การรับฟังและชั่งน้ำหนักพยานแวดล้อมกรณี: ศึกษากรณีคดีฆาตกรรมนางผัสพร บุญเกษมสันติ

Main Article Content

ธีสุทธิ์ พันธ์ฤทธิ์

บทคัดย่อ

           พยานแวดล้อมกรณีแปลจากคำว่า Circumstantial Evidence ในกฎหมายลักษณะพยานของอังกฤษส่วนกฎหมายไทยไม่มีบทบัญญัติรับรองพยานแวดล้อมกรณีไว้โดยตรงอย่างกฎหมายลักษณะพยานของอังกฤษ แต่พยานแวดล้อมกรณีก็เป็นพยานหลักฐานที่รับฟังได้ ทั้งนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 87 มาตรา 86 และในคดีอาญาก็รับฟังได้ตามมาตรา 226 ป.วิ.อ.ซึ่งบัญญัติว่าพยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ความมีผิดหรือบริสุทธิ์ของจำเลย ให้รับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ พยานแวดล้อมกรณีแม้ไม่สามารถพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีได้โดยตรง แต่ก็เป็นพยานหลักฐานซึ่งน่าจะพิสูจน์ข้อเท็จจริงได้
           ส่วนหลักการวินิจฉัยน้ำหนักพยานแวดล้อมกรณี คือเหตุผลทั้งหลายที่พยานหลักฐานแสดงมานั้น เมื่อรวมกันเข้าเป็นเรื่องได้แล้ว จะฟังได้หรือไม่ว่าเป็นจริง โดยในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานแวดล้อมกรณี ต้องปรากฏว่ามีความต่อเนื่องกันโดยไม่ขาดตอน ทั้งมีรายละเอียดมากพอและมีด้วยกันหลายทางหลายด้าน ก่อให้เกิดการอนุมานไปในทางเดียวกันเสมือนเชือกที่มีหลายเกลียว ข้อสำคัญ การพิจารณาความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานนั้น ไม่ควรให้น้ำหนักกับพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งชิ้นใดโดยเฉพาะ แต่ควรพิจารณาประกอบกันทุกชิ้นว่าสามารถเชื่อมโยงข้อเท็จจริงในคดีได้ครบถ้วนทำให้เห็นภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้เพียงพอ
           จากการวิเคราะห์พยานแวดล้อมกรณี และคดีฆาตกรรมนางผัสพร บุญเกษมสันติ ได้ค้นพบข้อที่เป็นประโยชน์สำหรับการรวบรวมพยานหลักฐานของพนักงานสอบสวน คือพยานแวดล้อมกรณีนั้นแบ่งได้เป็นสองส่วน คือส่วนที่แสดงถึงความในใจและส่วนที่แสดงถึงการกระทำ พนักงานสอบสวนต้องรวบรวมพยานแวดล้อมกรณีทั้งสองส่วนนี้เข้าด้วยกันจึงจะเชื่อมโยงถึงการกระทำความผิดได้อย่างสมเหตุสมผล

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. จินดาภิรมย์, พระยา. (2464). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพิจารณาคำพยานหลักฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์พิศาลบรรณนิติ์.

2. ธีสุทธิ์ พันธ์ฤทธิ์. (2549). การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติธรรม.

3. เนติบัญชากิจ, พระยา. (2484). ลักษณะพยานโดยย่อ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

4. บุญร่วม เทียมจันทร์ และ ศรัญญา วิชชาธรรม. (2558). ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ฉบับสมบูรณ์.
(พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ เดอะลอว์ กรุ๊ป.

5. ประมูล สุวรรณศร. (2525). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยานหลักฐาน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.

6. มนูภาณวิมลศาสตร์, พระ. (2483). กฎหมายลักษณะพะยานและจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

7. โสภณ รัตนากร. (2549). พยาน. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์นิติบรรณการ.

8. สุรสิทธิ์ แสงวิโรจน์พัฒน์. (2551). ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเยอรมันลักษณะพยานหลักฐาน. วารสารดุลพาห. 55(2), 166-186.

9. แอล ดูปลาร์ต. (2477). กฎหมายลักษณะพะยานและจิตตวิทยา. คำสอนชั้นปริญญาตรี มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.