แนวทางการตรวจพิสูจน์อุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือในการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์แอนดรอยด์ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวมีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่าย ใช้งานได้สะดวก และสามารถอำพราง ซ่อนเร้น หรือทำลายได้ง่าย รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้น มีฟังก์ชั่นการทำงานที่หลากหลาย และสามารถเก็บข้อมูลได้มาก ถึงแม้ปัจจุบันจะมีซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่มีประสิทธิภาพในการดึงข้อมูลการใช้งานต่างๆเหล่านั้นได้เป็นอย่างดีแล้วก็ตาม แต่ในบางครั้งเราจะพบว่า เครื่องมือหรือซอฟต์แวร์เหล่านั้น ก็ไม่สามารถสกัดข้อมูลการใช้งานในบางประเภทได้ ทำให้ขาดข้อมูลการใช้งานที่สำคัญบางอย่างไป เช่น การติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นด้วยข้อความ ด้วยเสียง หรือการติดต่อผ่าน Applications ต่างๆ รวมถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ต และการจดบันทึกในรูปแบบต่างๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการตรวจพิสูจน์ได้ การใช้เทคนิคการตรวจพิสูจน์โดยการดึงข้อมูลการใช้งานจากไฟล์ Database หรือไฟล์ Backup ที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำของอุปกรณ์แอนดรอยด์ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้การตรวจพิสูจน์ข้อมูลการใช้งานจากอุปกรณ์เหล่านั้นทำได้ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น ดังนั้นผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะผู้ตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานดิจิทัลจำเป็นที่ต้องทราบถึงตำแหน่งที่จะสามารถเรียกดูข้อมูลการใช้งานต่างๆ เหล่านั้นได้ เพื่อให้ได้ข้อมูลการใช้งานที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด อันจะทำให้การตรวจพิสูจน์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. Casey E. (2011). Digital Evidence and Computer Crime. (Third Edition). Waltham:Academic Press Publication.
3. CTSPortal. (2016). Mobile Digital Evidence Summary Report. สืบค้นเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 256.เข้าถึงได้จาก https://www.ctsforensics.com/reports/main.
4. Hoog A. (2011). Android Forensics. Wyman USA: Syngress publication.
5. Newman R.C. (2007). Computer Forensics: Evidence Collection and management.New York: Auerbach Publication.