การตรวจพิสูจน์คราบเลือดบนผ้าสีดำโดยวิธีทางอินฟราเรด

Main Article Content

ณัฐธยาน์ ภมรรัตนกุล

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการตรวจพิสูจน์คราบเลือดบนผ้าสีดำโดยวิธีทางอินฟราเรด และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีทางอินฟราเรดในการตรวจพิสูจน์คราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนผ้าสีดำชนิดต่างๆ โดยทำการหยดคราบเลือด 6 ความเข้มข้น และคราบผลิตภัณฑ์อื่นที่มีสีใกล้เคียงกับเลือดอีก 5 ชนิด ได้แก่ ซอสมะเขือเทศ น้ำมะเขือเทศ น้ำหวานสีแดง ชา และกาแฟ ตามลำดับ ลงบนผ้าสีดำ 4 ชนิด ได้แก่ ผ้าฝ้าย ผ้าพอลิเอสเทอร์ ผ้ายีนส์ และผ้าสแปนเด็กซ์ ตามลำดับ จากนั้นใช้วิธีทางอินฟราเรดตรวจหาคราบเหล่านั้น โดยการถ่ายภาพจากกล้องดัดแปลงอินฟราเรด นับจำนวนจุดที่เห็นจากภาพถ่าย และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง (Two-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า คราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนผ้าสีดำทั้ง 4 ชนิด สามารถมองเห็นจากภาพถ่ายอินฟราเรดได้แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญ 0.05  โดยสามารถมองเห็นคราบเลือดสดได้มากที่สุด รองลงมาเป็น คราบซอสมะเขือเทศ คราบเลือดความเข้มข้น 1:2 คราบน้ำมะเขือเทศ คราบเลือดความเข้มข้น 1:5 คราบเลือดความเข้มข้น 1:10 คราบชา คราบกาแฟ คราบน้ำหวานสีแดง คราบเลือดความเข้มข้น 1:100 และ คราบเลือดความเข้มข้น 1:1,000 ตามลำดับ และสามารถมองเห็นคราบเลือดและคราบผลิตภัณฑ์อื่นบนผ้าสแปนเด็กซ์ได้มากที่สุด รองลงมาเป็น ผ้าฝ้าย ผ้ายีนส์ และผ้าพอลิเอสเทอร์ ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่า ชนิดของสารและชนิดของผ้ามีอิทธิพลร่วมกันต่อการมองเห็นคราบที่ได้จากการถ่ายภาพอินฟราเรด อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้ใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดคลื่นอินฟราเรด ควรใช้แหล่งกำเนิดคลื่นอินฟราเรดที่มีค่าคงที่ และไม่มีผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
บทความวิทยานิพนธ์

References

1. ศิริพร ชูแสง และวริศรา ตะสถิตย์. (ม.ป.ป.). ประเภทของเสื้อผ้า. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561. เข้าถึงได้จาก https://sites.google.com/site/kardulaeseuxphaa/khwam-hmay-laea-khwam-sakhay-khxng-kar-dulae-seuxpha/prapheth-khxng-seuxpha.

2. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (2559). สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ จำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้ง ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ. 2549–2558. สืบค้นเมื่อ 19 มีนาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.html.

3. De Broux, S. T., McCaul, K. K., and Shimamoto, S. (2007). Infrared Photography.
Retrieved March 20, 2018. From https://www.crime-scene-investigator.net/Infrared_ Photography_research_paper.pdf.

4. Gorn, M., and James, S. H. (2012). Using Infrared Photography to Document Clothing Evidence in the Reconstruction of a Homicide. Journal of Bloodstain Pattern Analysis. 28(4): 3-9.

5. Mangold, K., Shaw, J. A., and Vollmer, M. (2013). The Physics of Near-Infrared Photography. European Journal of Physics. 34: 51-71.

6. Raymond, M., Smith, E., and Liesegang, J. (1996). The physical properties of blood forensic considerations. Science and Justice. 36(3): 153-160.

7. Schotman, T. G., Westen, A. A., Weerd, J. van der., and Bruin, K. G. (2015). Understanding the visibility of blood on dark surfaces: a practical evaluation of visible light, NIR, and SWIR imaging. Forensic Science International. 257: 214-219.

8. Tauferova, A., et al. (2015). Determination of Sensory Texture Acceptibility and Examination of Determining Factors as a Basis for Product Optimization. International Journal of Food Properties. 18: 660-669.