การศึกษาคุณสมบัติเฉพาะของแร่ธาตุในดินด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ เพื่อประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางแสง พร้อมเปรียบเทียบลักษณะทางสัณฐานวิทยาและคุณสมบัติทางแสงแบบเฉพาะเจาะจงของผลึกแร่ธาตุแต่ละชนิดในดินที่พบแต่ละพื้นที่ของประเทศไทย โดยทำการศึกษาตัวอย่างแร่ธาตุ จำนวน 10 ชนิด
ผลการวิจัยพบว่าแร่ธาตุ ทั้ง 10 ชนิดที่พบในดิน มีลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ สี ความโปร่งใสลักษณะผลึก และลักษณะอื่นๆ ที่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ ยังพบว่าคุณสมบัติทางแสงของแร่ธาตุแต่ละชนิด แสดงค่า Refractive Index, Becke Line, Relief, Pleochroismและ Interference Color ที่แตกต่างกันอีกด้วย ซึ่งสามารถแยกชนิดแร่ได้ในเบื้องต้น ด้วยเทคนิคทางกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ เทคนิคดังกล่าวสามารถนำมาจำแนกและระบุชนิดแร่ธาตุได้อย่างเป็นเอกลักษณ์มีความเฉพาะเจาะจง ดังนั้น แร่ธาตุในดินที่พบจากผู้เสียหาย หรือผู้ต้องสงสัย สามารถนำมาตรวจพิสูจน์หลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ โดยใช้เทคนิคทางกล้องจุลทรรศน์แสงโพลาไรซ์ เพื่อใช้ในการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสถานที่เกิดเหตุและผู้กระทำความผิด เทคนิคนี้สามารถนำมาตรวจวัตถุพยานได้เบื้องต้น มีความน่าเชื่อถือ และนำมาซึ่งข้อมูลที่สามารถค้นหาตัวผู้กระทำความผิดได้อย่างถูกต้อง
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. เฉลียว แจ้งไพร. (2530). “ทรัพยากรดินในประเทศไทย.” เอกสารวิชาการฉบับที่ 82. กองสำรวจ และจำแนกดิน กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
3. พัชรา สินลอยมา. (2560). เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมด้วยนิติวิทยาศาสตร์. วิทยาลัยกิจการยุติธรรม. สำนักกิจการยุติธรรม.
4. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). คดีอาญาที่สำคัญ. สถิติการรับแจ้งและจับกุมกลุ่มคดีอุกฉกรรจ์และสะเทือนขวัญ จำแนกตามประเภทคดีที่รับแจ้ง พ.ศ. 2549 – 2558. สืบค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://service.nso.go.th/nso/web/statseries/statseries13.html.
5. Shieh C.E. and Chen Y.F. (2013). The Application of Polarized Light Microscopy to Identify Minerals–A Preliminary Study of Forensic Geology. Forensic Science
Journal. 12(1): 15-30
6. Petraco.N , Kubic T. and Nicholas D.K. (2008). Case report Case studies in forensic soil examinations. Forensic Science International. 178: e23–e27