การตรวจลักษณะธาตุองค์ประกอบในปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติ โดยวิธี Scanning Electron Microscope/ Energy Dispersive X-ray Spectroscopy เพื่อประยุกต์ใช้ในงานนิติวิทยาศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะธาตุองค์ประกอบที่สำคัญในปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติ และศึกษาปริมาณธาตุองค์ประกอบที่พบในปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติ รวมทั้งเปรียบเทียบปริมาณธาตุองค์ประกอบสำคัญที่พบในปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติที่แตกต่างกัน โดยใช้SEM/EDX กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้ คือ ปลอกกระสุนปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ที่ยิงมาจากปืนพกกึ่งอัตโนมัติได้แก่ ปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 9 มม. ยี่ห้อ Glock รุ่น 17, 19, 26 และยี่ห้อ CZ รุ่น 75 Compact และปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 11 มม. ยี่ห้อ Glock รุ่น 21 และยี่ห้อ Kimber ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
1. ขนาดของกระสุนปืนที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณของธาตุแอนติโมนี แบเรียม และตะกั่วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งกระสุนปืนขนาด 11 มม. มีปริมาณของธาตุแอนติโมนีและแบเรียมมากกว่ากระสุนปืน 9 มม. ส่วนกระสุนปืนขนาด 9 มม. มีปริมาณของธาตุตะกั่วมากกว่ากระสุนปืนขนาด 11 มม.
2. ชนิดของอาวุธปืนที่แตกต่างกันมีผลต่อปริมาณของธาตุแอนติโมนี แบเรียม และตะกั่วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งปืนพกกึ่งอัตโนมัติ ขนาด 11 มม. ยี่ห้อ Kimber มีปริมาณของธาตุแอนติโมนีและแบเรียมมากที่สุด แต่มีปริมาณของธาตุตะกั่วน้อยที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ถิอว่าเป็นข้อคิดเห็นและความรั้บผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยหรือรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ถือว่าเป็นลิขสิทธิ์ของวารสาร วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อหรือเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจาก วารสารวิชาการอาชญาวิทยาและนิติวิทยาศาสตร์ ก่อนเท่านั้น
References
2. ธีระศักดิ์ ว่องสกุล. (2556). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณและขนาดอนุภาคของธาตุเขม่าปืนที่เกิดจากการยิงปืนรีวอลเวอร์ ขนาด .38 ที่มีความยาวลำกล้อง 2 นิ้ว และความยาวลำกล้อง 4 นิ้ว ที่ระยะยิงแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
3. รัชนารถ กิตติดุษฎี. (2535). การตรวจหาคราบเขม่าปืนที่มือโดยวิธี SEM/EDX. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหิดล.
4. วิวัฒน์ ชินวร. (2547). การวิเคราะห์เขม่าปืนด้วยเทคนิค SEM/EDX. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
5. หัสวิภา หมายมั่น. (2559). Scanning Electron Microscope : SEM. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2560. เข้าถึงได้จาก https://web2.mfu.ac.th/center/stic/microanalysisinstrument-menu/item/96-scaning-electron-microscrope.html.
6. อัมพร จารุจินดา. (2542). การตรวจพิสูจน์อาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน : ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนสำหรับผู้เข้าอบรม [อัดสำเนา]. กรุงเทพฯ: กองพิสูจน์หลักฐาน สำนักงานวิทยาการตำรวจ
7. อัษฎายุทธ ผลภาค. (2554). การตรวจพิสูจน์เปรียบเทียบธาตุจากเขม่าปืนชนิดปราศจากตะกั่วกับแหล่งอื่น. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขานิติวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
8. Dalby O, Butler D. and Birkett, J. W. (2010). Analysis of gunshot residue and associated materialsa review. Forensic Science. 55(4), 924-943.
9. Lubor Fojta sek, Jitka Vacinova, Pavel Kolar and Marek Kotrly. (2003). Distribution of GSR particles in the surroundings of shooting pistol. Forensic Science International. 132, 99-105.
10. Nesbitt, R. S., Wessel, J. E., and Jones, R. F. (1976). Detection of Gunshot Residue by Use of the Scanning Electron Microscope. Forensic Sciences. 21(3), 595-610.
11. Schwoeble, A. J. and Exline, D. L. (2000). Current Methods in Forensic Gunshot Residue Analysis. Florida: CRC Press.
12. Wallace, J. S. and McQuillan, J. (1984). Discharge Residues from Cartridge-Operated
Industrial Tools. Foensic Science Society. 24(3): 495-508.
13. Zeichner, A., Levin, N., and Springer, E. (1991). Gunshot Residue Particles Formed by
Using Different Type of in the Same Firearm. Forensic Sciences, 36 (6): 1020-1026.
14. Zuzanna Brozek-Mucha. (2009). Distribution and properties of gunshot residue originating from a Luger 9 mm. ammunition in the vicinity of the shooting gun. Forensic Science International. 183: 33-44.
15. Zuzanna Brozek-Mucha and Agnieszka Jankowicz. (2001). Evaluation of the possibility of differentiation between various types of ammunition by means of GSR examination with SEM-EDX method. Foensic Science International. 123: 39-47.