แนวทางการดำเนินโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ไปสู่การยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริต (CPI) ของประเทศไทย

Main Article Content

พัชรา สินลอยมา

บทคัดย่อ

                  การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ เป็นมาตรการเสริมเชิงบวกด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ที่ประยุกต์แนวคิดจากการประเมินคุณธรรม
การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐขององค์การต่อต้านการทุจริตและสิทธิพลเมือง แห่งประเทศสาธารณรัฐเกาหลี บูรณาการเข้ากับดัชนีวัดความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐของสำนักงาน ป.ป.ช. มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลด้านคุณธรรมและความโปร่งใส และจัดทำข้อเสนอแนะแก่หน่วยงานภาครัฐที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้เกิดเป็นมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ตลอดจนเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงการดำเนินโครงการไปสู่การยกระดับค่า CPI ของประเทศไทย โดยใช้แบบสำรวจ 3 ประเภท ที่สำนักงาน ป.ป.ช. พัฒนาขึ้นอันได้แก่ 1) แบบสำรวจสำหรับบุคลากรภายในหน่วยงาน 2) แบบสำรวจสำหรับผู้รับบริการหรือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของหน่วยงาน และ 3) แบบสำรวจสำหรับการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์
                   ภาพรวมผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐระดับกรมและระดับจังหวัด ในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา พบว่าผลคะแนนการประเมินระดับกรม ปี พ.ศ. 2558 เท่ากับ 78.31 คะแนน ปี พ.ศ. 2559 เท่ากับ 80.43 คะแนน และ ปี พ.ศ. 2560 เท่ากับ 83.06 คะแนน ตามลำดับ ส่วนคะแนนการประเมินระดับจังหวัด ปี พ.ศ. 2558 เท่ากับ 76.27 คะแนน ปี พ.ศ. 2559 เท่ากับ 80.39 คะแนน และปี พ.ศ. 2560 เท่ากับ 81.76 คะแนน ตามล าดับ
                  จากพัฒนาการของผลคะแนนการประเมินที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี แสดงให้เห็นถึงความตระหนักในเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสภายใต้หลักธรรมาภิบาลของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งถือเป็น
ความสำเร็จส่วนหนึ่งของมาตรการเสริมเชิงบวกด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตเชิงรุกของประเทศ แต่ทั้งนี้ ประเทศไทยก็ยังต้องให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการทุจริตและส่งเสริมเรื่องคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างจริงจัง เพราะการป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชันนั้นถือเป็นวาระสำคัญเร่งด่วนระดับชาติ ดังนั้น หน่วยภาครัฐทุกหน่วยงานจึงถือเป็นส่วนหนึ่งของกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาลให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะ ทั้งในระดับชาติและระดับสากล อันจะส่งผลต่อการยกระดับค่า CPI ของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

โรงเรียนนายร้อยตำรวจ. (2560). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment – ITA) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เปเป้เน็ต.

สำนักงานโครงการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ. (2560). คู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2560. 22 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นจาก, https://drive.google.com/file/d/0B1JYMn99kIaVcmVlQ0tsZFdjaEE/view

สำนักงาน ป.ป.ช. (2560). ข่าวสำนักงาน ป.ป.ช., 22 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นจาก, https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=14089&filename=index

สำนักงาน ป.ป.ช. (2560). คู่มือการประเมิน ITA 2561. 20 พ.ย. 60. https://www.nacc.go.th/download/article/article_20171003170429.pdf

สำนักงาน ป.ป.ช.. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). แนะนำโครงการ ITA, 22 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นจาก, https://www.nacc.go.th/ewt_news.php?nid=10564

ส านักงาน ป.ป.ช.. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560 – 2564), 22 พฤศจิกายน 2560. สืบค้นจาก, https://www.nacc.go.th/article_attach/corruption.pdf

Transparency International, (n.d.). Corruption Perception Index 2016. November 22, 2017.from https://www.transparency.org/news/feature/corruption_perceptions_index_2016