมูล (Database System). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560 เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/thaidatabase2.

4. ภูมิพัฒน์ วนนิพัฒน์พงศ์. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับฐานข้อมูล. สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=2MG-NUybEHs.

5. วีระชัย เหล่าลงอินทร์. (2552). การกระทำความผิดซ้ำของผู้ต้องขังในเรือนจำจังหวัดมหาสารคาม. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 3(1): 29-38.

6. วีระศักดิ์ จรัสชัยศรี. (2559). รอยสักกับการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2560 เข้าถึงได้จาก https://www.bloggang.com/mainblog.php id=muforensic&month=01-02-2010&group=9&gblog=7.

7. ส.แม่ปิง. (2558). รอยสักชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

8. สุภกริต อันนพพรชัย. (2558). API (Applications Program Interface). สืบค้นเมื่อ 30 กรกฎาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://saixiii.com/what-is-api.