นิติเวชคลินิกกับงานสอบสวนคดีที่เกี่ยวข้องกับการทำร้ายร่างกาย

Main Article Content

ปิยะพงษ์ สาครเย็น

บทคัดย่อ

                   นิติเวชคลินิก เป็นสาขาหนึ่งของนิติเวชศาสตร์ที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับการตรวจผู้ป่วยที่มีชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับคดี โดยอาจรวมถึงผู้ป่วยที่อาจเป็นคดีในอนาคต โดยแพทย์ถือเป็นพยานบุคคล ต้องให้ความเห็นเมื่อมีการร้องขอตามกระบวนการยุติธรรม แพทย์จึงจำเป็นต้องมีความรู้กฎหมายเกี่ยวกับความผิดฐานทำร้ายร่างกาย สามารถแบ่งระดับความรุนแรงของโทษทางกฎหมายได้เป็น การบาดเจ็บไม่เป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ การบาดเจ็บเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ และการทำร้ายผู้อื่นเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัส เมื่อแพทย์ตรวจร่างกาย และบันทึกข้อมูลลงในเวชระเบียนหรือแบบฟอร์มของทางโรงพยาบาลแล้ว ต้องออกใบรายงานชันสูตรบาดแผลให้กับทางพนักงานสอบสวนได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแพทย์อาจต้องไปเป็นพยานศาลเพื่อเบิกความประกอบความเห็นตามที่ปรากฏในใบชันสูตรบาดแผล

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

1. ภาควิชานิติเวชศาสตร์. (2542). นิติเวชศาสตร์: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่:
สำนักพิมพ์เชียงใหม่.

2. แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2546). นิติเวชศาสตร์และกฎหมายการแพทย์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.

3. กานดา วิชัยรัตน์ (2542). นิติเวชคลินิก: นิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์เชียงใหม่.

4. วิโรจน์ วัยวุฒิ (2532). นิติเวชศาสตร์ การพิสูจน์พยานหลักฐาน. มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ. ศักดิ์ สนองชาติ, อมรศักดิ์ นพรัมภา, พลประสิทธิ์ ฤทธิ์รักษา (2538). เอกสารการสอนชุดวิชากฎหมายอาญา 2: ภาคความผิด. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์.